หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เปลี่ยนขดลวดของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า (Generator rewinding)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EGS-5-235ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เปลี่ยนขดลวดของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า (Generator rewinding)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถเปลี่ยนขดลวด Stator และ Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยการอธิบายหลักการปรับปรุงและเปลี่ยนขดลวดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ถอดและประกอบขดลวด เปลี่ยนขดลวด ทดสอบทางไฟฟ้าของขดลวด และตรวจสอบความเรียบร้อยของงานเปลี่ยนขดลวดพร้อมรายงานผลการทำงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
 1. กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานด้านไฟฟ้า กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 25582. กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานในที่อับอากาศ กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตสำหรับการทำงานในที่          อับอากาศ พ.ศ. 25483. กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานกับสารเคมี กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดสารเคมีอันตรายที่ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง พ.ศ. 2552 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง บัญชีรายชื่อสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย พ.ศ. 25564. กฏหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับเครน ปั้นจั่น และการให้สัญญาณ  กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ       พ.ศ. 2552 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ. 2553 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือ ในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2553 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ชนิดและประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานก่อสร้างที่ต้องตรวจรับรองประจำปี พ.ศ. 2554 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น พ.ศ. 25545.  กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-MC04-5-007-01 เปลี่ยนขดลวด Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

1. อธิบายหลักการปรับปรุงและเปลี่ยนขดลวดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง 

PGS-MC04-5-007-01.01 151720
PGS-MC04-5-007-01 เปลี่ยนขดลวด Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

2.ถอดและประกอบขดลวด Stator ได้อย่างถูกต้อง ไม่เสียหายและปลอดภัย

PGS-MC04-5-007-01.02 151721
PGS-MC04-5-007-01 เปลี่ยนขดลวด Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

3.เปลี่ยนขดลวด Stator ได้อย่างถูกต้อง ไม่เสียหายและปลอดภัย

PGS-MC04-5-007-01.03 151722
PGS-MC04-5-007-01 เปลี่ยนขดลวด Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

4. ทดสอบทางไฟฟ้าของขดลวด Stator

PGS-MC04-5-007-01.04 151723
PGS-MC04-5-007-01 เปลี่ยนขดลวด Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

5.ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานเปลี่ยนขดลวดพร้อมรายงานผลการทำงาน

PGS-MC04-5-007-01.05 151724
PGS-MC04-5-007-02 เปลี่ยนขดลวด Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

1.อธิบายหลักการปรับปรุงและเปลี่ยนขดลวดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง 

PGS-MC04-5-007-02.01 151725
PGS-MC04-5-007-02 เปลี่ยนขดลวด Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

2.ถอดและประกอบขดลวด Rotor ได้อย่างถูกต้อง ไม่เสียหายและปลอดภัย

PGS-MC04-5-007-02.02 151726
PGS-MC04-5-007-02 เปลี่ยนขดลวด Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

3. เปลี่ยนขดลวด Rotor ได้อย่างถูกต้อง ไม่เสียหายและปลอดภัย

PGS-MC04-5-007-02.03 151727
PGS-MC04-5-007-02 เปลี่ยนขดลวด Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

4.ทดสอบทางไฟฟ้าของขดลวด Rotor

PGS-MC04-5-007-02.04 151728
PGS-MC04-5-007-02 เปลี่ยนขดลวด Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

5.ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานเปลี่ยนขดลวดพร้อมรายงานผลการทำงาน

PGS-MC04-5-007-02.05 151729

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  1.  



1. ความรู้เรื่องเครื่องกลไฟฟ้า  ประกอบด้วยเนื้อหาเรื่องวงจรแม่เหล็ก แม่เหล็กยกของโครงสร้างและหลักการทำงานของเครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง โครงสร้างและหลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดหนึ่งเฟสและสามเฟส โครงสร้างและหลักการทำงานของเครื่องกลซิงโครนัสมอเตอร์ซิงโครนัสชนิดแม่เหล็กถาวรแบบติดแม่เหล็กข้างนอกและติดข้างในตัวหมุน (Rotor) โครงสร้างและหลักการทำงานของมอเตอร์เหนี่ยวนำชนิดหนึ่งเฟสและสามเฟส



2. งานเชื่อมประสานโลหะ ประกอบด้วยลักษณะรูปแบบและวิธีการเชื่อมประสานโลหะอ่อน (ตัวนำประเภทต่างๆ)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)




  1. การเลือกใช้เครื่องมือทั่วไป (เครื่องมือช่าง และเครื่องมือวัด) และเครื่องมือพิเศษสำหรับปฏิบัติงานเปลี่ยนขดลวดกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

  2. การตรวจสอบและการวิเคราะห์ความผิดปกติและการแก้ไขทางกายภาพของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

  3. การแปรผลและการวิเคราะห์ผลทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)




  1. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

  2. ทักษะความเป็นผู้นำ (Leadership)

  3. ทักษะการสอนงานเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิคสำหรับการวิเคราะห์ผลการทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



2. ค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นที่ได้จากการวัดเพื่อเปรียบเทียบหลังจากการเปลี่ยนขดลวดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



