หน่วยสมรรถนะ
เตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบน้ำโรงไฟฟ้า
สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | GPW-EGS-5-092ZB |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | เตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบน้ำโรงไฟฟ้า |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพผู้ปฏิบัติงานเคมีโรงไฟฟ้าระดับ 4 ISCO-08 3111 พนักงานประจำห้องปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถคำนวณปริมาณการใช้สารเคมีในระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหม้อไอน้ำและไอน้ำ ระบบน้ำหอหล่อเย็น และสามารถเตรียม ผสมสารเคมีได้ตามขั้นตอนที่กำหนด สามารถจัดเตรียม และสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลสำหรับการปฏิบัติงานกับสารเคมีได้ สามารถรายงานประจำวันสรุปข้อมูลที่สำคัญและผลการตรวจสอบไปยังหัวหน้างานได้อย่างถูกต้อง |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ขีดจํากัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายสมรรถนะย่อยหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง บัญชีรายชื่อสารเคมีอันตราย |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
PGS-OC04-4-003-01 เตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบผลิตน้ำใส | 1. คำนวณการเติมสารเคมีในระบบผลิตน้ำใสตามคู่มือได้อย่างถูกต้อง | PGS-OC04-4-003-01.01 | 132794 |
PGS-OC04-4-003-01 เตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบผลิตน้ำใส | 2. เตรียมสารเคมีในระบบผลิตน้ำใสได้อย่างถูกต้อง | PGS-OC04-4-003-01.02 | 132795 |
PGS-OC04-4-003-02 เตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ | 1. คำนวณการเติมสารเคมีในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ตามคู่มือได้อย่างถูกต้อง | PGS-OC04-4-003-02.01 | 132799 |
PGS-OC04-4-003-02 เตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ | 2. เตรียมสารเคมีในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ได้อย่างถูกต้อง | PGS-OC04-4-003-02.02 | 132800 |
PGS-OC04-4-003-02 เตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ | 3. จัดเตรียมและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลสำหรับการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม | PGS-OC04-4-003-02.03 | 132801 |
PGS-OC04-4-003-03 เตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบน้ำหล่อเย็น | 1. คำนวณการเติมสารเคมีในระบบน้ำหล่อเย็นตามคู่มือได้อย่างถูกต้อง | PGS-OC04-4-003-03.01 | 132808 |
PGS-OC04-4-003-03 เตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบน้ำหล่อเย็น | 2. เตรียมสารเคมีในระบบน้ำหล่อเย็นได้อย่างถูกต้อง | PGS-OC04-4-003-03.02 | 132809 |
PGS-OC04-4-003-03 เตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบน้ำหล่อเย็น | 3. จัดเตรียมและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลสำหรับการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม | PGS-OC04-4-003-03.03 | 132810 |
PGS-OC04-4-003-04 เตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบน้ำหม้อไอน้ำ | 1. คำนวณการเติมสารเคมีในระบบน้ำหม้อไอน้ำตามคู่มือได้อย่างถูกต้อง | PGS-OC04-4-003-04.01 | 132817 |
PGS-OC04-4-003-04 เตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบน้ำหม้อไอน้ำ | 2. เตรียมสารเคมีในระบบน้ำหม้อไอน้ำได้อย่างถูกต้อง | PGS-OC04-4-003-04.02 | 132818 |
PGS-OC04-4-003-04 เตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบน้ำหม้อไอน้ำ | 3. จัดเตรียมและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลสำหรับการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม | PGS-OC04-4-003-04.03 | 132819 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
