หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EGS-5-247ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง ระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถปฏิบัติงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า โดยการซ่อมรั่วหม้อแปลงไฟฟ้า ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า ปรับปรุงสภาพน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า บำรุงรักษา On Load Tap Change  และบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์หม้อแปลงไฟฟ้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
 1. กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานด้านไฟฟ้า กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้าน ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 25582. กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานในที่อับอากาศ กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตสำหรับการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 25483. กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานกับสารเคมี กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย       พ.ศ. 2556 ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดสารเคมีอันตรายที่ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง พ.ศ. 2552 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง บัญชีรายชื่อสารเคมีอันตราย     พ.ศ. 2556 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย พ.ศ. 25564. กฏหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับเครน ปั้นจั่น และการให้สัญญาณ  กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ. 2553 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2553 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น         พ.ศ. 2554 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ชนิดและประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานก่อสร้างที่ต้องตรวจรับรองประจำปี พ.ศ. 2554 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น พ.ศ. 25545. กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 25516. กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-MC04-5-011-01 ซ่อมรั่วหม้อแปลงไฟฟ้า

1.ตรวจสอบและทำความสะอาดหม้อแปลงไฟฟ้า และ คราบน้ำมัน ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-011-01.01 151783
PGS-MC04-5-011-01 ซ่อมรั่วหม้อแปลงไฟฟ้า

2.ถอดและประกอบอุปกรณ์ต่างๆของหม้อแปลง ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-011-01.02 151784
PGS-MC04-5-011-01 ซ่อมรั่วหม้อแปลงไฟฟ้า

3. ตรวจสอบและเลือกใช้ปะเก็น และการตัดปะเก็น ได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC04-5-011-01.03 151785
PGS-MC04-5-011-01 ซ่อมรั่วหม้อแปลงไฟฟ้า

4.ตรวจสอบเครื่องมือวัดหม้อแปลงไฟฟ้าแบบต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC04-5-011-01.04 151786
PGS-MC04-5-011-01 ซ่อมรั่วหม้อแปลงไฟฟ้า

5.ตรวจสอบและดึงความชื้นออกจากหม้อแปลงไฟฟ้าโดย Vacuum และการทำ Hot Oil Circulation

PGS-MC04-5-011-01.05 151787
PGS-MC04-5-011-01 ซ่อมรั่วหม้อแปลงไฟฟ้า

6. ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยในการยกและเคลื่อนย้ายเครื่องจักรได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-011-01.06 151788
PGS-MC04-5-011-01 ซ่อมรั่วหม้อแปลงไฟฟ้า

7.สรุป นำเสนอข้อมูลสำหรับการวางแผนบำรุงรักษา บันทึกผล และรายงานผล  

PGS-MC04-5-011-01.07 151789
PGS-MC04-5-011-02 ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า

1. อธิบายเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการยกและเคลื่อนย้ายหม้อแปลงได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC04-5-011-02.01 151790
PGS-MC04-5-011-02 ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า

2. ตรวจสอบและยึดโยงอุปกรณ์ในการติดตั้งได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-011-02.02 151791
PGS-MC04-5-011-02 ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า

3. ให้สัญญาณมือกับเครนได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-011-02.03 151792
PGS-MC04-5-011-02 ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า

4.สรุป นำเสนอข้อมูลสำหรับการวางแผนบำรุงรักษา บันทึกผล และรายงานผล  

PGS-MC04-5-011-02.04 151793
PGS-MC04-5-011-03 ปรับปรุงสภาพน้ำมัน หม้อแปลงไฟฟ้า

1.   อธิบายหลักการปรับปรุงสภาพน้ำมันของหม้อแปลงไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง 

PGS-MC04-5-011-03.01 151794
PGS-MC04-5-011-03 ปรับปรุงสภาพน้ำมัน หม้อแปลงไฟฟ้า

2.ควบคุมงานปรับปรุงสภาพน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าได้ตามมาตรฐานและปลอดภัย

PGS-MC04-5-011-03.02 151795
PGS-MC04-5-011-03 ปรับปรุงสภาพน้ำมัน หม้อแปลงไฟฟ้า

3.  วิเคราะห์ผลการทดสอบน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า ได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC04-5-011-03.03 151796
PGS-MC04-5-011-03 ปรับปรุงสภาพน้ำมัน หม้อแปลงไฟฟ้า

