หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เดินเครื่องระบบผลิตและบำบัดน้ำในโรงไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EGS-5-056ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เดินเครื่องระบบผลิตและบำบัดน้ำในโรงไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ระดับ 4



ISCO-08               3112 เจ้าหน้าที่ควบคุมงานระบบไฟฟ้า



                             3113 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศกรรมไฟฟ้า



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
           ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถเดินระบบผลิตและบำบัดน้ำในสภาวะปกติ เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการ Startup และ Shutdown แก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษา ทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังจากการบำรุงรักษา รวมถึงทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage)

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-OC02-4-006-01 เดินระบบในสภาวะปกติ (Normal Operation) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ 1. อธิบายหลักการทำงานและระบุขั้นตอนการทำงานของระบบผลิตและบำบัดน้ำ PGS-OC02-4-006-01.01 133107
PGS-OC02-4-006-01 เดินระบบในสภาวะปกติ (Normal Operation) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ 2. อธิบายขั้นตอนการสลับลำดับการทำงานของอุปกรณ์ PGS-OC02-4-006-01.02 133108
PGS-OC02-4-006-01 เดินระบบในสภาวะปกติ (Normal Operation) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ 3. ทำความสะอาดระบบผลิตน้ำ PGS-OC02-4-006-01.03 133109
PGS-OC02-4-006-01 เดินระบบในสภาวะปกติ (Normal Operation) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ 4. ตรวจอุปกรณ์ตามรายการตรวจสอบ (Check list/Log Sheet) และสิ่งผิดปกติของระบบผลิตและบำบัดน้ำ พร้อมรายงานผลได้ PGS-OC02-4-006-01.04 133110
PGS-OC02-4-006-02 เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการ Start-up และ Shut down ของผลิตและบำบัดน้ำ 1. อธิบายหลักการและขั้นตอนการ Startup และ Shutdown ของระบบผลิตและบำบัดน้ำตามแต่ละสภาวะและวัตถุประสงค์ PGS-OC02-4-006-02.01 133111
PGS-OC02-4-006-02 เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการ Start-up และ Shut down ของผลิตและบำบัดน้ำ 2. ตรวจสอบสถานะระบบผลิตและบำบัดน้ำต่าง ๆ สำหรับกระบวนการผลิตไฟฟ้า PGS-OC02-4-006-02.02 133112
PGS-OC02-4-006-02 เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการ Start-up และ Shut down ของผลิตและบำบัดน้ำ 3. ตรวจแจ้งสถานะของอุปกรณ์ก่อนเริ่มทำการทดสอบฟังก์ชันของระบบผลิตและบำบัดน้ำ PGS-OC02-4-006-02.03 133113
PGS-OC02-4-006-03 แก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ของระบบผลิตและบำนัดน้ำ (การรั่วของจุดสำคัญในระบบผลิตน้ำ) 1. ระบุและแก้ไขปัญหาในการเกิดเหตุฉุกเฉินได้เบื้องต้นของระบบผลิตและบำบัดน้ำ PGS-OC02-4-006-03.01 133114
PGS-OC02-4-006-03 แก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ของระบบผลิตและบำนัดน้ำ (การรั่วของจุดสำคัญในระบบผลิตน้ำ) 2. แขวนล็อกเอาท์และแท็กเอาท์ (Lock out - Tag out: LOTO) พร้อมทั้งระบุสถานที่และรายงานปัญหาของระบบผลิตและบำบัดน้ำ PGS-OC02-4-006-03.02 133115
PGS-OC02-4-006-04 เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ 1. อธิบายหลักการเตรียมการของระบบผลิตและบำบัดน้ำทั้งก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ PGS-OC02-4-006-04.01 133116
PGS-OC02-4-006-04 เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ 2. ตรวจสอบสถานะระบบผลิตและบำบัดน้ำทั้งก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ PGS-OC02-4-006-04.02 133117
PGS-OC02-4-006-04 เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ 3. แขวนล็อกเอาท์และแท็กเอาท์ (Lock out - Tag out: LOTO) พร้อมทั้งระบุสถานที่ตามแผนงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระของระบบผลิตและบำบัดน้ำ PGS-OC02-4-006-04.03 133118
PGS-OC02-4-006-04 เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ 4. บันทึกและรายงานผลทั้งก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระของระบบผลิตและบำบัดน้ำ PGS-OC02-4-006-04.04 133119
PGS-OC02-4-006-05 ทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังจากงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ 1. อธิบายขั้นตอนการทดสอบระบบผลิตและบำบัดน้ำ หลังจากบำรุงรักษาเชิงแก้ไข PGS-OC02-4-006-05.01 133120
PGS-OC02-4-006-05 ทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังจากงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ 2. ทดสอบระบบผลิตและบำบัดน้ำหลังจากงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข PGS-OC02-4-006-05.02 133121
PGS-OC02-4-006-05 ทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังจากงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ 3. รายงานผลการทดสอบเพื่อตรวจรับระบบของระบบผลิตและบำบัดน้ำ PGS-OC02-4-006-05.03 133122
PGS-OC02-4-006-06 ทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ 1. อธิบายขั้นตอนการทดสอบฟังก์ชันระบบของระบบผลิตและบำบัดน้ำ PGS-OC02-4-006-06.01 133123
PGS-OC02-4-006-06 ทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ 2. สนับสนุนการทดสอบฟังก์ชัน(Function Test) ระบบของระบบผลิตและบำบัดน้ำ PGS-OC02-4-006-06.02 133124
PGS-OC02-4-006-06 ทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ 3. รายงานผลการทดสอบฟังก์ชันระบบที่เกี่ยวข้องกับระบบผลิตและบำบัดน้ำ PGS-OC02-4-006-06.03 133125


