หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบน้ำโรงไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EGS-4-084ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบน้ำโรงไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานเคมีโรงไฟฟ้า ระดับ 4



ISCO-08 3111 พนักงานประจำห้องปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
            ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถตรวจสอบสภาพความพร้อมของกระบวนการที่สำคัญในโรงไฟฟ้า ประกอบด้วย ระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหล่อเย็นและระบบน้ำหม้อไอน้ำ โดยสามารถเข้าใจการทำงานของระบบทำงานที่สำคัญและระบบทำงานย่อยในแต่ละระบบ สามารถสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในการทำงานแต่ละวัน พร้อมรายงานเหตุการณ์ประจำวัน สรุปข้อมูลที่สำคัญและผลการตรวจสอบไปยังหัวหน้างาน ได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คุณสมบัติน้ำสำหรับหม้อน้ำ พ.ศ. 2549 2. พระราชบัญญัติ ส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.2551 3. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้ความเห็นชอบในการตรวจสอบภายในหม้อน้ำทุกระยะเวลา เกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ต่อการตรวจสอบหนึ่งครั้ง พ.ศ. 2559 4. ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดประเภทโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และเขตประกอบการอุตสาหกรรม พ.ศ. 2559 5. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กําหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงาน พ.ศ. 2560

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-OC04-4-001-01 ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบผลิตน้ำใส 1. อธิบายกระบวนการทำงานของระบบผลิตน้ำใส PGS-OC04-4-001-01.01 132694
PGS-OC04-4-001-01 ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบผลิตน้ำใส 2. อธิบายขั้นตอนการทำงานของระบบย่อยในกระบวนการผลิตน้ำใส PGS-OC04-4-001-01.02 132695
PGS-OC04-4-001-01 ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบผลิตน้ำใส 3. ตรวจสอบสภาพความพร้อมของกระบวนการที่สำคัญของการผลิตน้ำใส PGS-OC04-4-001-01.03 132696
PGS-OC04-4-001-02 ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ 1. อธิบายกระบวนการทำงานของระบบผลิตบริสุทธิ์ PGS-OC04-4-001-02.01 132706
PGS-OC04-4-001-02 ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ 2. อธิบายขั้นตอนการทำงานของระบบย่อยในกระบวนการผลิตบริสุทธิ์ PGS-OC04-4-001-02.02 132707
PGS-OC04-4-001-02 ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ 3. ตรวจสอบสภาพความพร้อมของกระบวนการที่สำคัญของการผลิตน้ำบริสุทธิ์ PGS-OC04-4-001-02.03 132708
PGS-OC04-4-001-03 ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบควบคุมคุณภาพน้ำหล่อเย็น 1. อธิบายกระบวนการทำงานของระบบน้ำหล่อเย็นและระบบควบคุมคุณภาพน้ำหล่อเย็น PGS-OC04-4-001-03.01 132714
PGS-OC04-4-001-03 ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบควบคุมคุณภาพน้ำหล่อเย็น 2. จัดเตรียมและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลสำหรับการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม PGS-OC04-4-001-03.02 132715
PGS-OC04-4-001-03 ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบควบคุมคุณภาพน้ำหล่อเย็น 3. ตรวจสอบสภาพความพร้อมของกระบวนการที่สำคัญของการควบคุมคุณภาพน้ำหล่อเย็น PGS-OC04-4-001-03.03 132716
PGS-OC04-4-001-03 ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบควบคุมคุณภาพน้ำหล่อเย็น 4. รายงานเหตุการณ์ประจำวัน สรุปข้อมูลที่สำคัญและผลการตรวจสอบไปยังหัวหน้างานได้อย่างถูกต้อง PGS-OC04-4-001-03.04 132717
PGS-OC04-4-001-04 ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบควบคุมคุณภาพน้ำหม้อไอน้ำ 1. อธิบายหลักการและกระบวนการควบคุมคุณภาพน้ำหม้อไอน้ำ PGS-OC04-4-001-04.01 132738
PGS-OC04-4-001-04 ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบควบคุมคุณภาพน้ำหม้อไอน้ำ 2. จัดเตรียมและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลสำหรับการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม PGS-OC04-4-001-04.02 132739
PGS-OC04-4-001-04 ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบควบคุมคุณภาพน้ำหม้อไอน้ำ 3. ตรวจสอบสภาพความพร้อมของกระบวนการที่สำคัญของการควบคุมคุณภาพน้ำหม้อไอน้ำ PGS-OC04-4-001-04.03 132740

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

12.1 ความรู้พื้นฐานด้านระบบผลิตไฟฟ้าแบบต่างๆ (Basic of Power Generation)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน สามารถอธิบายกระบวนการทำงานของระบบผลิตน้ำใส น้ำบริสุทธิ์ น้ำหล่อเย็น และ น้ำหม้อไอน้ำ ได้อย่างถูกต้อง

  2. ทักษะในการสังเกตความผิดปกติ

  3. ทักษะทางเทคนิคในการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ได้อย่างถูกต้อง