4.ตรวจสอบความเรียบร้อยของหม้อแปลงไฟฟ้าพร้อมรายงานผลการทำงาน

PGS-MC04-5-011-03.04 151797
PGS-MC04-5-011-04 บำรุงรักษา On load Tap Change

1. อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของ On Load Tap Change ได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC04-5-011-04.01 151798
PGS-MC04-5-011-04 บำรุงรักษา On load Tap Change

2.ควบคุมเครื่อง Oil Purify และ Air Dryer ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-011-04.02 151799
PGS-MC04-5-011-04 บำรุงรักษา On load Tap Change

3. ตรวจสอบและทดสอบ Pre-test/Post-test ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-011-04.03 151800
PGS-MC04-5-011-04 บำรุงรักษา On load Tap Change

4.  วิเคราะห์ผลการทดสอบน้ำมัน และ Dynamic Resistance Measurement ได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC04-5-011-04.04 151801
PGS-MC04-5-011-04 บำรุงรักษา On load Tap Change

5.จัดทำเอกสารรายงานเสนอแนะแนวทางเพื่อป้องกันการเกิดปัญหา

PGS-MC04-5-011-04.05 151802
PGS-MC04-5-011-05 บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ หม้อแปลงไฟฟ้า

1.อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) และอุปกรณ์ประกอบได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC04-5-011-05.01 151803
PGS-MC04-5-011-05 บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ หม้อแปลงไฟฟ้า

2.อธิบายหลักการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ทั่วไป  ซึ่งอยู่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหม้อแปลงไฟฟ้า      และอุปกรณ์ประกอบได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC04-5-011-05.02 151804
PGS-MC04-5-011-05 บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ หม้อแปลงไฟฟ้า

3.ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นจากเครื่องมือวัดและระบบบันทึกข้อมูล (Event Recorder)

PGS-MC04-5-011-05.03 151805
PGS-MC04-5-011-05 บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ หม้อแปลงไฟฟ้า

4.สรุป เสนอแนะข้อมูลสำหรับการวางแผนบำรุงรักษา บันทึกผล และรายงานผล

PGS-MC04-5-011-05.04 151806

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  1.  



1. ความรู้เรื่องเครื่องกลไฟฟ้า  ประกอบด้วยเนื้อหาเรื่องวงจรแม่เหล็ก แม่เหล็กยกของโครงสร้างและหลักการทำงานของเครื่องกลไฟฟ้า โครงสร้างและหลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดหนึ่งเฟสและสามเฟส ระบบและอุปกรณ์ประกอบของหม้อแปลงไฟฟ้า



2. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องมือวัด (Instrument) ประกอบด้วยเนื้อหาและหลักการทำงานของระบบเครื่องมือวัด ประเภทอุณหภูมิ วัดระดับความสูง หัววัด Sensor Detector การทดสอบและการปรับแต่ง



3. ความรู้ระบบป้องกันภายในและภายนอกหม้อแปลงไฟฟ้า ทราบถึงหลักการทำงานของระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ป้องกันหม้อแปลง การปรับตั้งอุปกรณ์ป้องกัน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)     





  1. การเลือกใช้เครื่องมือทั่วไป (เครื่องมือช่าง และเครื่องมือวัด) และเครื่องมือพิเศษสำหรับปฏิบัติงานกับหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ รวมถึงงานเคลื่อยนย้าย ตัดตั้ง และการปรับปรุงสภาพน้ำมันหม้อแปลง




  2. การตรวจสอบและการวิเคราะห์ความผิดปกติและการแก้ไขทางกายภาพของหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ




  3. การแปรผลและการวิเคราะห์ผลทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ





ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)





  1. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)




  2. ทักษะความเป็นผู้นำ (Leadership)




  3. ทักษะการสอนงานเบื้องต้น



(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิคสำหรับการวิเคราะห์ผลการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า

  2. ค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นที่ได้จากการวัดในการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ

  3. หลักการคำนวณพื้นฐานทางด้านไฟฟ้าและทางกลที่เกี่ยวข้อง เช่นการคำนวนหาค่ากระแสที่พิกัด ค่าแรงทางกลที่กระทำต่อหม้อแปลง

  4. ความรู้สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการบำรุงรักษาหม้อแปลไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ

  5. วิธีการใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ

  6. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษาหม้อแปลไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ

