หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าทั่วไป

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EGS-5-246ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าทั่วไป

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง ระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
           ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถปฏิบัติงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าทั่วไป โดยการตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า และตรวจสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
 1. กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานด้านไฟฟ้า กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 25582. กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานกับสารเคมี กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย       พ.ศ. 2556 ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดสารเคมีอันตรายที่ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง พ.ศ. 2552 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง บัญชีรายชื่อสารเคมีอันตราย     พ.ศ. 2556 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย พ.ศ. 25563. กฏหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับเครน ปั้นจั่น และการให้สัญญาณ  กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิงและรอก พ.ศ. 2553 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2553 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น         พ.ศ. 2554 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ชนิดและประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานก่อสร้างที่ต้องตรวจรับรองประจำปี พ.ศ. 2554 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น พ.ศ. 25544. กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย       อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 25515. กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-MC04-5-010-01 ตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า

1.  อธิบายอุปกรณ์ไฟฟ้าและหลักการทำงานของระบบไฟฟ้าที่มีความเกี่ยวข้องกับหม้อแปลงไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC04-5-010-01.01 151770
PGS-MC04-5-010-01 ตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า

2.ดำเนินการด้านความปลอดภัยในการทำงานบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-010-01.02 151771
PGS-MC04-5-010-01 ตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า

3.ตรวจสอบและใช้เครื่องมือพื้นฐานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-010-01.03 151772
PGS-MC04-5-010-01 ตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า

4.  ให้สัญญานมือและผูกรัดสิ่งอุปกรณ์บนพื้นที่สูงได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-010-01.04 151773
PGS-MC04-5-010-01 ตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า

5. หาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษา

PGS-MC04-5-010-01.05 151774
PGS-MC04-5-010-01 ตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า

6.สรุป นำเสนอข้อมูล บันทึกผล และรายงานผล

PGS-MC04-5-010-01.06 151775
PGS-MC04-5-010-02 ตรวจสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า

1.อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า ได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC04-5-010-02.01 151776
PGS-MC04-5-010-02 ตรวจสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า

2. อ่านแบบทางไฟฟ้าและคู่มือประกอบได้     อย่างถูกต้อง

PGS-MC04-5-010-02.02 151777
PGS-MC04-5-010-02 ตรวจสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า

3. ตรวจสอบ ทำความสะอาดและซ่อมแซม ส่วนที่เป็น Poreclain ฉนวนแห้ง และคราบน้ำมัน   ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-010-02.03 151778
PGS-MC04-5-010-02 ตรวจสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า

4.  ตรวจสอบและทดสอบเครื่องมือวัดของ หม้อแปลงได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-010-02.04 151779
PGS-MC04-5-010-02 ตรวจสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า

5.ตรวจสอบและทดสอบ Pre-test/Post-test ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-010-02.05 151780
PGS-MC04-5-010-02 ตรวจสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า

6. ถอด ประกอบ และเปลี่ยนชิ้นส่วนหม้อแปลง  ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-010-02.06 151781
PGS-MC04-5-010-02 ตรวจสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า

7.สรุป นำเสนอข้อมูลสำหรับการวางแผนบำรุงรักษา บันทึกผล และรายงานผล

PGS-MC04-5-010-02.07 151782

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  1.  



1. ความรู้เรื่องเครื่องกลไฟฟ้า  ประกอบด้วยเนื้อหาเรื่องวงจรแม่เหล็ก แม่เหล็กยกของโครงสร้างและหลักการทำงานของเครื่องกลไฟฟ้า โครงสร้างและหลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดหนึ่งเฟสและสามเฟส ระบบและอุปกรณ์ประกอบของหม้อแปลงไฟฟ้า



2. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องมือวัด (Instrument) ประกอบด้วยเนื้อหาและหลักการทำงานของระบบเครื่องมือวัด ประเภทอุณหภูมิ วัดระดับความสูง หัววัด Sensor Detector การทดสอบและการปรับแต่ง


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)     





  1. การเลือกใช้เครื่องมือทั่วไป (เครื่องมือช่าง และเครื่องมือวัด) และเครื่องมือพิเศษสำหรับปฏิบัติงานกับหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ รวมถึงงานปรับปรุงสภาพน้ำมันหม้อแปลง




  2. การตรวจสอบและการวิเคราะห์ความผิดปกติและการแก้ไขทางกายภาพของหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ




  3. การแปรผลและการวิเคราะห์ผลทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ





ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)





  1. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)




  2. ทักษะความเป็นผู้นำ (Leadership)



  3. ทักษะการสอนงานเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิคสำหรับการวิเคราะห์ผลการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า

  2. ค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นที่ได้จากการวัดในการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ

  3. หลักการคำนวณพื้นฐานทางด้านไฟฟ้าและทางกลที่เกี่ยวข้อง เช่น การคำนวนหาค่ากระแสที่พิกัด ค่าแรงทางกลที่กระทำต่อหม้อแปลง

