หน่วยสมรรถนะ
บำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าตามวาระ
สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | GPW-EGS-5-240ZB |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | บำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าตามวาระ |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า ระดับ 5 |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป โดยการอธิบายอุปกรณ์ไฟฟ้าและหลักการทำงานของระบบไฟฟ้า ตรวจสอบหาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษา สามารถตรวจสอบและบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป โดยการอ่านแบบทางไฟฟ้าและคู่มือถอด ประกอบ และเปลี่ยนชิ้นส่วนมอเตอร์ สามารถรื้อถอนและติดตั้งมอเตอร์ โดยการติดตั้งและรื้อถอนระบบไฟฟ้า Coupling แท่นยึดมอเตอร์ อุปกรณ์ประกอบของมอเตอร์ สามารถเคลื่อนย้ายและขนส่งมอเตอร์ โดยการอธิบายเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการยกและเคลื่อนย้ายเครื่องจักร ตรวจสอบและยึดโยงอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้าย และวัดค่าทางกลและวิเคราะห์ผล สามารถบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์มอเตอร์ไฟฟ้า โดยการอธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า (Motor) และอุปกรณ์ประกอบ อธิบายหลักการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น รวมทั้งสรุป เสนอแนะข้อมูลสำหรับการวางแผนบำรุงรักษา บันทึกผล และรายงานผล |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
1. กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานด้านไฟฟ้า กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 25582. กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานกับสารเคมี กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดสารเคมีอันตรายที่ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง พ.ศ. 2552 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง บัญชีรายชื่อสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย พ.ศ. 25563. กฏหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับเครน ปั้นจั่น และการให้สัญญาณ กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ.2553 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2553 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ชนิดและประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานก่อสร้างที่ต้องตรวจรับรองประจำปี พ.ศ. 2554 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น พ.ศ. 25544. กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 25515. กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
PGS-MC04-5-008-01 ตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป | 1. อธิบายอุปกรณ์ไฟฟ้าและหลักการทำงานของระบบไฟฟ้าที่มีความเกี่ยวข้องกับมอเตอร์ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง |
PGS-MC04-5-008-01.01 | 151730 |
PGS-MC04-5-008-01 ตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป | 2.ดำเนินการด้านความปลอดภัยในการทำงานบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย |
PGS-MC04-5-008-01.02 | 151731 |
PGS-MC04-5-008-01 ตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป | 3. ตรวจสอบและใช้เครื่องมือพื้นฐานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย |
PGS-MC04-5-008-01.03 | 151732 |
PGS-MC04-5-008-01 ตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป | 4.ให้สัญญานมือและผูกรัดสิ่งอุปกรณ์บนพื้นที่สูงได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย |
PGS-MC04-5-008-01.04 | 151733 |
PGS-MC04-5-008-01 ตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป | 5.หาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษา |
PGS-MC04-5-008-01.05 | 151734 |
PGS-MC04-5-008-01 ตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป | 6.สรุป นำเสนอข้อมูล บันทึกผล และรายงานผล |
PGS-MC04-5-008-01.06 | 151735 |
PGS-MC04-5-008-02 ตรวจสอบและบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป | 1. อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า
ได้อย่างถูกต้อง |
PGS-MC04-5-008-02.01 | 151736 |
PGS-MC04-5-008-02 ตรวจสอบและบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป | 2. อ่านแบบทางไฟฟ้าและคู่มือประกอบได้อย่างถูกต้อง |
PGS-MC04-5-008-02.02 | 151737 |
PGS-MC04-5-008-02 ตรวจสอบและบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป | 3. ถอด
ประกอบ และเปลี่ยนชิ้นส่วนมอเตอร์ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย |
PGS-MC04-5-008-02.03 | 151738 |
PGS-MC04-5-008-02 ตรวจสอบและบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป | 4. ตรวจสอบ
ทำความสะอาดและซ่อมแซม ส่วนที่เป็น Rotor Stator และ Bearing ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย |
PGS-MC04-5-008-02.04 | 151739 |
PGS-MC04-5-008-02 ตรวจสอบและบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป | 5. อบฉนวน