  7. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ

  8. การเก็บ บำรุง รักษา เครื่องมือทั่วไปและเครื่องมือพิเศษ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ




  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

  2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

  3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

  4. หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

  5. หลักฐานการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ




  1. หลักฐานการศึกษา

  2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

  3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

  4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี) 

  5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (PortFolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



      ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน check-list รายการ



(ง) วิธีการประเมิน



     1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ



     2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

       ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการดำเนินการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ



(ก) คำแนะนำ



      ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า โดยต้องทราบถึงข้อหลักของการดำเนินการของการ ซ่อมรั่วหม้อแปลงไฟฟ้า การติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า การปรับปรุงสภาพน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า การบำรุงรักษา On Load Tap Change และการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์หม้อแปลงไฟฟ้า ดังกล่าว



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. ซ่อมรั่วหม้อแปลงไฟฟ้า

    1. ตรวจสอบและทำความสะอาดหม้อแปลงไฟฟ้า และคราบน้ำมันได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ดังนี้ ตัวถังหม้อแปลงไฟฟ้า การรั่วซึมรอบนอกของหม้อแปลงไฟฟ้า              ชุดกรองความชื้น บุชชิ่งแรงสูงและแรงต่ำ ชุดปรับแรงดันไฟฟ้า ที่วัดระดับน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า เทอร์โมมิเตอร์ อุปกรณ์ความดัน 

    2. มีความเข้าใจในขั้นตอนการถอดและประกอบอุปกรณ์ในส่วนต่าง ๆ ของหม้อแปลงไฟฟ้า ตามข้อ 1.1 และมีการตรวจสอบเลือกใช้ปะเก็น การตัดปะเก็น ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยเลือกใช้ประแจ Torque Wrench

    3. ตรวจสอบและใช้เครื่องมือวัดหม้อแปลงไฟฟ้าแบบต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย เช่น เครื่องวัดไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ พร้อมทั้งแรงที่ทำการขันอัดตามแนวแกน Bolt ที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด

    4. ตรวจสอบและดึงความชื้นออกจากหม้อแปลงไฟฟ้าโดย Vacuum และการทำ Hot Oil Circulation ได้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น ชุดกรองความชื้น โดยสังเกตุและตรวจสอบการเปลี่ยนสีของซิลิก้าเกล (Silica gel) เมื่อสีน้ำเงินเข้มเป็นสีชมพูไป 3 ใน 4 ส่วน ของกระบอกกรองความชื้น ควรแจ้งดำเนินการแก้ไข

    5. ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยในการยกและเคลื่อนย้ายเครื่องจักร โดยการให้สัญญาณมือและผูกรัดสิ่งของอุปกรณ์บนพื้นที่สูง การยกของ การส่งสิ่งของ และอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ  โดยดำเนินการตามขั้นตอนการทำงานกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของหม้อแปลงไฟฟ้าตามที่กำหนดได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย



  2. ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า

    1. ตรวจสอบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการยกและเคลื่อนย้ายหม้อแปลงไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง โดยจะดำเนินการเข้าตรวจสอบสภาพความพร้อมการใช้งานของเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการยกและเคลื่อนย้าย โดยต้องปฏิบัติตามขั้นขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ถ้าพบว่ามีการชำรุดต้องรีบแจ้งให้ผู้ควบคุมงานทราบ

    2. ตรวจสอบและยึดโยงอุปกรณ์ในการติดตั้งได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย รวมทั้งทดสอบเครื่องมือวัดของหม้อแปลงไฟฟ้า โดยจะดำเนินการตรวจสภาพทั่ว ๆ ไปของเครื่องมือวัดในจุดต่าง ๆ เพื่อให้มีความพร้อมใช้งาน

    3. ให้สัญญาณมือกับผู้ควบคุมเครนได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยจะดำเนินการปิดกั้นบริเวณพร้อมแสดงป้ายแจ้งเตือน และมีผู้เฝ้าระวังระหว่างการใช้งานเครนในช่วงการยกและเคลื่อนย้ายได้อย่างถูกต้อง



  3. ปรับปรุงสภาพน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า

    1. มีความรู้ในด้านการใช้น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า และหลักการปรับปรุงสภาพน้ำมัน เช่น คุณสมบัติของน้ำมันหม้อแปลงในด้านมีความเป็นฉนวนสูง ทนต่อการเสื่อมสภาพ ทนต่อปฏิกิริยาเคมีที่อาจเกิดขึ้น สามารถระบายความร้อนได้ดี มีอัตราการระเหยต่ำ ไม่มีส่วนผสมของสารมีพิษต้องห้าม เป็นต้น