  4. ทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ สามารถจดบันทึกและสรุปข้อมูลที่ได้จากการทำงานในภาคสนาม พร้อมรายงานผลได้อย่างถูกต้อง

  5. ทักษะการใช้ภาษาในการสื่อสาร และ การใช้เทคโนโลยีในการปฎิบัติงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตน้ำของ ระบบผลิตน้ำใส และ ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

  2. ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงาน วิธีการควบคุมคุณภาพน้ำ ในระบบหล่อเย็น และระบบหม้อไอน้ำ

  3. ความรู้เกี่ยวกับมาตรการด้านความปลอดภัยการปฎิบัติงานในพื้นที่โรงไฟฟ้า

  4. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม และ กฎหมายด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติงาน

  5. ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการปฎิบัติงาน เช่น .doc .xlsx และ .pptx และโปรแกรมเฉพาะด้าน เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ





  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)




  2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)




  3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)




  4. หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม




  5. หลักฐานการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า





(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ





  1. หลักฐานการศึกษา




  2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)




  3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)




  4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี) 




  5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)





(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงในรายการตรวจสอบ (Check list)



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ



2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบน้ำโรงไฟฟ้าในระดับคุณวุฒิที่ 4 เป็นงานที่ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้ความคิด และการปฏิบัติงานในภาคสนามที่ครอบคลุมหลายขั้นตอนจนนำไปสู่การสรุปข้อมูลที่สำคัญและรายงานให้หัวหน้างานได้อย่างถูกต้อง ถือเป็นทักษะที่จำเป็นเพื่อควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานในระดับคุณวุฒิที่ 3 และเป็นประสบการณ์การทำงานที่สำคัญก่อนไปทำงานในระดับคุณวุฒิที่ 5 การวิเคราะห์ปัญหาหน้างานจากข้อมูลเพื่อการแก้ไขปัญหา



 (ก) คำแนะนำ




  1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับลำดับขั้นตอนการผลิตน้ำใส น้ำบริสุทธิ์ ข้อผิดพลาด ข้อควรระวังที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการผลิตน้ำ มาตรการด้านความปลอดภัยของการเดินเครื่องระบบผลิตน้ำ และสามารถจดบันทึกข้อมูลรายงานเหตุการณ์ประจำวัน ได้อย่างถูกต้อง

  2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับหลักการควบคุมคุณภาพน้ำหล่อเย็น น้ำหม้อไอน้ำ ให้มีความถูกต้องและเป็นไปตามวิธีมาตรฐาน และสามารถจดบันทึกข้อมูลรายงานเหตุการณ์ประจำวัน ได้อย่างถูกต้อง

  3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการการใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ระหว่างการปฎิบัติงานภายในพื้นที่โรงไฟฟ้า



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. ระบบผลิตน้ำใส หมายถึง กระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำเบื้องต้นเพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำ เช่น สารแขวนลอย ก๊าซชีวินทรีย์ และอื่น ๆ ออกจากน้ำ ด้วยวิธีการบำบัดทางกายภาพ (Physical Treatment) วิธีการบำบัดน้ำทางเคมี (Chemical Treatment) โดยใช้สารเคมีตกตะกอน (Clarification & Sedimentation) วิธีการกรองผ่านสารกรอง (Filtration) และวิธีการกรองผ่านเยื่อเมมเบรน (Membrane filtration) ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำบริสุทธิ์ และ น้ำในระบบหล่อเย็น



          1.1 กระบวนการที่สำคัญ หมายถึง กระบวนการที่มีความจำเป็นในการผลิตน้ำใส เช่น การบวนการสูบน้ำดิบ กระบวนการเตรียมสารเคมี กระบวนการตกตะกอน กระบวนการกรอง กระบวนการกักเก็บและสูบจ่ายน้ำใส



          1.2 ระบบย่อย หมายถึง ระบบที่สนับสนุนการเดินเครื่องระบบผลิตน้ำใส เช่น ระบบตรวจวัดอัตราการไหลของน้ำและสารเคมี ระบบตรวจวัดความดันของน้ำและสารเคมี ระบบการเก็บตัวอย่างน้ำดิบ และ น้ำใส



     2. ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ หมายถึง กระบวนการกำจัดแร่ธาตุออกจากน้ำ เพื่อเตรียมคุณภาพน้ำสำหรับป้อนหม้อไอน้ำ ซึ่งต้องการน้ำที่มีความบริสุทธิ์สูง เทคโนโลยีการกำจัดแร่ธาตุออกจากน้ำ มีดังนี้



 1) การแลกเปลี่ยนประจุด้วยเรซิน (Ion Exchange Resin)



 2) การกรองผ่านเยื่อเมมเบรน (Membrane filtration)



 3) การแลกเปลี่ยนด้วยไฟฟ้า (Electro-Deionization)



