หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EGS-5-233ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถปฏิบัติงานด้านบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประกอบด้วยความสามารถในการตรวจสอบและทดสอบ Stator Rotor เครื่องกระตุ้นและส่วนสนับสนุนของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยใช้เครื่องมือทั่วไปและเครื่องมือแบบพิเศษ เช่น Generator Inspection Vehicle (GIV) Robotic Inspection Vehicle (RIV) เป็นต้น สำหรับการตรวจสอบและการทดสอบ รวมถึงการประสานงานเพื่อการทดสอบแบบพิเศษในกรณีที่จำเป็น และสามารถพิจารณาและวิเคราะห์ผลการทดสอบได้อย่างถูกต้อง สามารถพิจารณาส่วนชิ้นอะไหล่ (Spare Part) ที่ใช้สำหรับการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และอุปกรณ์ประกอบได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม นอกจากนี้ยังสามารถบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
 1. กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานด้านไฟฟ้า        -  กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558 2.  กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานในที่อับอากาศ      - กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547      - ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตสำหรับการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 25483. กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานกับสารเคมี     - กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556     - ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดสารเคมีอันตรายที่ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง พ.ศ. 2552     - ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง บัญชีรายชื่อสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556     - ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย พ.ศ. 25564. กฏหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับเครน ปั้นจั่น และการให้สัญญาณ      - กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552     - ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ. 2553     - ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2553     - ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554     - ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ชนิดและประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานก่อสร้างที่ต้องตรวจรับรองประจำปี พ.ศ. 2554     - ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น พ.ศ. 2554      - กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-MC04-5-005-01 ตรวจสอบและทดสอบ Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

1. อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของ Stator เครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC04-5-005-01.01 151679
PGS-MC04-5-005-01 ตรวจสอบและทดสอบ Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

2. ถอด ตรวจสอบและประกอบ Generator Terminal Connection ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-005-01.02 151680
PGS-MC04-5-005-01 ตรวจสอบและทดสอบ Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

3. ตรวจสอบ ทำความสะอาดและซ่อมแซม Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-005-01.03 151681
PGS-MC04-5-005-01 ตรวจสอบและทดสอบ Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

4. ตรวจสอบความแน่นของ Stator Wedge ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-005-01.04 151682
PGS-MC04-5-005-01 ตรวจสอบและทดสอบ Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

5. ตรวจสอบ Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ด้วยอุปกรณ์ Borescope ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-005-01.05 151683
PGS-MC04-5-005-01 ตรวจสอบและทดสอบ Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

6.ตรวจสอบ Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ด้วยอุปกรณ์ GIV และ RIV ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-005-01.06 151684
PGS-MC04-5-005-01 ตรวจสอบและทดสอบ Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

7.อบฉนวน ไล่ความชื้น Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-005-01.07 151685
PGS-MC04-5-005-01 ตรวจสอบและทดสอบ Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

8. ตรวจสอบและทดสอบ Pre-test/Post-test ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-005-01.08 151686
PGS-MC04-5-005-01 ตรวจสอบและทดสอบ Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

9.สรุป เสนอแนะข้อมูลสำหรับการวางแผนบำรุงรักษา บันทึกผล และรายงานผล

PGS-MC04-5-005-01.09 151687
PGS-MC04-5-005-02 ตรวจสอบและทดสอบ Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

1. อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของ Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC04-5-005-02.01 151688
PGS-MC04-5-005-02 ตรวจสอบและทดสอบ Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

2.ตรวจสอบ ทำความสะอาดและซ่อมแซม Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-005-02.02 151689
PGS-MC04-5-005-02 ตรวจสอบและทดสอบ Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

3.ตรวจสอบโดยวิธีการทดสอบ Rotor Shaft Center Bore Leakage ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-005-02.03 151690
PGS-MC04-5-005-02 ตรวจสอบและทดสอบ Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

4. ตรวจสอบ Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ด้วยเครื่องมือ Borescope ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-005-02.04 151691
PGS-MC04-5-005-02 ตรวจสอบและทดสอบ Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

5.ตรวจสอบ Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ด้วยเครื่องมือ GIV และ RIV ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-005-02.05 151692
PGS-MC04-5-005-02 ตรวจสอบและทดสอบ Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

6. อบฉนวน ไล่ความชื้น Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-005-02.06 151693
PGS-MC04-5-005-02 ตรวจสอบและทดสอบ Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

7.  ตรวจสอบและทดสอบ Pre-test/Post-test ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-005-02.07 151694
PGS-MC04-5-005-02 ตรวจสอบและทดสอบ Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