3. หลักการคำนวณพื้นฐานทางด้านไฟฟ้าและทางกลที่เกี่ยวข้อง เช่นการคำนวนหาค่ากระแสที่พิกัด ค่าแรงบิดที่พิกัด



4. ความรู้สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเปลี่ยนขดลวดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



5. วิธีการใช้เครื่องมือในการเปลี่ยนขดลวดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



6. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือในการเปลี่ยนขดลวดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



7. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเปลี่ยนขดลวดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



8. การเก็บ บำรุง รักษา เครื่องมือทั่วไปและเครื่องมือพิเศษ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ




  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

  2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

  3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

  4. หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

  5. หลักฐานการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ




  1. หลักฐานการศึกษา

  2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

  3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

  4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี) 

  5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (PortFolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



      ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน check-list รายการ



(ง) วิธีการประเมิน



    1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ



     2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการเปลี่ยนขดลวดของเครื่องกําเนิดไฟฟา (Generator rewinding)



(ก) คำแนะนำ



      ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการเปลี่ยนขดลวดของเครื่องกําเนิดไฟฟา (Generator rewinding) โดยต้องทราบถึงข้อหลักของการดำเนินการเปลี่ยนขดลวด Stator และ Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า   



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. เปลี่ยนขดลวดของ Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

    • การถอดและประกอบขดลวด Stator ได้อย่างถูกต้อง ไม่เสียหายและปลอดภัย โดยการดำเนินการเลือกเครื่องมือและการรื้อถอด Stator Wedge , Jumper Bar การประกอบกลับคืน ได้อย่างปลอดภัยและไม่ทำให้ Stator Core , Stator Coil และ Stator Winding เกิดความเสียหาย

    • การเปลี่ยนขดลวด Stator ได้อย่างถูกต้อง ไม่เสียหายและปลอดภัย โดยดำเนินการตัดการเชื่อมต่อ Stator Winding การเคลื่อนย้าย กระบวนการเตรียมการ Stator Core ก่อนการลง Winding การเรียงลำดับ Phase การการเชื่อมประสาน Stator Bar และจุดต่อต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย  เช่น การเลือกวิธีการและเครื่องมือในการเชื่อมประสาน Stator Bar และจุดต่อต่างๆ ตามข้อกำหนดทางด้านเทคนิคของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในรุ่นนั้นๆ และเป็นไปตามตามมาตรฐานสากล การดำเนินการปิดกั้นบริเวณพื้นที่การเชื่อมตามมาตรฐาน

    • การดำเนินการตรวจสอบและทดสอบทางไฟฟ้าของขดลวด Stator ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยจะดำเนินการปิดกั้นบริเวณพร้อมป้ายแจ้งเตือน และผู้เฝ้าระวังระหว่างการทดสอบ มาตรฐานการทดสอบและความปลอดภัยด้านไฟฟ้า ข้อกำหนดความปลอดภัยของอุปกรณ์และค่าควรระวังสำหรับการทดสอบทางด้านไฟฟ้า



  2. เปลี่ยนขดลวด Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

    • การถอดและประกอบขดลวด Rotor ได้อย่างถูกต้อง ไม่เสียหายและปลอดภัย                โดยดำเนินการเลือกเครื่องมือและการรื้อถอด Rotor Wedge , Jumper Bar, Retaining Ring การประกอบกลับคืน ได้อย่างปลอดภัยและไม่ทำให้ Rotor Core, Rotor Coil และ Rotor Winding เกิดความเสียหาย

    • การเปลี่ยนขดลวด Rotor ได้อย่างถูกต้อง ไม่เสียหายและปลอดภัย โดยจะดำเนินการตัดการเชื่อมต่อ Rotor Winding การเคลื่อนย้าย กระบวนการเตรียมการ Rotor Core ก่อนการลง Winding การเรียงลำดับชั้น Winding การการเชื่อมประสาน Rotor Bar และจุดต่อต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย เช่น การเลือกวิธีการและเครื่องมือในการเชื่อมประสาน Rotor Bar และจุดต่อต่างๆ ตามข้อกำหนดทางด้านเทคนิคของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในรุ่นนั้นๆ และเป็นไปตามตามมาตรฐานสากล การดำเนินการปิดกั้นบริเวณพื้นที่การเชื่อมตามมาตรฐาน

    • การดำเนินการตรวจสอบและทดสอบทางไฟฟ้าของขดลวด Rotor ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยจะดำเนินการปิดกั้นบริเวณพร้อมป้ายแจ้งเตือน และผู้เฝ้าระวังระหว่างการทดสอบ มาตรฐานการทดสอบและความปลอดภัยด้านไฟฟ้า ข้อกำหนดความปลอดภัยของอุปกรณ์และค่าควรระวังสำหรับการทดสอบทางด้านไฟฟ้า   




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1.  



18.1 เครื่องมือประเมิน เปลี่ยนขดลวด Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



    1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การเปลี่ยนขดลวด Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



     2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การเปลี่ยนขดลวด Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



     3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนขดลวด Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์



18.2 เครื่องมือประเมิน เปลี่ยนขดลวด Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



     1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การเปลี่ยนขดลวด Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



     2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การเปลี่ยนขดลวด Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



     3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนขดลวด Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์



 



ยินดีต้อนรับ