        2.1 กระบวนการที่สำคัญ หมายถึง กระบวนการที่มีความจำเป็นในการผลิตน้ำบริสุทธิ์ เช่น การบวนการสูบน้ำใส กระบวนการเตรียมสารเคมี กระบวนการกรองและแลกเปลี่ยนประจุ กระบวนการกักเก็บและสูบจ่ายน้ำบริสุทธิ์



       2.2 ระบบย่อย หมายถึง ระบบที่สนับสนุนการเดินเครื่องระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ เช่น ระบบตรวจวัดอัตราการไหลของน้ำและสารเคมี ระบบตรวจวัดความดันของน้ำและสารเคมี ระบบการเก็บตัวอย่างน้ำใสและน้ำบริสุทธิ์



  3. ระบบน้ำหล่อเย็น หมายถึง น้ำที่ผ่านการถ่ายเทความร้อนมาจากกระบวนการผลิต (Process) ที่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) ทั้งในส่วนของระบบเครื่องควบแน่นไอน้ำ (Condenser)  และ ระบบระบายความร้อนของอุปกรณ์อื่นๆในโรงไฟฟ้า สำหรับระบบการระบายความร้อนด้วยน้ำมี 3 ลักษณะ  ดังนี้




  1. Once Through Cooling System เป็นระบบสูบน้ำจากแหล่งน้ำ นำไปหล่อเย็นแล้วปล่อยทิ้งเลย ระบบนี้จะต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งมีปริมาณน้ำเพียงพอกับการใช้งาน

  2. Open Recirculating Cooling System ระบบนี้เป็นการนำเอาน้ำหมุนเวียนมาใช้อีก ฉะนั้นจึงต้องมีหอระบายความร้อน (Cooling Tower) ระบบนี้จะประหยัดน้ำและสารเคมีมากกว่าการใช้ Once Through Cooling System เป็นระบบที่ใช้ทั่วไป

  3. Closed Cooling System เป็นระบบปิดมีการสูญเสียน้ำน้อยมาก แต่การระบายความร้อนจากน้ำทิ้งต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติม ตัวอย่างของระบบนี้เช่น หม้อน้ำรถยนต์ เป็นต้น



    3.1 กระบวนการที่สำคัญ หมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำหล่อเย็น เช่น กระบวนการเตรียมสารเคมี กระบวนการเติมสารเคมี กระบวนการควบคุมความเข้มข้นของน้ำหล่อเย็น



4. ระบบน้ำหม้อไอน้ำ หมายถึง ระบบการผลิตไอน้ำ เพื่อใช้ในการหมุนกังหันไอน้ำซึ่งมีแกนเพลาต่อเชื่อมอยู่กับเครื่องผลิตไฟฟ้า (Generator) โดยแบ่งตามประเภทของโรงไฟฟ้า ดังนี้




  1. โรงไฟฟ้าพลังความร้อน (Thermal Power Plant) จะผลิตไอน้ำด้วยการแลกเปลี่ยนความร้อนของน้ำกับเชื้อเพลิงโดยตรง

  2. โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Cycle Power Plant) คือการผลิตไอน้ำด้วยการแลกเปลี่ยนความร้อนของน้ำกับไอเสียจากเครื่องกังหันก็าซ โดยใช้ Heat Recovery Steam Generator: HRSG เป็นอุปกรณ์ในการแลกเปลี่ยนความร้อน



   4.1 กระบวนการที่สำคัญ หมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำหม้อไอน้ำ เช่น กระบวนการเตรียมสารเคมี กระบวนการเติมสารเคมี กระบวนการควบคุมความเข้มข้นของน้ำหม้อไอน้ำ



5. เหตุการณ์ประจำวันและข้อมูลที่สำคัญ หมายถึง การรายงานข้อมูลการปฎิบัติงานและสภาพการทำงานของระบบร ที่ได้รับมอบหมาย โดยบันทึกลงในเอกสารหรือวิธีการใดๆ ที่จัดทำขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงาน



6. อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันภัยส่วนบุคคลในการทำงานในระบบควบคุมคุณภาพน้ำหม้อไอน้ำ เช่น แว่นตานิรภัย ถุงมือป้องกันสารเคมี หน้ากากป้องกันสารเคมีแบบครึ่งหน้า หรือ แบบเต็มหน้าพร้อมใสกรองสารเคมี ชุดป้องกันสารเคมีแบบเต็มตัว รองเท้าป้องกันสารเคมี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
  N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
  N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1.  



18.1 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบผลิตน้ำใส




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบผลิตน้ำใส

  2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบผลิตน้ำใส



18.2 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการ Startup และ Shutdown ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ

  2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการ Startup และ Shutdown ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ



18.3 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบควบคุมคุณภาพน้ำหล่อเย็น




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบควบคุมคุณภาพน้ำหล่อเย็น

  2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบควบคุมคุณภาพน้ำหล่อเย็น



18.4 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบควบคุมคุณภาพน้ำหม้อไอน้ำ




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบควบคุมคุณภาพน้ำหม้อไอน้ำ

  2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบควบคุมคุณภาพน้ำหม้อไอน้ำ



 



ยินดีต้อนรับ