หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบน้ำโรงไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EGS-5-096ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบน้ำโรงไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานเคมีโรงไฟฟ้า ระดับ 5



ISCO-08 3111 พนักงานประจำห้องปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถวิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบผลิตน้ำที่สำคัญของโรงไฟฟ้า ประกอบด้วย ระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหล่อเย็น และระบบน้ำหม้อน้ำ โดยสามารถวางแผนการเก็บและทดสอบตัวอย่างน้ำเพื่อสามารถควบคุมระบบผลิตน้ำของโรงไฟฟ้าได้ ตลอดจนแปรผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและวิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบผลิตน้ำของโรงไฟฟ้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-OC04-5-002-01 วิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบผลิตน้ำใส 1. วางแผนการเก็บและทดสอบตัวอย่างน้ำเพื่อควบคุมกระบวนการผลิตน้ำใสได้ PGS-OC04-5-002-01.01 133305
PGS-OC04-5-002-01 วิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบผลิตน้ำใส 2. แปรผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำของระบบผลิตน้ำใส PGS-OC04-5-002-01.02 133306
PGS-OC04-5-002-01 วิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบผลิตน้ำใส 3. วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ไขของระบบผลิตน้ำใส PGS-OC04-5-002-01.03 133307
PGS-OC04-5-002-02 วิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ 1. วางแผนการเก็บและทดสอบตัวอย่างน้ำเพื่อควบคุมกระบวนการผลิตน้ำบริสุทธิ์ได้ PGS-OC04-5-002-02.01 133314
PGS-OC04-5-002-02 วิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ 2. แปรผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ PGS-OC04-5-002-02.02 133315
PGS-OC04-5-002-02 วิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ 3. วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ไขคุณภาพน้ำของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ PGS-OC04-5-002-02.03 133316
PGS-OC04-5-002-03 วิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบน้ำหล่อเย็น 1. วางแผนการเก็บและทดสอบตัวอย่างน้ำเพื่อควบคุมคุณภาพน้ำของระบบน้ำหล่อเย็นได้ PGS-OC04-5-002-03.01 133322
PGS-OC04-5-002-03 วิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบน้ำหล่อเย็น 2. แปรผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำของระบบน้ำหล่อเย็น PGS-OC04-5-002-03.02 133323
PGS-OC04-5-002-03 วิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบน้ำหล่อเย็น 3. วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ไขคุณภาพน้ำของระบบน้ำหล่อเย็น PGS-OC04-5-002-03.03 133324
PGS-OC04-5-002-04 วิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบน้ำหม้อไอน้ำ 1. วางแผนการเก็บและทดสอบตัวอย่างน้ำเพื่อควบคุมคุณภาพน้ำของระบบน้ำหม้อไอน้ำได้ PGS-OC04-5-002-04.01 133325
PGS-OC04-5-002-04 วิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบน้ำหม้อไอน้ำ 2. แปรผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำของระบบผลิตน้ำหม้อไอน้ำ PGS-OC04-5-002-04.02 133326
PGS-OC04-5-002-04 วิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบน้ำหม้อไอน้ำ 3. วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ไขคุณภาพน้ำของระบบน้ำหม้อไอน้ำ PGS-OC04-5-002-04.03 133327

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการสังเกตสิ่งผิดปกติ เนื่องจากระบบผลิตน้ำของโรงไฟฟ้ามีความละเอียด และซับซ้อน หากผู้ปฏิบัติงานมีทักษะด้านนี้ ปัญหาการทำงานของระบบผลิตน้ำจะลดลง หรือสามารถแก้ไขได้ก่อนที่จะเป็นปัญหาใหญ่

  2. ทักษะการเขียนรายงาน สรุปผลการวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ด้วยภาษาไทยที่เข้าใจได้ง่ายและชัดเจน

  3. ทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐานในห้องปฏิบัติการ

  4. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเชิงเทคนิคเพื่อการสื่อสาร

  5. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ทั้งแบบ Conventional และ Membrane Technology

  2. มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานของระบบหล่อเย็น และอุปกรณ์ถ่ายเทความร้อน

  3. มีความรู้ด้านหลักการทำงานของหม้อไอน้ำ ปัญหาการกัดกร่อน หรือ Tube Failure ของระบบน้ำหม้อไอน้ำ

  4. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการ Startup และ Shutdown อุปกรณ์

  5. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานของระบบเชื้อเพลิงในกระบวนการเดินเครื่อง

  6. ความรู้เกี่ยวกับภาษาเทคนิคที่ใช้ในการทำงานมีความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรม เช่น โปรแกรมเอกสารและโปรแกรมเฉพาะด้าน เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ




