หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

นำเสนอแผนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EGS-5-220ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ นำเสนอแผนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

        อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า ระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถเสนอแผนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า โดยการประเมินสมรรถนะ สภาพ วิเคราะห์ผลกระทบหากมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ และดำเนินการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ สรุปผลและรายงานผล จัดทำแบบและคู่มือการทำงานหลังการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ประกาศโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง การส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง (Continuous Emission Monitoring System : CEMS) พ.ศ. 2550 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. 2552 กฎกระทรวงกำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. 2550 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ข้อกำหนดการสอบเทียบเครื่องมือวัด

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-MC05-5-004-01 นำเสนอแผนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า

1. ประเมินสมรรถนะและสภาพของอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้าในระบบผลิตไฟฟ้า

PGS-MC05-5-004-01.01 151915
PGS-MC05-5-004-01 นำเสนอแผนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า

2. วิเคราะห์ผลกระทบหากปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้าในระบบผลิตไฟฟ้า

PGS-MC05-5-004-01.02 151916
PGS-MC05-5-004-01 นำเสนอแผนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า

3. นำเสนอการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า

PGS-MC05-5-004-01.03 151917
PGS-MC05-5-004-01 นำเสนอแผนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า

4. ดำเนินการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า

PGS-MC05-5-004-01.04 151918
PGS-MC05-5-004-01 นำเสนอแผนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า

4. สรุปผลและรายงานผลการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า

PGS-MC05-5-004-01.05 151919
PGS-MC05-5-004-02 จัดทำแบบทางไฟฟ้าและคู่มือการทำงานหลังการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า

1. จัดทำร่างแบบและคู่มือการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้าที่ปรับเปลี่ยน

PGS-MC05-5-004-02.01 151920
PGS-MC05-5-004-02 จัดทำแบบทางไฟฟ้าและคู่มือการทำงานหลังการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า

2. นำเสนอร่างแบบและคู่มือการทำงาน

PGS-MC05-5-004-02.02 151921

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)




  1. ทักษะด้านการบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า

  2. ทักษะการเขียนแบบไฟฟ้า เช่น Visio, AutoCad เป็นต้น

  3. ทักษะการประเมินและวิเคราะห์ผล

  4. ทักษะการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน

  5. การวิเคราะห์สาเหตุ และกำหนดแนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้าต่าง ๆ

  6. ทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ



ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)




  1. ทักษะการนำเสนองาน

  2. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า

  2. วิธีการใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษา

  3. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษาในการปฏิบัติงาน

  4. การจัดการและการวางแผนการบำรุงรักษา

  5. การวางแผนการผลิตและบำรุงรักษา

  6. คำศัทพ์ภาษาอังกฤษทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ





  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)




  2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)




  3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)




  4. หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม




  5. หลักฐานการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า





(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ





  1. หลักฐานการศึกษา




  2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)




  3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)




  4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี) 




  5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)





(ค) คำแนะนำในการประเมิน



       ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน check-list รายการ



(ง) วิธีการประเมิน



      1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ



      2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

        ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการนำเสนอแผนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า และจัดทำแบบและคู่มือการทำงานหลังการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า



(ก) คำแนะนำ



        ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้าและจัดทำคู่มือการทำงานหลังการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า โดยต้องทราบถึงหลักของการดำเนินการของงานบำรุงรักษาดังกล่าว



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. นำเสนอแผนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า โดยการประเมินสมรรถนะและสภาพของอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า เช่น อุปกรณ์ที่ Obsolete, อุปกรณ์ที่พังเสียหายจนไม่สามารถซ่อมได้

  2. วิเคราะห์ผลกระทบในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า โดยเริ่มจากการตรวจสอบคลังอุปกรณ์ว่ามี spare parts และหากต้องสั่งจากต่างประเทศจะต้องใช้ระยะเวลานาน หากมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์จะส่งผลกระทบต่อการผลิตหรือไม่ อย่างไร

  3. จัดทำแบบและคู่มือการทำงานหลังการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า เป็นการจัดทำร่างแบบและคู่มือการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้าที่ได้ปรับเปลี่ยน โดยหลังจากจัดทำร่างแบบแล้วจะต้องนำเสนอร่างแบบและคู่มือการทำงานต่อหัวหน้างานเพื่อขอรับการอนุมัติแบบและคู่มือ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1.  



18.1 เครื่องมือประเมิน เสนอแผนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า



       1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การเสนอแผนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า



       2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การเสนอแผนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า



       3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเสนอแผนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า



18.2 เครื่องมือประเมิน จัดทำแบบและคู่มือการทำงานหลังการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า



      1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การจัดทำแบบและคู่มือการทำงานหลังการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า



      2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การจัดทำแบบและคู่มือการทำงานหลังการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า



      3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการจัดทำแบบและคู่มือการทำงานหลังการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า



ยินดีต้อนรับ