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)     





  1. ทักษะการปฏิบัติงานเดินระบบในสภาวะปกติ (Normal Operation) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ




  2. ทักษะการสังเกตเพื่อรวบรวมปัญหาและหาสาเหตุ ด้วยวิธีสังเกต ได้ยิน ได้กลิ่น และประสาทสัมผัส เช่น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ 




  3. ทักษะการอ่านและการใช้คู่มือปฏิบัติงานทั้งด้านเทคนิคและความปลอดภัยของระบบผลิตและบำบัดน้ำ เช่น P&ID Diagram, Single Line Diagram, Process Flow Diagram, Wok Instruction




  4. ทักษะการใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือช่าง หรืออุปกรณ์อ่านค่าแสดงผลแบบต่าง ๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดหรือปืนวัดอุณหภูมิ (Infrared Thermometer) มัลติมิเตอร์ (Multimeter) ประแจ




  5. ทักษะในการปฏิบัติงานเดินเครื่องระบบผลิตและบำบัดน้ำ




  6. ทักษะการสลับลำดับการทำงานของอุปกรณ์




  7. ทักษการทำความสะอาดระบบผลิตน้ำ




  8. ทักษะในการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protection Equipment :PPE) ประกอบด้วย อุปกรณ์ป้องกันศรีษะ (Head Protection) อุปกรณ์ป้องกันดวงตา (Safety Glasses) อุปกรณ์ป้องกันหู (Ear Protection) อุปกรณ์ป้องกันมือ (Hand Protection) และอุปกรณ์ป้องกันเท้า (Safety Footwear)




  9. ทักษะการใช้งานระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS)




  10. ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน





ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)





  1. ทักษะการติดต่อประสานงาน




  2. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน




  3. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)



(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น เช่น ระบบไฟฟ้า 1 เฟส ระบบไฟฟ้า 3 เฟส  ระบบการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า เป็นต้น

  2. หลักการอ่านรหัส Kraftwerk Kennzeichen System (KKS CODE) ของอุปกรณ์ในโรงไฟฟ้า

  3. หลักการทำงานและขั้นตอนของอุปกรณ์ในระบบผลิตและบำบัดน้ำ

  4. หลักการขั้นตอนการสลับลำดับการทำงานของอุปกรณ์

  5. ความรู้การปฏิบัติงานเดินเครื่องระบบผลิตและบำบัดน้ำ

  6. หลักการและขั้นตอน Start-up ของระบบผลิตและบำบัดน้ำในสภาวะต่าง ๆ ได้แก่ Hot Mode Warm Mode และ Cold Mode

  7. หลักการและขั้นตอน Shut down ของระบบผลิตและบำบัดน้ำตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้แก่ Reserve Shut down, Emergency Shut down เป็นต้น

  8. ความรู้ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยในโรงไฟฟ้าเบื้องต้น

  9. ความรู้ความสามารถด้านการใช้โปรแกรมเอกสารบนคอมพิวเตอร์

  10. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้งานระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS)

  11. คำศัทพ์ภาษาอังกฤษทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ





  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)




  2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)




  3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)




  4. หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม




  5. หลักฐานการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า





(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ





  1. หลักