หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าในห้องปฏิบัติการ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EGS-5-097ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าในห้องปฏิบัติการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานเคมีโรงไฟฟ้า ระดับ 5



ISCO-08 3111 พนักงานประจำห้องปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
           ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าในห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีการเก็บตัวอย่างน้ำจากระบบต่างๆ เข้าสู่ห้องปฏิบิตการ เพื่อทดสอบคุณภาพน้ำของระบบผลิตน้ำใส ระบบน้ำหล่อเย็น  ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์และระบบน้ำหม้อไอน้ำ ในการทดสอบคุณภาพน้ำในทางกายภาพ เช่น วัดค่า pH  Conductivity Turbidity หรือด้วยวิธีการไตเตรต เพื่อหาค่า Total hardness, Ca-Hardness Alkalinity,  Free mineral Acid เป็นต้น  หรือด้วยวิธีทาง Spectroscopy เพื่อหาค่า Iron Chloride Sulfate Phosphate  Silica มีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการวิเคราะห์ทดสอบ สามารถตรวจหาสอบย้อนที่มาของความผิดปกติของค่าที่ได้ และการทดสอบที่เรียกว่า Jar Test สำหรับการหาปริมาณสารเคมีช่วยตกตะกอนที่เหมาะสมในระบบผลิตน้ำใส รวมทั้งการตรวจสอบความถูกต้อง การถ่ายโอนของการลงผลการทดสอบ วางแผนบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ โดยการสอบเทียบหรือทวนสอบอย่างเหมาะสม ให้สามารถใช้เครื่องมือตรวจวัดได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ นอกจากนี้ต้องสามารถบริหาร จัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ให้ครอบคลุมถึงการประเมินความเสี่ยงทั้งภารกิจงานและพื้นที่ทำงาน มีการทบทวนกฏระเบียบในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง และวางแผนการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในกับผู้ปฏิบัติงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-OC04-5-003-01 ควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าของระบบผลิตน้ำใสและระบบน้ำหล่อเย็น 1. ควบคุมการทดสอบคุณภาพน้ำด้วยวิธีทางกายภาพ PGS-OC04-5-003-01.01 133396
PGS-OC04-5-003-01 ควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าของระบบผลิตน้ำใสและระบบน้ำหล่อเย็น 2. ควบคุมการทดสอบคุณภาพน้ำด้วยวิธีการไตเตรต PGS-OC04-5-003-01.02 133397
PGS-OC04-5-003-01 ควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าของระบบผลิตน้ำใสและระบบน้ำหล่อเย็น 3. ควบคุมการทดสอบคุณภาพน้ำด้วยวิธีทางสเปคโตรสโคปี PGS-OC04-5-003-01.03 133398
PGS-OC04-5-003-01 ควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าของระบบผลิตน้ำใสและระบบน้ำหล่อเย็น 4. ตรวจสอบขั้นตอนการทดสอบด้วยวิธี Jar Test PGS-OC04-5-003-01.04 133399
PGS-OC04-5-003-01 ควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าของระบบผลิตน้ำใสและระบบน้ำหล่อเย็น 5. ตรวจสอบความถูกต้องรายงานผลการทดสอบ PGS-OC04-5-003-01.05 133400
PGS-OC04-5-003-02 ควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์และระบบหม้อไอน้ำ 1. ควบคุมการทดสอบคุณภาพน้ำด้วยวิธีทางกายภาพ PGS-OC04-5-003-02.01 133403
PGS-OC04-5-003-02 ควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์และระบบหม้อไอน้ำ 2. ควบคุมการทดสอบคุณภาพน้ำด้วยวิธีการไตเตรต Free Mineral Acid (FMA) PGS-OC04-5-003-02.02 133404
PGS-OC04-5-003-02 ควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์และระบบหม้อไอน้ำ 3. ควบคุมการทดสอบคุณภาพน้ำด้วยวิธีทางสเปคโตรสโคปี PGS-OC04-5-003-02.03 133405
PGS-OC04-5-003-02 ควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์และระบบหม้อไอน้ำ 4 .ตรวจสอบความถูกต้องรายงานผลการทดสอบ PGS-OC04-5-003-02.04 133406
PGS-OC04-5-003-03 วางแผนบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ 1. วางแผนทวนสอบหรือสอบเทียบเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ PGS-OC04-5-003-03.01 133411
PGS-OC04-5-003-03 วางแผนบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ 2.ตรวจสอบและทบทวนข้อมูลเครื่องมือในห้องปฏิบัติการให้ทันสมัย PGS-OC04-5-003-03.02 133412
PGS-OC04-5-003-03 วางแผนบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ 3. ควบคุมดูแลการจัดทำ Pre-use เครื่องมือ PGS-OC04-5-003-03.03 133413
PGS-OC04-5-003-04 จัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ 1. วิเคราะห์ความเสี่ยงในการทำงาน ความเสี่ยงพื้นที่ปฏิบัติงาน พร้อมวางมาตรการแก้ไข และกำหนดซ้อมแผนฉุกเฉิน PGS-OC04-5-003-04.01 133414
PGS-OC04-5-003-04 จัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ 2. จัดทำ ทบทวน และสื่อสารกฏเฉพาะงาน กฏเฉพาะพื้นที่ในการปฏิบัติงาน PGS-OC04-5-003-04.02 133415
PGS-OC04-5-003-04 จัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ 3. ติดตามตรวจสอบการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม PGS-OC04-5-003-04.03 133416

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการสังเกตสิ่งผิดปกติ

  2. ทักษะการสื่อสาร

  3. ทักษาะการอ่าน เขียนและสรุปความ : เขียนรายงาน สรุปผลการวิเคราะห์

  4. ทักษะการใช้อุปกรณ์ในห้องปฎิบัติการ



- การใช้ชุดอุปรณ์ Jar Test



- การใช้อุปกรณ์เครื่องมือ เช่น  pH meter  Conductivity meter  Turbidity meter  Titrator  และ Spectrophotometer 



- การใช้อุปกรณ์ เครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการ เพื่อการชั่ง ตวง เจือจาง ดูด-จ่ายและถ่ายโอน




  1. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเชิงเทคนิคเพื่อการสื่อสาร

  2. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับเคมีพื้นฐาน และ เคมีวิเคราะห์

  2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ เครื่องแก้ว เครื่องมือวิทยาศตร์พื้นฐานในห้องปฏิบัติการ

  3. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการวิเคราะห์ทดสอบ แต่ละรายการ

  4. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคุณสมบัติและกลไกการทำงานของสารเคมีที่ใช้ในในระบบน้ำโรงไฟฟ้า

  5. ความรู้เกี่ยวกับการใช้ค่าทางสถิติพื้นฐานสำหรับงานวิเคราะห์ทดสอบทางเคมี

  6. ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีและเทคโนโลยีที่ใช้ในกระบวนการระบบผลิตน้ำบริสุทธิ

  7. ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดและมาตรฐานระบบงานคุณภาพสำหรับห้องปฏิบัติการ

  8. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานวิธีการทดสอบจากมาตรฐานสากลอ้างอิง

  9. ความรู้ด้านความปลอดภัย การใช้สัญญลักษณ์ในห้องปฏิบิตการ

  10. ความรู้เกี่ยวกับภาษาเทคนิคที่ใช้ในการทำงานมีความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรม เช่น โปรแกรมเอกสารและโปรแกรมเฉพาะด้าน เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ





  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)




  2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)




  3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)




  4. หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม




  5. หลักฐานการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า





(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ





  1. หลักฐานการศึกษา




  2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)




  3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)




  4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี) 




  5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)





(ค) คำแนะนำในการประเมิน



      ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงในรายการตรวจสอบ (Check list)



(ง) วิธีการประเมิน



    1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ



    2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

       ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะ  ควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าในห้องปฏิบัติการ



 (ก) คำแนะนำ



       ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าในห้องปฏิบัติการ โดยต้องทราบถึงแนวทางของการดำเนินการควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าของระบบผลิตน้ำใส ระบบน้ำหล่อเย็น ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์และระบบหม้อไอน้ำ วางแผนบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ จัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. วิธีทางกายภาพ



1.1 คุณภาพน้ำทางกายภาพในระบบผลิตน้ำใสและระบบน้ำหล่อเย็น หมายถึง รายการ pH, Conductivity, Turbidity



1.2 คุณภาพน้ำทางกายภาพในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์และระบบหม้อไอน้ำ หมายถึง รายการ pH, Conductivity, Silt Density Index (SDI)




  1. วิธีไตเตรต หมายถึง  เทคนิคการหาปริมาณของสารละลายมาตรฐานที่รู้ค่าความเข้มข้นแน่นอน ที่ทำปฏิกริยาพอดีกับสารละลายตัวอื่นๆที่รู้ค่าปริมาตร แต่ไม่รู้ค่าความเข้มข้น  เพือคำนวณหาค่าความเข้มข้น



2.1 คุณภาพน้ำด้วยวิธีไตเตรตในระบบผลิตน้ำใสและระบบน้ำหล่อเย็น หมายถึง รายการ Total Hardness, Calcium, Magnesium, Alkalinity, Chloride



2.2 คุณภาพน้ำด้วยวิธีไตเตรตในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์และระบบหม้อไอน้ำ หมายถึง รายการ Free Mineral Acid (FMA)




  1. วิธีทางสเปคโตรสโคปี หมายถึง เทคนิคที่ใช้ในการตรวจวัด ความเข้มแสงในช่วง UV และช่วงแสงขาว ที่ทะลุผ่าน หรือถูกดูดกลืน โดยตัวอย่างน้ำที่เตรียมและวางไว้ให้แสงผ่าน โดยการเลือกความยาวคลื่นที่เหมาะสม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับปริมาณและชนิดของสาร ที่อยู่ในตัวอย่าง สามารถใช้ในการหาความเข้มข้นของสารที่ต้องการได้ โดยเทียบกับ กราฟของสารละลายมาตรฐานของสารที่ค่าความเข้มข้นต่างๆ



3.1 คุณภาพน้ำด้วยวิธีทางสเปคโตรสโคปีในระบบผลิตน้ำใสและระบบน้ำหล่อเย็น หมายถึง รายการ  Iron, Sulfate, Phosphate, Silica



3.2 คุณภาพน้ำด้วยวิธีทางสเปคโตรสโคปีในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์และระบบหม้อไอน้ำ หมายถึง รายการ  Iron, Sulfate, Phosphate, Silica, Ammonia, Dissolved Oxygen


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
  N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
  N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1.  



18.1 เครื่องมือประเมิน ควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าของระบบผลิตน้ำใสและระบบน้ำหล่อเย็น




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าของระบบผลิตน้ำใสและระบบน้ำหล่อเย็น

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าของระบบผลิตน้ำใสและระบบน้ำหล่อเย็น

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการการควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าของระบบผลิตน้ำใสและระบบน้ำหล่อเย็น



18.2 เครื่องมือประเมิน ควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์และระบบหม้อไอน้ำ




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์และระบบหม้อไอน้ำ

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์และระบบหม้อไอน้ำ

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมงานทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์และระบบหม้อไอน้ำ



18.3 เครื่องมือประเมิน วางแผนบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การวางแผนบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การวางแผนบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการวางแผนบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ



18.4 เครื่องมือประเมิน จัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ



ยินดีต้อนรับ