|
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ
(ข) ความต้องการด้านความรู้
|
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ
(ค) คำแนะนำในการประเมิน ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงในรายการตรวจสอบ (Check list) (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ 2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี) |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
การเตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหล่อเย็น และระบบน้ำหม้อไอน้ำในระดับคุณวุฒิที่ 4 เป็นงานที่ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ในการคำนวณปริมาณการเติมสารเคมีในระบบต่างๆ จากคู่มือ สามารถเตรียมสารเคมีให้มีความเข้มข้นในการเติมได้อย่างถูกต้องตามความต้องการของแต่ละระบบ มีความปลอดภัยในการทำงาน และสามารถรายงานผลการปฏิบัติงานเตรียมสารเคมีให้กับหัวหน้างานได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นทักษะความรู้ที่สำคัญก่อนการไปทำงานในระดับคุณวุฒิที่ 5 ในเรื่องการวางแผนการใช้สารเคมีสำหรับระบบน้ำโรงไฟฟ้า (ก) คำแนะนำ ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการวางแผนการผลิตโรงไฟฟ้า โดยต้องทราบถึงแนวทางของการดำเนินการของการเตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบน้ำโรงไฟฟ้า ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหล่อเย็น ระบบน้ำหม้อไอน้ำ (ข) คำอธิบายรายละเอียด
ระบบผลิตน้ำใส หมายถึง กระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำเบื้องต้นเพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำ เช่น สารแขวนลอย ก๊าซ ชีวินทรีย์ และอื่นๆ ออกจากน้ำ ด้วยวิธีการบำบัดทางกายภาพ (Physical Treatment) วิธีการบำบัดน้ำทางเคมี (Chemical Treatment) โดยใช้สารเคมีตกตะกอน (Clarification & Sedimentation) วิธีการกรองผ่านสารกรอง (Filtration) และ วิธีการกรองผ่านเยื่อเมมเบรน (Membrane filtration) ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำบริสุทธิ์ และ น้ำในระบบหล่อเย็น
2. เตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ หมายถึง กระบวนการกำจัดแร่ธาตุออกจากน้ำ เพื่อเตรียมคุณภาพน้ำสำหรับป้อนหม้อไอน้ำ ซึ่งต้องการน้ำที่มีความบริสุทธิ์สูง เทคโนโลยีการกำจัดแร่ธาตุออกจากน้ำ ดังนี้ 2.1 การแลกเปลี่ยนประจุด้วยเรซิน (Ion Exchange Resin) 2.2 การกรองผ่านเยื่อเมมเบรน (Membrane filtration) 2.3 การแลกเปลี่ยนด้วยไฟฟ้า (Electro-Deionization) การเตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์เริ่มตั้งแต่การคำนวณหาปริมาณอัตราการเติมสารเคมีในกระบวนการผลิตและกระบวนการล้างเรซิ่น หรือเมมเบรม เพื่อให้การเตรียมสารเคมีมีความเข้มข้นตามต้องการ และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานงาน ตลอดจนสามารถรายงานสรุปข้อมูลให้หัวหน้างานรับทราบได้อย่างถูกต้อง สารเคมีที่ใช้ในในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ได้แก่สารเคมีประเภทดังต่อไปนี้ - สารเคมีสำหรับการล้าง Ion Exchange Resin เพื่อฟื้นฟูสภาพเรซิ่นให้สามารถกลับมาพร้อมใช้งาน - สาร Anti-Oxidant เพื่อควบคุมสารเคมีประเภท Oxidant ไม่ให้ให้ทำอันตรายต่อระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ - สารเคมีปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง เพื่อให้มีสภาพความเป็นกรด ด่าง เหมาะสมต่อกระบวนการผลิตน้ำบริสุทธิ์ และการปรับสภาพน้ำทิ้ง - สารเคมีสำหรับการล้าง Membrane filtration ในการทำ Chemical Enhanced Backwash (CEB) และ Clean in Place (CIP) 3. เตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบน้ำหล่อเย็น ระบบน้ำหล่อเย็น หมายถึง น้ำที่ผ่านการถ่ายเทความร้อนมาจากกระบวนการผลิต (Process) ที่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) ทั้งในส่วนของระบบเครื่องควบแน่นไอน้ำ (Condenser) และ ระบบระบายความร้อนของอุปกรณ์อื่นๆในโรงไฟฟ้า สำหรับระบบการระบายความร้อนด้วยน้ำมี 3 ลักษณะ ดังนี้ 3.1 Once Through Cooling System เป็นระบบสูบน้ำจากแหล่งน้ำ นำไปหล่อเย็นแล้วปล่อยทิ้งเลย ระบบนี้จะต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งมีปริมาณน้ำเพียงพอกับการใช้งาน 3.2 Open Recirculating Cooling System ระบบนี้เป็นการนำเอาน้ำหมุนเวียนมาใช้อีก ฉะนั้นจึงต้องมีหอ ระบายความร้อน (Cooling Tower) ระบบนี้จะประหยัดน้ำและสารเคมีมากกว่าการใช้ Once Through Cooling System เป็นระบบที่ใช้ทั่วไป 3.3 Closed Cooling System เป็นระบบปิดมีการสูญเสียน้ำน้อยมาก แต่การระบายความร้อนจากน้ำทิ้งต้อง มีอุปกรณ์เพิ่มเติม ตัวอย่างของระบบนี้เช่น หม้อน้ำรถยนต์ เป็นต้น การเตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบน้ำหล่อเย็นเริ่มตั้งแต่การคำนวณหาปริมาณอัตราการเติมสารเคมีในระบบน้ำหล่อเย็น เพื่อให้การเตรียมสารเคมีมีความเข้มข้นตามต้องการ และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานงาน ตลอดจนสามารถรายงานสรุปข้อมูลให้หัวหน้างานรับทราบได้อย่างถูกต้อง สารเคมีที่ใช้ในในระบบน้ำหล่อเย็น ได้แก่สารเคมีประเภทดังต่อไปนี้ - สารเคมีป้องกันการเกิดตะกรัน จากการเดินระบบหล่อเย็นที่มี Cycle of Concentration สูง - สารป้องกันการกัดกร่อน เพื่อป้องกันการกัดกร่อนของอุปกรณ์ถ่ายเทความร้อนจากการปรับสภาพความเป็นกรด ด่างของระบบน้ำหล่อเย็น - สารชีวฆาต (Disinfectant) เพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของชีวินทรีย์ - สารเคมีปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง เพื่อปรับสภาพน้ำรบกวนการเกิดตระกรันแคลเซียมคาร์บอเนตในระบบน้ำหล่อเย็น 4. เตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบน้ำหม้อไอน้ำ ระบบน้ำหม้อไอน้ำ หมายถึง ระบบการผลิตไอน้ำ เพื่อใช้ในการหมุนกังหันไอน้ำซึ่งมีแกนเพลาต่อเชื่อมอยู่กับเครื่องผลิตไฟฟ้า ( Generator) โดยแบ่งตามประเภทของโรงไฟฟ้า ดังนี้ 4.1 โรงไฟฟ้าพลังความร้อน (Thermal Power Plant) จะผลิตไอน้ำด้วยการแลกเปลี่ยนความร้อนของน้ำกับเชื้อเพลิงโดยตรง 4.2 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Cycle Power Plant) คือการผลิตไอน้ำด้วยการแลกเปลี่ยนความร้อนของน้ำกับไอเสียจากเครื่องกังหันก็าซ โดยใช้ Heat Recovery Steam Generator: HRSG เป็นอุปกรณ์ในการแลกเปลี่ยนความร้อนสารเคมีที่ใช้ในในระบบน้ำระบบน้ำหม้อไอน้ำ การเตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบน้ำหม้อไอน้ำเริ่มตั้งแต่การคำนวณหาปริมาณอัตราการเติมสารเคมีในระบบน้ำหม้อไอน้ำเพื่อให้การเตรียมสารเคมีมีความเข้มข้นตามต้องการ และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน งาน ตลอดจนสามารถรายงานสรุปข้อมูลให้หัวหน้างานรับทราบได้อย่างถูกต้อง สารเคมีที่ใช้ในในระบบน้ำหม้อไอน้ำได้แก่สารเคมีประเภทดังต่อไปนี้ - สารเคมีปรับสภาพน้ำ เพื่อปรับ pH ของน้ำหม้อไอน้ำ และควบคุมการกัดกร่อนของโลหะบนผิวท่อ - สาร Oxygen Scavenger เพื่อควบคุมปริมาณความเข้มข้นของก๊าซออกซิเจนละลายน้ำของหม้อไอน้ำสำหรับการควบคุมแบบ Reducing All Volatile Treatment AVT(R) - การเติมก๊าซออกซิเจนในน้ำหม้อไอน้ำสำหรับการควบคุมแบบ Oxygenate treatment program - สารประเภท Film Foaming สำหรับควบคุมการกัดกร่อนของโลหะบนผิวท่อ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือประเมิน เตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบผลิตน้ำใส
18.2 เครื่องมือประเมิน เตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์
18.3 เครื่องมือประเมิน เตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบน้ำหล่อเย็น
18.4 เครื่องมือประเมิน เตรียมปริมาณการใช้สารเคมีในระบบน้ำหม้อไอน้ำ
|