หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EGS-6-102ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานวางแผนการผลิตและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า ระดับ 6



1219 ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายบำรุงรักษา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
             ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถวางแผนการผลิตและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า ตรวจสอบคู่มือการใช้งานและบำรุงรักษาอุปกรณ์ ตรวจสอบและกำหนดช่วงเวลาและกิจกรรมการบำรุงรักษา จัดทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน แผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ และแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระตลอดอายุโรงไฟฟ้า ส่งแผนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสรุปข้อเสนอแนะในการบำรุงรักษา และปรับปรุงแผนตามข้อเสนอแนะ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ข้อกำหนดในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ข้อกำหนดในสัญญาประกันภัย ข้อกำหนดในสัญญางานบริการบำรุงรักษา

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-MC01-6-001-01 จัดทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) 1. อ่านคู่มืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์โรงไฟฟ้า พร้อมทั้งรายละเอียดทางด้าน Drawing PGS-MC01-6-001-01.01 133437
PGS-MC01-6-001-01 จัดทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) 2. ตรวจสอบรายการตามรหัสอุปกรณ์ (Equipment list) สำหรับงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน PGS-MC01-6-001-01.02 133438
PGS-MC01-6-001-01 จัดทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) 3. ตรวจสอบและกำหนดกิจกรรมงานบำรุงรักษาตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ในคู่มือ เพื่อใช้ในการจัดทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกันหลัก (PM Master Plan) PGS-MC01-6-001-01.03 133439
PGS-MC01-6-001-01 จัดทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) 4. จัดทำ (PM Master Plan) 52 Weeks schedule เพื่อจัดการด้านกำลังคน PGS-MC01-6-001-01.04 133440
PGS-MC01-6-001-01 จัดทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) 5. สำรวจและสรุปข้อเสนอแนะในการบำรุงรักษาเชิงป้องกันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง PGS-MC01-6-001-01.05 133441
PGS-MC01-6-001-01 จัดทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) 6. จัดทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกันหลัก (Preventive Maintenance Master Plan) ตลอดทั้งปีเป็นรายสัปดาห์ (Weekly) PGS-MC01-6-001-01.06 133442
PGS-MC01-6-001-01 จัดทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) 7. จัดทำแผนการสลับลำดับการทำงานของอุปกรณ์เป็นรายสัปดาห์ (Weekly) ให้กับหน่วยงานเดินเครื่อง PGS-MC01-6-001-01.07 133443
PGS-MC01-6-001-01 จัดทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) 8. บันทึกแผนและข้อมูลบำรุงรักษาเชิงป้องกันหลักในระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS) PGS-MC01-6-001-01.08 133444
PGS-MC01-6-001-01 จัดทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) 9. สรุปและรายงานผลการจัดทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน PGS-MC01-6-001-01.09 133445
PGS-MC01-6-001-02 จัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) 1. อธิบายและตรวจสอบขอบข่ายของสัญญาซ่อมบำรุงใหญ่ (Major Maintenance Agreement: MMA) PGS-MC01-6-001-02.01 133446
PGS-MC01-6-001-02 จัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) 2. ตรวจสอบแผน Equipvalent operating hour (EOH) แผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระตลอดอายุโรงไฟฟ้า และแผน PGS-MC01-6-001-02.02 133447
PGS-MC01-6-001-02 จัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) 3. จัดทำ Planned Outage Management Milestone และ Plant key date PGS-MC01-6-001-02.03 133448
PGS-MC01-6-001-02 จัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) 4. กำกับการดำเนินกิจกรรม ให้เป็นไปตาม Plant key date PGS-MC01-6-001-02.04 133449
PGS-MC01-6-001-02 จัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) 5. จัดทำรายการกิจกรรมและอุปกรณ์ที่จะตรวจสอบ (Work list) และจัดเตรียมรายการชิ้นส่วนอะไหล่ (Spare Part List) ในการบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ PGS-MC01-6-001-02.05 133450
PGS-MC01-6-001-02 จัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) 6. ส่งแผนเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ เพื่อจัดทำเป็นตารางการทำงาน (Work Schedule) PGS-MC01-6-001-02.06 133451
PGS-MC01-6-001-02 จัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) 7. ปรับปรุงแผนตามข้อเสนอแนะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้วนำแผนงานมาจัดทำเป็นใบงาน (Work order) และ Safety Plan PGS-MC01-6-001-02.07 133452
PGS-MC01-6-001-02 จัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) 8. กำกับและดำเนินกิจกรรมตาม Plant key date ที่ได้กำหนดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง PGS-MC01-6-001-02.08 133453
PGS-MC01-6-001-02 จัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) 9. สรุปและรายงานผลการจัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ PGS-MC01-6-001-02.09 133454
PGS-MC01-6-001-03 จัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ตลอดอายุโรงไฟฟ้า 1. ตรวจสอบรายการตามรหัสอุปกรณ์ (Equipment list) สำหรับการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน PGS-MC01-6-001-03.01 133455
PGS-MC01-6-001-03 จัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ตลอดอายุโรงไฟฟ้า 2. ตรวจสอบคู่มือการใช้งานและบำรุงรักษาอุปกรณ์ พร้อมทั้งรายละเอียดทางด้าน Drawing PGS-MC01-6-001-03.02 133456
PGS-MC01-6-001-03 จัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ตลอดอายุโรงไฟฟ้า 3. รวบรวมกิจกรรมงานและจัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระตลอดอายุโรงไฟฟ้า PGS-MC01-6-001-03.03 133457
PGS-MC01-6-001-03 จัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ตลอดอายุโรงไฟฟ้า 4. จัดทำรายการชิ้นส่วนอะไหล่ (Spare Part list) ให้สอดคล้องกับแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระตลอดอายุโรงไฟฟ้า PGS-MC01-6-001-03.04 133458
PGS-MC01-6-001-03 จัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ตลอดอายุโรงไฟฟ้า 5. นำรายการชิ้นส่วนอะไหล่ (Spare Part list) เชื่อมกับฐานข้อมูลคลังพัสดุ และการจัดหาโดยใช้ระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS) PGS-MC01-6-001-03.05 133459
PGS-MC01-6-001-03 จัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ตลอดอายุโรงไฟฟ้า 6. สำรวจและสรุปข้อเสนอแนะในแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระตลอดอายุโรงไฟฟ้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง PGS-MC01-6-001-03.06 133460
PGS-MC01-6-001-03 จัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ตลอดอายุโรงไฟฟ้า 7. สรุปและรายงานผลการจัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระตลอดอายุโรงไฟฟ้า PGS-MC01-6-001-03.07 133461

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)




  1. ทักษะอ่านแบบทางไฟฟ้า ทางกล และ Piping and Instrumentation Diagram P:&ID ที่เกี่ยวกับโรงไฟฟ้า

  2. ทักษะการจัดทำแผน เช่น แผนบำรุงรักษาเชิงป้องกันหลัก (PM Master Plan), PM Master Plan, แผนการสลับลำดับการทำงานของอุปกรณ์เป็นรายสัปดาห์, Planned Outage Management Milestone และ Plant key date และแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระตลอดอายุโรงไฟฟ้า เป็นต้น

  3. ทักษะการอ่านและวิเคราะห์แผน เช่น แผน Equipvalent operating hour (EOH) แผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระตลอดอายุโรงไฟฟ้า และแผนบำรุงรักษาทั้งระยะสั้นและระยะยาว เป็นต้น

  4. ทักษะในการบริหาร เช่น การบริหารจัดการคลังพัสดุ การจัดสรรทรัพยากรในงานบำรุงรักษา การบริหารจัดการวัสดุสิ้นเปลือง (consumable materaials) และ Special Tools เป็นต้น

  5. ทักษะการอ่านสัญญา เช่น สัญญาบริหารจัดการงานบำรุงรักษา

  6. ทักษะการใช้งานระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS)

  7. ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน



ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)




  1. ทักษะการติดต่อประสานงาน

  2. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

  3. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

  4. ทักษะการแก้ปัญหา

  5. ทักษะการควบคุมงาน

  6. ทักษะการสอนงานผู้ใต้บังคับบัญชา

  7. ทักษะความเป็นผู้นำ (Leadership)

  8. ทักษะการเจรจาต่อรอง (Negotiation)

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ระบบผลิตไฟฟ้าโรงไฟฟ้า

  2. การบำรุงรักษาอุปกรณ์โรงไฟฟ้า

  3. สัญญางานบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าจากหน่วยงานภายนอก เช่น สัญญาซ่อมบำรุงใหญ่ (Major Maintenance Agreement : MMA) สัญญาการให้บริการงานบำรุงรักษาระยะยาว (Long Term Service Agreement : LTSA) เป็นต้น