8.สรุป เสนอแนะข้อมูลสำหรับการวางแผนบำรุงรักษา บันทึกผล และรายงานผล

PGS-MC04-5-005-02.08 151695
PGS-MC04-5-005-03 ตรวจสอบและทดสอบเครื่องกระตุ้น (Exciter)

1.อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของเครื่องกระตุ้น (Exciter) ได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC04-5-005-03.01 151696
PGS-MC04-5-005-03 ตรวจสอบและทดสอบเครื่องกระตุ้น (Exciter)

2. ถอดและประกอบเครื่องกระตุ้น (exciter) ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-005-03.02 151697
PGS-MC04-5-005-03 ตรวจสอบและทดสอบเครื่องกระตุ้น (Exciter)

3. ตรวจสอบ ทำความสะอาดและซ่อมแซม เครื่องกระตุ้น (Exciter) ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-005-03.03 151698
PGS-MC04-5-005-03 ตรวจสอบและทดสอบเครื่องกระตุ้น (Exciter)

4.ตรวจสอบ ทำความสะอาดและซ่อมแซม สลิปริง (Slip Ring) ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-005-03.04 151699
PGS-MC04-5-005-03 ตรวจสอบและทดสอบเครื่องกระตุ้น (Exciter)

5.ตรวจสอบและทำความสะอาดแปรงถ่าน ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-005-03.05 151700
PGS-MC04-5-005-03 ตรวจสอบและทดสอบเครื่องกระตุ้น (Exciter)

6.ตรวจสอบและทดสอบ Pre-test/Post-test ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-005-03.06 151701
PGS-MC04-5-005-03 ตรวจสอบและทดสอบเครื่องกระตุ้น (Exciter)

7.สรุป เสนอแนะข้อมูลสำหรับการวางแผนบำรุงรักษา บันทึกผล และรายงานผล

PGS-MC04-5-005-03.07 151702
PGS-MC04-5-005-04 บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

1. อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) และอุปกรณ์ประกอบได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC04-5-005-04.01 151703
PGS-MC04-5-005-04 บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

2. อธิบายหลักการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ทั่วไปและในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องกำเกิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC04-5-005-04.02 151704
PGS-MC04-5-005-04 บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

3. ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นจากเครื่องมือวัดและระบบบันทึกข้อมูล (Event Recorder)

PGS-MC04-5-005-04.03 151705
PGS-MC04-5-005-04 บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

4.สรุป เสนอแนะข้อมูลสำหรับการวางแผนบำรุงรักษา บันทึกผล และรายงานผล

PGS-MC04-5-005-04.04 151706

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  1.  



          ความรู้เรื่องเครื่องกลไฟฟ้า ประกอบด้วยเนื้อหาเรื่องวงจรแม่เหล็ก แม่เหล็กยกของโครงสร้างและหลักการทำงานของเครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง โครงสร้างและหลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดหนึ่งเฟสและสามเฟส โครงสร้างและหลักการทำงานของเครื่องกลซิงโครนัสมอเตอร์ซิงโครนัสชนิดแม่เหล็กถาวรแบบติดแม่เหล็กข้างนอกและติดข้างในตัวหมุน (โรเตอร์) โครงสร้างและหลักการทำงานของมอเตอร์เหนี่ยวนำชนิดหนึ่งเฟสและสามเฟส


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)     




  1. การเลือกใช้เครื่องมือทั่วไป (เครื่องมือช่าง และเครื่องมือวัด) และเครื่องมือพิเศษสำหรับปฏิบัติงานกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ

  2. การตรวจสอบและการวิเคราะห์ความผิดปกติและการแก้ไขทางกายภาพของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ

  3. การแปรผลและการวิเคราะห์ผลทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ



ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)




  1. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

  2. ทักษะความเป็นผู้นำ (Leadership)

  3. ทักษะการสอนงานเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิคสำหรับการวิเคราะห์ผลการทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



2. ค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นที่ได้จากการวัดในการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ



3. หลักการคำนวณพื้นฐานทางด้านไฟฟ้าและทางกลที่เกี่ยวข้อง เช่นการคำนวนหาค่ากระแสที่พิกัดค่าแรงบิดที่พิกัด



4. ความรู้สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ



5. วิธีการใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ



6. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ



7. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ



8. การเก็บ บำรุง รักษา เครื่องมือทั่วไปและเครื่องมือพิเศษ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ




  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

  2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

  3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

  4. หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

  5. หลักฐานการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ




  1. หลักฐานการศึกษา

  2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

  3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

  4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี) 

  5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (PortFolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



      ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน check-list รายการ



(ง) วิธีการประเมิน



     1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ



      2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการดำเนินการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ 