ไล่ความชื้น Rotor และ Stator ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย |
PGS-MC04-5-008-02.05 | 151740 |
PGS-MC04-5-008-02 ตรวจสอบและบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป | 6.ตรวจสอบและทดสอบ
Pre-test/Post-test ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย |
PGS-MC04-5-008-02.06 | 151741 |
PGS-MC04-5-008-02 ตรวจสอบและบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป | 7.วัดค่าทางไฟฟ้าและทางกล
ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย |
PGS-MC04-5-008-02.07 | 151742 |
PGS-MC04-5-008-02 ตรวจสอบและบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป | 8. ตรวจสอบการหล่อลื่นใน
Bearing
ได้อย่างถูกต้อง |
PGS-MC04-5-008-02.08 | 151743 |
PGS-MC04-5-008-02 ตรวจสอบและบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป | 9.สรุป นำเสนอข้อมูลสำหรับการวางแผนบำรุงรักษา บันทึกผล
และรายงานผล |
PGS-MC04-5-008-02.09 | 151744 |
PGS-MC04-5-008-03 รื้อถอนและติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้า | 1.ติดตั้งและรื้อถอนระบบไฟฟ้า
ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย |
PGS-MC04-5-008-03.01 | 151745 |
PGS-MC04-5-008-03 รื้อถอนและติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้า | 2.ติดตั้งและรื้อถอน
Coupling
ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย |
PGS-MC04-5-008-03.02 | 151746 |
PGS-MC04-5-008-03 รื้อถอนและติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้า | 3. ติดตั้งและรื้อถอนแท่นยึดมอเตอร์
ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย |
PGS-MC04-5-008-03.03 | 151747 |
PGS-MC04-5-008-03 รื้อถอนและติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้า | 4.ติดตั้งและรื้อถอนอุปกรณ์ประกอบของมอเตอร์ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย |
PGS-MC04-5-008-03.04 | 151748 |
PGS-MC04-5-008-03 รื้อถอนและติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้า | 5. ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยในการยกและเคลื่อนย้ายเครื่องจักรได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย |
PGS-MC04-5-008-03.05 | 151749 |
PGS-MC04-5-008-03 รื้อถอนและติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้า | 6.สรุป เสนอแนะข้อมูล
บันทึกผล และรายงานผล |
PGS-MC04-5-008-03.06 | 151750 |
PGS-MC04-5-008-04 เคลื่อนย้ายและขนส่งมอเตอร์ไฟฟ้า | 1.อธิบายเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการยกและเคลื่อนย้ายเครื่องจักรได้อย่างถูกต้อง |
PGS-MC04-5-008-04.01 | 151751 |
PGS-MC04-5-008-04 เคลื่อนย้ายและขนส่งมอเตอร์ไฟฟ้า | 2.ให้สัญญาณมือและควบคุม
บังคับ เครนได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย |
PGS-MC04-5-008-04.02 | 151752 |
PGS-MC04-5-008-04 เคลื่อนย้ายและขนส่งมอเตอร์ไฟฟ้า | 3.ตรวจสอบและยึดโยงอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย |
PGS-MC04-5-008-04.03 | 151753 |
PGS-MC04-5-008-04 เคลื่อนย้ายและขนส่งมอเตอร์ไฟฟ้า | 4.วัดค่าทางกลและวิเคราะห์ผลได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย |
PGS-MC04-5-008-04.04 | 151754 |
PGS-MC04-5-008-04 เคลื่อนย้ายและขนส่งมอเตอร์ไฟฟ้า | 5.สรุป เสนอแนะข้อมูล
บันทึกผล และรายงานผล |
PGS-MC04-5-008-04.05 | 151755 |
PGS-MC04-5-008-05 บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์มอเตอร์ไฟฟ้า | 1.อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า
(Motor) และอุปกรณ์ประกอบได้อย่างถูกต้อง |
PGS-MC04-5-008-05.01 | 151756 |
PGS-MC04-5-008-05 บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์มอเตอร์ไฟฟ้า | 2.อธิบายหลักการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ทั่วไปและในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมอเตร์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบได้อย่างถูกต้อง |
PGS-MC04-5-008-05.02 | 151757 |
PGS-MC04-5-008-05 บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์มอเตอร์ไฟฟ้า | 3.ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นจากเครื่องมือวัดและระบบบันทึกข้อมูล
(Event
Recorder) |
PGS-MC04-5-008-05.03 | 151758 |
PGS-MC04-5-008-05 บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์มอเตอร์ไฟฟ้า | 4.สรุป เสนอแนะข้อมูลสำหรับการวางแผนบำรุงรักษา
บันทึกผล และรายงานผล |
PGS-MC04-5-008-05.04 | 151759 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1. ความรู้เรื่องเครื่องกลไฟฟ้า ประกอบด้วยเนื้อหาเรื่องวงจรแม่เหล็ก แม่เหล็กยกของโครงสร้างและหลักการทำงานของเครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง โครงสร้างและหลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดหนึ่งเฟสและสามเฟส โครงสร้างและหลักการทำงานของเครื่องกลซิงโครนัสมอเตอร์ซิงโครนัสชนิดแม่เหล็กถาวรแบบติดแม่เหล็กข้างนอกและติดข้างในตัวหมุน (Rotor) โครงสร้างและหลักการทำงานของมอเตอร์เหนี่ยวนำชนิดหนึ่งเฟสและสามเฟส 2. งานเชื่อมประสานโลหะ ประกอบด้วยลักษณะรูปแบบและวิธีการเชื่อมประสานโลหะอ่อน (ตัวนำประเภทต่างๆ) |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)
ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)
(ข) ความต้องการด้านความรู้
|
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ
(ค) คำแนะนำในการประเมิน ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน check-list รายการ (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ 2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี) |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการดำเนินการบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าตามวาระ (ก) คำแนะนำ ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการบำรุงรักษาขั้นสูง (ระดับการซ่อมแก้ไข) มอเตอร์ไฟฟ้า โดยต้องทราบถึงข้อหลักของการดำเนินการของงานบำรุงรักษา (ซ่อมแก้ไข) ในระดับดังกล่าว 1. ตรวจสอบและบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป 1.1 ดำเนินการถอด ประกอบ และเปลี่ยนชิ้นส่วนมอเตอร์ได้อย่างถูกต้อง
1.2 ตรวจสอบ ทำความสะอาดและซ่อมแซม Rotor Stator และ Bearing ของมอเตอร์ไฟฟ้า
1.3 การดำเนินการอบฉนวน ไล่ความชื้น Rotor และ Stator ของมอเตอร์ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยจะดำเนินการดำเนินการภายใต้กฎความปลอดภัย การดำเนินการห่อหุ้มและปิดกั้นบริเวณที่จะทำการอบฉนวน (ผลกระทบจากความร้อนหรือสนามแม่เหล็ก) การจัดผู้ที่ทำการติดตามและตรวจวัดค่าการอบ การให้ความรู้ในการระงับเหตุจากความร้อนหรือเพลิงใหม้หากเกิดความผิดปกติระหว่างการอบ 1.4 การดำเนินการตรวจสอบและทดสอบ Pre-test/Post-test ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยจะดำเนินการปิดกั้นบริเวณพร้อมป้ายแจ้งเตือน และผู้เฝ้าระวังระหว่างการทดสอบ มาตรฐานการทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้าและทางกล ข้อกำหนดความปลอดภัยของอุปกรณ์และค่าควรระวังสำหรับการทดสอบทางไฟฟ้าและทางกล 1.5 ดำเนินการตรวจสอบการหล่อลื่นใน Bearing ได้อย่างถูกต้อง โดยจะต้องมีความรู้ด้านFunction Control & Interlocking การจัดทำหัวข้อการทดสอบ การปรับแต่งอุปกรณ์ ค่าควรระวังทางไฟฟ้าและทางกลระหว่างการทดสอบในระบบ
2.1 ติดตั้งและรื้อถอนระบบไฟฟ้า Coupling แท่นยึด รวมถึงอุปกรณ์ประกอบของมอเตอร์ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยจะต้องมีความรู้ด้านความปลอดภัยในด้านไฟฟ้าในการตัดแยกแหล่งพลังงาน การเลือกใช้ประแจ Torque Wrench ที่ถูกต้องกับขนาด พร้อมทั้งแรงที่ทำการกวดอัด Bolt ที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด 2.2 ดำเนินการยกและเคลื่อนย้ายเครื่องจักรได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 3. เคลื่อนย้ายและขนส่งมอเตอร์ไฟฟ้า 3.1 ดำเนินการให้สัญญาณมือ ควบคุม บังคับ เครน และผูกรัด ยึดโยงอุปกรณ์ ในการเคลื่อนย้ายมอเตอร์ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด 3.2 ความสามารถในการตรวจสอบ เครื่องมือวัดค่าทางกลและวิเคราะห์ผลได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 4. บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์มอเตอร์ไฟฟ้า
|
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป 1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป 2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป 3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์ 18.2 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบและบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป 1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การตรวจสอบและบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป 2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การตรวจสอบและบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป 3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบและบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์ 18.3เครื่องมือประเมิน รื้อถอนและติดตั้งมอเตอร์ 1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การรื้อถอนและติดตั้งมอเตอร์ 2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การรื้อถอนและติดตั้งมอเตอร์ 3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการรื้อถอนและติดตั้งมอเตอร์ โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์ 18.4 เครื่องมือประเมิน เคลื่อนย้ายและขนส่งมอเตอร์ 1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การเคลื่อนย้ายและขนส่งมอเตอร์ 2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การเคลื่อนย้ายและขนส่งมอเตอร์ 3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายและขนส่งมอเตอร์ โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์ 18.5 เครื่องมือประเมิน บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์มอเตอร์ไฟฟ้า 1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์มอเตอร์ไฟฟ้า 2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์มอเตอร์ไฟฟ้า 3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์มอเตอร์ไฟฟ้า โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์
|