  4. ความรู้สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการบำรุงรักษาหม้อแปลไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ

  5. วิธีการใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ

  6. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษาหม้อแปลไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ

  7. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ

  8. การเก็บ บำรุง รักษา เครื่องมือทั่วไปและเครื่องมือพิเศษ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ




  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

  2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

  3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

  4. หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

  5. หลักฐานการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ




  1. หลักฐานการศึกษา

  2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

  3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

  4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี) 

  5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (PortFolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน check-list รายการ



(ง) วิธีการประเมิน



      1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ



      2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการดำเนินการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ



(ก) คำแนะนำ



       ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า โดยต้องทราบถึงข้อหลักของการดำเนินการของงานบำรุงรักษาดังกล่าว



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. ตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าทั่วไป                   

    • มีความสามารถดำเนินการด้านความปลอดภัยในการทำงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยมีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนและวิธีการถอด ตรวจสอบและประกอบ Terminal Connection ของหม้อแปลงไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย โดยเลือกใช้ประแจ Torque Wrench            ที่เหมาะสมกับการใช้งาน

    • ตรวจสอบและใช้เครื่องมือพื้นฐานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยมีความรู้เกี่ยวกับมาตรวัดทางไฟฟ้า การเลือกใช้ประแจ Torque Wrench ที่ถูกต้องกับขนาด พร้อมทั้งแรงที่ทำการขันอัดตามแนวแกนและแรงขันที่เหมาะสมของ Bolt อย่างถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด

    • การให้สัญญาณมือและผูกรัดสิ่งอุปกรณ์บนพื้นที่สูงได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยการยกของ การส่งสิ่งของ อุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ในระหว่างการปฏิบัติงาน

    • ตรวจสอบหาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษา เช่น ในระหว่างการปฏิบัติงานดำเนินการตามขั้นตอนการทำงานกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบต่าง ๆ ของหม้อแปลงไฟฟ้าตามที่กำหนด เป็นการป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นได้ในระหว่างการปฏิบัติงาน



  2. ตรวจสอบสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า

    • สามารถอ่านแบบทางไฟฟ้าและคู่มือประกอบได้อย่างถูกต้อง โดยมีความรู้เรื่องระบบไฟฟ้า ระบบควบคุมต่าง ๆ ของหม้อแปลงไฟฟ้า จากแบบวงจรระบบไฟฟ้า ความรู้ในขั้นตอนการดำเนินการตรวจสอบอุปกรณ์ตาม PI Diagram การถอดประกอบอุปกรณ์ Instrument การดำเนินการทดสอบการทำงานของระบบ

    • ตรวจสอบ ทำความสะอาดและซ่อมแซม ส่วนที่เป็น Porcelain ฉนวนแห้ง และคราบน้ำมัน ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยจะดำเนินการเข้าตรวจสอบสภาพของ Porcelain ฉนวน (ถ้ามีการชำรุด แจ้งให้ผู้ควบคุมงานรับทราบ) การทำความสะอาดอย่างระมัดระวังโดยใช้วัสดุที่กำหนด

    • ตรวจสอบและทดสอบเครื่องมือวัดของหม้อแปลงไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยจะดำเนินการตรวจสภาพทั่ว ๆ ไป ของเครื่องมือวัดในจุดต่าง ๆ ของหม้อแปลงไฟฟ้า และทำการทดสอบให้อยู่ในสภาพที่มีความพร้อมในการงาน

    • สามารถตรวจสอบและทดสอบ Pre-test/Post-test ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยจะดำเนินการปิดกั้นบริเวณพร้อมป้ายแจ้งเตือน และต้องมีผู้เฝ้าระวังระหว่างการทดสอบ มาตรฐานการทดสอบและความปลอดภัยด้านไฟฟ้า ข้อกำหนดความปลอดภัยของอุปกรณ์และค่าควรระวังสำหรับการทดสอบทางด้านไฟฟ้า

    • มีวิธีการและขั้นตอนในการถอด ประกอบ และเปลี่ยนชิ้นส่วนหม้อแปลงไฟฟ้า ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยมีความรู้เรื่องระบบ Cooling Fan System จากแบบวงจรระบบไฟฟ้า โดยมีขั้นตอนการถอด ประกอบ และระบบควบคุม การดำเนินการทดสอบการทำงานของระบบ




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1.  



18.1 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า



     1. ข้อสอบแบบปรนัย เช่น การตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า



     2. ข้อสอบแบบอัตนัย เช่น การตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า



     3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์



18.2 เครื่องมือประเมิน ตรวจสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า



     1. ข้อสอบแบบปรนัย เช่น การตรวจสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า



     2. ข้อสอบแบบอัตนัย เช่น การตรวจสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า



     3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการตรวจสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