  4. สัญญา Power purchase agreement (PPA)

  5. ข้อกำหนดการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Code)

  6. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้งานระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS)

  7. คำศัทพ์ภาษาอังกฤษทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)



2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)



3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)



4. หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม



5. หลักฐานการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ



1. หลักฐานการศึกษา



2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)



3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)



4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี) 



5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



                    ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงในรายการตรวจสอบ (Check list)



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ



2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะ  การวางแผนการผลิตและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า 



 (ก) คำแนะนำ



       ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องวางแผนการผลิตและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า โดยต้องทราบถึงแนวทางของการดำเนินการของการวางแผนการผลิตและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าในแต่ละแผนที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนบำรุงรักษาเชิงป้องกันหลัก (PM Master Plan), PM Master Plan, แผนการสลับลำดับการทำงานของอุปกรณ์เป็นรายสัปดาห์, Planned Outage Management Milestone และ Plant key date, แผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระตลอดอายุโรงไฟฟ้า เป็นต้น



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



      สัญญาที่เกี่ยวข้องกับงานวางแผนการผลิตและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า




  1. สัญญาซ่อมบำรุงใหญ่ (Major Maintenance Agreement: MMA) เป็นสัญญาที่เกี่ยวข้องกับงานซ่อมบำรุง โดยนำข้อมูลจาก EOH, ดำเนินการสอดคล้องตามสัญญา PPA

  2. สัญญา Power purchase agreement (PPA) เป็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างโรงไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)



     แผนการทำงานที่เกี่ยวข้องในหน่วยสมรรถนะนี้




  1. แผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน Preventive Maintenance (PM) คือการดำเนินการกิจกรรมซ่อมบำรุงตามกำหนดเวลาก่อนที่เครื่องจักรจะเกิดชำรุด คือการจัดทำ (PM Master Plan) 52 Weeks schedule

  2. แผน Equipvalent operating hour (EOH) หมายถึง ชั่วโมงการเดินเครื่องตามที่บริษัทผู้ผลิตได้กำหนดไว้ เช่น ในแต่ละรายอุปกรณ์ของการบำรุงรักษาจะกำหนดชั่วโมงในการทำงานของแต่ละอุปกรณ์ เพื่อบำรุงรักษาตามวาระของอุปกรณ์, เป็นข้อมูลประกอบในการจัดทำแผนตามสัญญา MMA

  3. แผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) คือการจัดทำแผนตามสัญญา MMA และแผน EOH

  4. แผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระตลอดอายุโรงไฟฟ้า  เช่น โรงไฟฟ้าทำสัญญาว่าจะจ่ายไฟ 25 ปี แผนนี้ก็จะมีระยะเวลา 25 ปี

  5. แผนการสลับลำดับการทำงานของอุปกรณ์เป็นรายสัปดาห์ (Weekly) เป็นการกำหนดแผนร่วมกันระหว่างหน่วยงานวางแผนและหน่วยงานบำรุงรักษา หลังจากนั้นจะนำแผนเข้าระบบ CMMS เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานเดินเครื่อง และหน่วยงานบำรุงรักษา ปฏิบัติตามแผน โดยจะต้องดำเนินการสลับลำดับการทำงานร่วมกันตามที่กำหนดไว้ในแผน

  6. คู่มืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในงานบำรุงรักษาอุปกรณ์โรงไฟฟ้า เช่น Work Instruction, แบบ Drawing, คู่มือของบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์นั้นๆ เป็นต้น

  7. แผนบำรุงรักษาเชิงป้องกันหลัก (PM Master Plan) เช่น แผนตามงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage), แผนย่อยจากสัญญา MMA


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
  N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
  N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน จัดทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน Preventive Maintenance (PM)




  1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เช่น หลักฐานการทำงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน Preventive Maintenance (PM)

  2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการจัดทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน Preventive Maintenance (PM)



18.2 เครื่องมือประเมิน จัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage)




  1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เช่น หลักฐานการทำงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage)

  2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการจัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage)



18.3 เครื่องมือประเมิน จัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระตลอดอายุโรงไฟฟ้า




  1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เช่น หลักฐานการทำงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระตลอดอายุโรงไฟฟ้า

  2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการจัดทำแผนบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระตลอดอายุโรงไฟฟ้า



ยินดีต้อนรับ