หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษา

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EGS-5-059ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษา

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพผู้ควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ระดับ 5



          ISCO-08         3131 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องกังหันผลิตไฟฟ้า (Board Operator)



                                 3131 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้า (Board Operator)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
           ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบด้วยหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ กังหันไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ ระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ระบบไฟฟ้า ระบบสายพานลำเลียง ระบบผลิตและบำบัดน้ำในโรงไฟฟ้า และระบบสนับสนุนระบบผลิตไฟฟ้า โดยสามารถควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข การตัดสินใจและประเมินความพร้อมสำหรับการทดสอบอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษา ตรวจสอบความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์หลังจากงานบำรุงรักษา และรายงานผลการทดสอบความพร้อม สามารถควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ โดยการอธิบายขั้นตอนการทดสอบระบบผลิตไฟฟ้า ทดสอบระบบผลิตไฟฟ้าผ่านระบบ Distributed Control System (DCS) ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทดสอบ และรายงานผลการทดสอบความพร้อมฟังก์ชันของอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-OC02-5-002-01 ควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective maintenance) 1. ตัดสินใจและประเมินความพร้อมสำหรับการทดสอบอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข PGS-OC02-5-002-01.01 133172
PGS-OC02-5-002-01 ควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective maintenance) 2. ตรวจสอบความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์หลังจากงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข PGS-OC02-5-002-01.02 133173
PGS-OC02-5-002-01 ควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective maintenance) 3. รายงานผลการทดสอบความพร้อม PGS-OC02-5-002-01.03 133174
PGS-OC02-5-002-02 ควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage) 1. อธิบายขั้นตอนการทดสอบระบบผลิตไฟฟ้า PGS-OC02-5-002-02.01 133178
PGS-OC02-5-002-02 ควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage) 2. ทดสอบระบบผลิตไฟฟ้าผ่านระบบ Distributed Control System (DCS) ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ PGS-OC02-5-002-02.02 133179
PGS-OC02-5-002-02 ควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage) 3. วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทดสอบ PGS-OC02-5-002-02.03 133180
PGS-OC02-5-002-02 ควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage) 4. รายงานผลการทดสอบความพร้อมฟังก์ชัน (Function Test) ของอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) PGS-OC02-5-002-02.04 133181

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)     




  1. ทักษะการตัดสินใจและประเมินความพร้อม

  2. ทักษะวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา

  3. ทักษะการบันทึก จัดทำรายงานและรายงานผล

  4. ทักษะการใช้งานระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS)

  5. ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน



ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)




  1. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน 

  2. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

  3. ทักษะการสอนงานเบื้องต้น

  4. ทักษะการควบคุมงาน

  5. ทักษะความเป็นผู้นำ (Leadership

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. วิธีการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์ต่างๆ หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective maintenance) เช่น กังหันก๊าซ หม้อไอน้ำ กังหันไอน้ำ เป็นต้น

  2. วิธีการทดสอบระบบผลิตไฟฟ้า

  3. มีความรู้เรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง

  4. การใช้งานระบบ Distributed Control System (DCS)

  5. ความรู้ความสามารถด้านการใช้โปรแกรมเอกสารบนคอมพิวเตอร์

  6. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้งานระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS)

  7. คำศัทพ์ภาษาอังกฤษทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ





  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)




  2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)




  3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)




  4. หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม




  5. หลักฐานการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า





(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ





  1. หลักฐานการศึกษา




  2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)




  3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)




  4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี) 




  5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)





(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงในรายการตรวจสอบ (Checklist)



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาหลักฐานความรู้ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ



2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

           ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective maintenance) และการควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage)



(ก) คำแนะนำ



      ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อน โดยต้องทราบถึงหลักการควบคุมการเดินเครื่องไฟฟ้าดังกล่าว



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. การบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance) หมายถึง การทำงานบำรุงรักษาภายหลังที่เครื่องจักร อุปกรณ์เริ่มมีอาการผิดปกติ เกิดขัดข้องชำรุดเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพที่สามารถใช้งานต่อไปได้ตามปกติ

  2. การบำรุงรักษาตามวาระ (Planned Outage) หมายถึง การทำงานบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์ระหว่างหยุดเดินเครื่องตามแผน

  3. การทดสอบฟังก์ชัน (Function Test) หมายถึง การทดสอบอุปกรณ์และระบบ Protection System/Logic Control ก่อนเดินเครื่องจริง โดยวิธีการจำลองสัญญาณ (Simulation) เช่น Overspeed Trip Test, Safety Valve Test, Fire pump Test, Air Compressor Test เป็นต้น

  4. Distributed Control System : DCS หมายถึง ระบบควบคุมขนาดใหญ่สําหรับกระบวนการที่มีความซับซ้อนที่สามารถให้พนักงาน ควบคุมสามารถปรับตั้งค่าควบคุม (Set Point) ได้จากห้องควบคุมส่วนกลาง (Central Control Room)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1.  



18.1 เครื่องมือประเมิน ควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective maintenance)



1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective maintenance)



2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective maintenance)



3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective maintenance)



18.2 เครื่องมือประเมิน ควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage)




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage)

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage)

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned outage)



 



ยินดีต้อนรับ