  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

  2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

  3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

  4. หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

  5. หลักฐานการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า



       (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ




  1. หลักฐานการศึกษา

  2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

  3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

  4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี) 

  5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)



       (ค) คำแนะนำในการประเมิน



      ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงในรายการตรวจสอบ (Check list)



       (ง) วิธีการประเมิน



    1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ



   2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

             ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะ  วิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบน้ำโรงไฟฟ้า



 (ก) คำแนะนำ



          ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการวิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบน้ำโรงไฟฟ้า โดยต้องทราบถึงแนวทางของการดำเนินการวิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหล่อเย็น ระบบน้ำหม้อไอน้ำ



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. ระบบผลิตน้ำใส หมายถึง กระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำเบื้องต้นเพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำ เช่น สารแขวนลอย ก๊าซ ชีวินทรีย์ และอื่นๆ ออกจากน้ำ โดยวิธีการทางกล (Aeration) วิธีการกรองผ่านสารกรอง (Filtration) วิธีการใช้สารเคมีตกตะกอน (Clarification & Sedimentation)  และ วิธีการกรองผ่านเยื่อเมมเบรน (Membrane filtration) ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำบริสุทธิ์ และ น้ำในระบบหล่อเย็น

  2. ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ หมายถึง กระบวนการกำจัดแร่ธาตุออกจากน้ำให้มากที่สุด เพื่อเตรียมคุณภาพน้ำสำหรับป้อนหม้อไอน้ำ ซึ่งต้องการน้ำที่มีความบริสุทธิ์สูง ซึ่งการกำจัดแร่ธาตุออกจากน้ำนั้น ปัจจุบันหลากหลายเทคโนโลยี ดังนี้



2.1 การแลกเปลี่ยนประจุด้วยเรซิน (Ion Exchange Resin)



2.2 การกรองผ่านเยื่อเมมเบรน (Membrane filtration)



2.3 การแลกเปลี่ยนด้วยไฟฟ้า (Electro-Deionization)




  1. ระบบน้ำหล่อเย็น หมายถึง ระบบน้ำที่ใช้ในการแลกปลี่ยนความร้อนจากอุปกรณ์ถ่ายเทความร้อนในโรงไฟฟ้า ดังนี้



3.1 ระบบน้ำหล่อเย็นสำหรับแลกเปลี่ยนความร้อนจากเครื่องควบแน่น (Condenser) แบ่งเป็น 4 ประเภท



3.1.1 Once through System



3.1.2 Open-Recirculation System



3.1.3 Auxiliary Helper



3.2 ระบบน้ำหล่อเย็นในระบบหล่อเย็นขนาดเล็ก (Closed Cooling System) เช่น ระบบเก็บตัวอย่างน้ำหม้อน้ำ (Online cooling system) Lube oil cooling system หรือระบบ pump ต่างๆ




  1. ระบบน้ำหม้อไอน้ำ หมายถึง ระบบการผลิตไอน้ำบริสุทธิ์ เพื่อใช้ในการหมุนกังหันไอน้ำซึ่งมีแกนเพลาต่อเชื่อมอยู่กับเครื่องผลิตไฟฟ้า (Generator)  โดยแบ่งตามประเภทของโรงไฟฟ้า

    1. โรงไฟฟ้าพลังความร้อน (Thermal Power Plant) จะผลิตไอน้ำด้วยการแลกเปลี่ยนความร้อนของน้ำจากเชื้อเพลิงโดยตรง

    2. โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Cycle Power Plant) คือการผลิตไอน้ำบริสุทธิ์จากความร้อนจากไอเสียของเครื่องกังหันก็าซ  ร่วมกับส่วนที่นำความร้อนที่เหลือจากไอเสียของกังหันก๊าซ มาผลิตไอน้ำต่อในส่วน Heat Recovery Steam Generator




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
  N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
  N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1.  



18.1 เครื่องมือประเมิน วิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบผลิตน้ำใส




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การวิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบผลิตน้ำใส

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การวิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบผลิตน้ำใส

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการวิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบผลิตน้ำใส



18.2 เครื่องมือประเมิน วิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การวิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การวิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการวิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์



18.3 เครื่องมือประเมิน วิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบน้ำหล่อเย็น




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การวิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบน้ำหล่อเย็น

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การวิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบน้ำหล่อเย็น

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการวิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบน้ำหล่อเย็น



18.4 เครื่องมือประเมิน วิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบน้ำหม้อไอน้ำ




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การวิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบน้ำหม้อไอน้ำ

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การวิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบน้ำหม้อไอน้ำ

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการวิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบน้ำหม้อไอน้ำ



 



 



 



ยินดีต้อนรับ