หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ระบุปัจจัยความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าพลังความร้อน

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EGS-5-060ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ระบุปัจจัยความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าพลังความร้อน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ระดับ 5



ISCO-08         3131 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องกังหันผลิตไฟฟ้า (Board Operator)



                      3131 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้า (Board Operator)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบ อุปกรณ์ และระบบผลิต โดยการอธิบายปัจจัยความเสี่ยงที่มีต่อระบบผลิต ประเมินความเสี่ยงจากปัจจัยต่อระบบผลิตตามรายการ และรายงานผลประเมินความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-OC02-5-003-01 ระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์ 1. อธิบายปัจจัยความเสี่ยงที่มีต่อระบบและอุปกรณ์ PGS-OC02-5-003-01.01 133182
PGS-OC02-5-003-01 ระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์ 2. ประเมินความเสี่ยงจากปัจจัยต่อระบบและอุปกรณ์ตามรายการ PGS-OC02-5-003-01.02 133183
PGS-OC02-5-003-01 ระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์ 3. รายงานผลประเมินความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์ PGS-OC02-5-003-01.03 133184
PGS-OC02-5-003-02 ระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิต 1. อธิบายปัจจัยความเสี่ยงที่มีต่อระบบผลิต PGS-OC02-5-003-02.01 133185
PGS-OC02-5-003-02 ระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิต 2. ประเมินความเสี่ยงจากปัจจัยต่อระบบผลิตตามรายการ PGS-OC02-5-003-02.02 133186
PGS-OC02-5-003-02 ระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิต 3. รายงานผลประเมินความเสี่ยงต่อระบบผลิต PGS-OC02-5-003-02.03 133187

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

   ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)     




  1. ทักษะการประเมินความเสี่ยง

  2. ทักษะการวิเคราะห์ในการปฏิบัติงาน



ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)




  1. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน 



 

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับระบบและอุปกรณ์โรงไฟฟ้า

  2. ความรู้เกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้า

  3. ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงที่มีผลต่อระบบผลิตไฟฟ้า

  4. คำศัทพ์ภาษาอังกฤษทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ





  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)




  2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)




  3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)




  4. หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม




  5. หลักฐานการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า





(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ





  1. หลักฐานการศึกษา




  2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)




  3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)




  4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี) 




  5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)





(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน check-list รายการ



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ



2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

        ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการระบุปัจจัยความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้า ทั้งปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์และความเสี่ยงต่อระบบผลิต



 (ก) คำแนะนำ



     ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องระบุปัจจัยความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้า โดยต้องทราบถึงปัจจัยความเสี่ยงดังกล่าว



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. ปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์ หมายถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้อุปกรณ์เกิดความเสียหาย เช่น กรณีเริ่มเดิน Electrical Fire pump ทุกครั้งจะเกิดความเสียหายของ Magnetic Contactor ถ้าไม่ทำการหรี่วาล์วด้าน Outlet ปัจจัยความเสี่ยงคือการไม่ตรวจสอบวาล์วด้าน Outlet ก่อนทำการเริ่มเดินเครื่อง

  2. ปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิต หมายถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้กำลังการผลิตลดลง เช่น กรณีที่ กังหันก๊าซเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงจากก๊าชธรรมชาติเป็นน้ำมัน ถ้าการ สับเปลี่ยนเชื้อเพลิงจากก๊าชธรรมชาติเป็นน้ำมันไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน ปัจจัยความเสี่ยงคือการไม่ตรวจสอบหัวฉีดอยู่เสมอ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
  N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
  N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1.  



18.1 เครื่องมือประเมิน ระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์



18.2 เครื่องมือประเมิน ระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิต




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิต

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิต

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการระบุปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิต



ยินดีต้อนรับ