    2. ควบคุมงานปรับปรุงสภาพน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า โดยจะต้องมีความรู้ในขั้นตอนของการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานและปลอดภัย

    3. วิเคราะห์ผลการทดสอบน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า จากตัวอย่างโดยพิจารณาจากสภาพความเป็นฉนวน สัดส่วนน้ำในน้ำมัน ความเสื่อมน้ำมันหม้อแปลง และค่าก๊าซในน้ำมัน ได้อย่างถูกต้อง



  4. บำรุงรักษา On Load Tap Change

    1. มีความรู้ด้านโครงสร้างและหลักการทำงานของ On Load Tap Change โดยจะต้องมีความรู้ในขั้นตอนการตรวจสอบ และการใช้งานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

    2. ควบคุมงานปรับปรุงสภาพน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า โดยจะดำเนินการติดตั้งและควบคุมการใช้งานเครื่อง Oil Purify และ Air Dryer ทั้งก่อนและหลังการใช้งานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

    3. มีความสามารถในการตรวจสอบและทดสอบ Pre-test/Post-test ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยจะดำเนินการปิดกั้นบริเวณพร้อมป้ายแจ้งเตือนและมีผู้เฝ้าระวังในระหว่างทำการทดสอบทางด้านไฟฟ้า

    4. วิเคราะห์ผลการทดสอบน้ำมัน และ Dynamic Resistance Measurement จากตัวอย่างที่นำมาตรวจสอบ โดยวิเคราะห์สภาพความเป็นฉนวน สัดส่วนน้ำในน้ำมัน ความเสื่อมน้ำมัน และค่าก๊าซในน้ำมัน ได้อย่างถูกต้อง



  5. บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์หม้อแปลงไฟฟ้า



                    การตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นจากเครื่องมือวัดและระบบการบันทึกข้อมูล (Event Recorder)  โดยนำผลที่ได้จากการวัดค่าด้วยเครื่องมือวัดทั่วไป และเครื่องมือวัดพิเศษ ทั้งในส่วนที่เป็นการวัดและบันทึกแบบ Online และ Offline มาทำการแปลผลวิเคราะห์และประเมินสภาพอายุการใช้งานของหม้อแปลงไฟฟ้า ตลอดจนการนำข้อมูลจากความผิดปกติในระหว่างการนำเข้าใช้งาน รวมทั้งการทดสอบทางด้านไฟฟ้าในระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) โดยนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาเพื่อใช้ในการวางแผนงานบำรุงรักษาหรือการซ่อมแก้ไขหม้อแปลงไฟฟ้าในอนาคต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1.  



1. เครื่องมือประเมิน ซ่อมรั่วหม้อแปลงไฟฟ้า




  1. ข้อสอบแบบปรนัย เช่น การซ่อมรั่วหม้อแปลงไฟฟ้า

  2. ข้อสอบแบบอัตนัย เช่น การซ่อมรั่วหม้อแปลงไฟฟ้า

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการซ่อมรั่วหม้อแปลงไฟฟ้า โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์



2. เครื่องมือประเมิน ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า




  1. ข้อสอบแบบปรนัย เช่น การติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า

  2. ข้อสอบแบบอัตนัย เช่น การติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์



3. เครื่องมือประเมิน ปรับปรุงสภาพน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า




  1. ข้อสอบแบบปรนัย เช่น การปรับปรุงสภาพน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า

  2. ข้อสอบแบบอัตนัย เช่น การปรับปรุงสภาพน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์



4. เครื่องมือประเมิน บำรุงรักษา On Load Tap Change




  1. ข้อสอบแบบปรนัย เช่น การบำรุงรักษา On Load Tap Change

  2. ข้อสอบแบบอัตนัย เช่น การบำรุงรักษา On Load Tap Change

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษา On Load Tap Change โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์



5. เครื่องมือประเมิน บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์หม้อแปลงไฟฟ้า




  1. ข้อสอบแบบปรนัย เช่น การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์หม้อแปลงไฟฟ้า

  2. ข้อสอบแบบอัตนัย เช่น การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์หม้อแปลงไฟฟ้า

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์หม้อแปลงไฟฟ้า โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