(ก) คำแนะนำ



           ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยต้องทราบถึงข้อหลักของการดำเนินการของการตรวจสอบและทดสอบ Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตรวจสอบและทดสอบ Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตรวจสอบและทดสอบเครื่องกระตุ้น (Exciter) ตรวจสอบและทดสอบส่วนสนับสนุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator Auxiliary) และบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. ตรวจสอบและทดสอบ Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า




  • การถอด ตรวจสอบ และประกอบ Generator Terminal Connection ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยจะดำเนินการเลือกเครื่องมือและการปลอก Insulation ที่ห่อหุ่ม Main Lead กับ Star Point ได้อย่างปลอดภัยและไม่ทำให้ Conductor เกิดความเสียหาย การประกอบ Lead โดยการเลือกใช้ประแจที่ถูกต้องกับขนาด พร้อมทั้งแรงที่ทำการกวดอัด Bolt ที่ถูกต้องตามที่กำหนด และการห่อหุ้ม Insulation ของ Main Lead กับ Star Point ได้อย่างเรียบร้อยและปลอดภัยโดยไม่เกิดโพรงอากาศใน Lead ที่ดำเนินการพัน

  • การตรวจสอบ ทำความสะอาด และซ่อมแซม Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยจะดำเนินการเลือกใช้สารเคมีที่เหมาะสมกับการใช้ทำความสะอาดที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ (ไม่ทำลายผิวหรือซึมตกค้างในเนื้อ Insulation และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม) กระบวนการป้องกันผลกระทบรอบข้างในระหว่างการฉีดล้างทำความสะอาด การดำเนินการเลือกใช้ Material ที่ถูกต้องตาม Spect กระบวนการซ่อมแซมที่ถูกต้องตาม Work Instruction พร้อมทั้งกระบวนการ Inspect หลังจากการซ่อมแก้ไขแล้วเสร็จ

  • การตรวจสอบ Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ด้วยอุปกรณ์ Borescope GIV และ RIV ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยจะดำเนินการเลือกใช้ขนาดของ Robot ให้ตรงตามขนาด Gap ของ Stator Rotor และส่งเข้าไปดำเนินการการตรวจสอบ Stator

  • การดำเนินการอบฉนวน ไล่ความชื้น Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ประกอบด้วยการดำเนินการภายใต้กฎความปลอดภัย การดำเนินการห่อหุ้มและปิดกั้นบริเวณที่จะทำการอบฉนวน (ผลกระทบจากความร้อนหรือสนามแม่เหล็ก) ทำการติดตามและตรวจวัดค่าการอบ การให้ความรู้ในการระงับเหตุจากความร้อนหรือเพลิงใหม้ หากเกิดความผิดปกติระหว่างการอบ

  • การดำเนินการตรวจสอบและทดสอบ Pre-test/Post-test ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยดำเนินการการปิดกั้นบริเวณพร้อมป้ายแจ้งเตือน และผู้เฝ้าระวังระหว่างการทดสอบ ปฏิบัติตามมาตรฐานการทดสอบและความปลอดภัยด้านไฟฟ้า ข้อกำหนดความปลอดภัยของอุปกรณ์และค่าควรระวังสำหรับการทดสอบทางด้านไฟฟ้า



2ตรวจสอบและทดสอบ Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า




  • การตรวจสอบ ทำความสะอาด และซ่อมแซม Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยจะดำเนินการเลือกใช้สารเคมีที่เหมาะสมกับการใช้ทำความสะอาดที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ (ไม่ทำลายผิวหรือซึมตกค้างในเนื้อ Insulation และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม) กระบวนการป้องกันผลกระทบรอบข้างในระหว่างการฉีดล้างทำความสะอาด การดำเนินการเลือกใช้ Material ที่ถูกต้องตาม Spect กระบวนการซ่อมแซมที่ถูกต้องตาม Work Instruction พร้อมทั้งกระบวนการ Inspect หลังจากการซ่อมแก้ไขแล้วเสร็จ

  • การตรวจสอบ Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ด้วยอุปกรณ์ Borescope GIV และ RIV ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยจะดำเนินการเลือกใช้ขนาดของ Robot ให้ตรงตามขนาด Gap ของ Stator Rotor และส่งเข้าไปดำเนินการการตรวจสอบ Rotor

  • การดำเนินการอบฉนวน ไล่ความชื้น Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ประกอบด้วยการดำเนินการภายใต้กฎความปลอดภัย การดำเนินการห่อหุ้มและปิดกั้นบริเวณที่จะทำการอบฉนวน (ผลกระทบจากความร้อนหรือสนามแม่เหล็ก) ทำการติดตามและตรวจวัดค่าการอบ การให้ความรู้ในการระงับเหตุจากความร้อนหรือเพลิงใหม้ หากเกิดความผิดปกติระหว่างการอบ

  • การดำเนินการตรวจสอบและทดสอบ Pre-test/Post-test ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยดำเนินการการปิดกั้นบริเวณพร้อมป้ายแจ้งเตือน และผู้เฝ้าระวังระหว่างการทดสอบ ปฏิบัติตามมาตรฐานการทดสอบและความปลอดภัยด้านไฟฟ้า ข้อกำหนดความปลอดภัยของอุปกรณ์และค่าควรระวังสำหรับการทดสอบทางด้านไฟฟ้า



3. ตรวจสอบและทดสอบชุดกระตุ้น (Exciter)




  • การถอดและประกอบเครื่องกระตุ้น (exciter) ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยจะดำเนินการเลือกใช้เครื่องมือในการปลดอุปกรณ์หลักและอุปกรณ์ประกอบ (ประแจชุด ประแจ Torque) และชุดอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับยก ชุด Exciter พร้อมการจัดเตรียมพื้นที่จัดวางสำหรับการบำรุงรักษา พร้อมเครื่องห่อหุ้ม

  • การตรวจสอบ ทำความสะอาดและซ่อมแซม เครื่องกระตุ้น (Exciter) ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย เช่น การเลือกใช้สารเคมีที่เหมาะสมกับการใช้ทำความสะอาดที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ (ไม่ทำลายผิวหรือซึมตกค้างในเนื้อ Insulation และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม) กระบวนการป้องกันผลกระทบรอบข้างในระหว่างการฉีดล้างทำความสะอาด

  • การตรวจสอบ ทำความสะอาดและซ่อมแซม สลิปริง (Slip Ring) ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยจะดำเนินการเตรียมผ้าใบสำหรับรองรับเศษผงที่เกิดจาการทำความสะอาดและการปรับแต่งผิวหน้า (วัสดุที่ใช้ขัดผิวหน้าและวิธีกระบวนการขัดผิวหน้าต้องเป็นไปตามที่กำหนด

  • การตรวจสอบและทำความสะอาดแปรงถ่าน ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยจะดำเนินการตรวจสอบระยะใช้งาน (ความสั้น ยาว ของแปรงถ่าน) วิธีการปาดผิวหน้าแปรงถ่าน ความรู้เรื่องวัสดุของแปรงถ่าน

  • การตรวจสอบและทดสอบ Pre-test/Post-test ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยจะดำเนินการปิดกั้นบริเวณพร้อมป้ายแจ้งเตือน และผู้เฝ้าระวังระหว่างการทดสอบ มาตรฐานการทดสอบและความปลอดภัยด้านไฟฟ้า ข้อกำหนดความปลอดภัยของอุปกรณ์และค่าควรระวังสำหรับการทดสอบทางด้านไฟฟ้า



4. บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า




  • การตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นจากเครื่องมือวัดและระบบการบันทึกข้อมูล  (Event Recorder) โดยจะดำเนินการนำผลที่ได้จากการวัด (ครื่องมือวัดทั่วไป และเครื่องมือวัดพิเศษ) ทั้งในส่วนที่เป็นการวัดและบันทึกแบบ Online และ Offline มาทำการแปลผลวิเคราะห์และประเมินสภาพอายุการใช้งานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตลอดจนการนำข้อมูลจากความผิดปกติในระหว่างการเดินเครื่องของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า การทดสอบทางด้านไฟฟ้าในระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) มาประกอบการพิจารณา และสรุปข้อมูลเพื่อการวางแผนการการบำรุงรักษาหรือการซ่อมแก้ไขเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในอนาคต ได้อย่างถูกต้อง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1.  



18.1 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบและทดสอบ Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



    1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การตรวจสอบและทดสอบ Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



    2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การตรวจสอบและทดสอบ Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



    3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบและทดสอบ Stator ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์



18.2 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบและทดสอบ Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



    1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การตรวจสอบและทดสอบ Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



    2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การตรวจสอบและทดสอบ Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



    3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบและทดสอบ Rotor ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์



18.3 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบและทดสอบเครื่องกระตุ้น (Exciter)



    1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การตรวจสอบและทดสอบเครื่องกระตุ้น (Exciter)



    2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การตรวจสอบและทดสอบเครื่องกระตุ้น (Exciter)



     3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบและทดสอบเครื่องกระตุ้น (Exciter) โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์



18.4 เครื่องมือประเมิน บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า



     1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า



     2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า



     3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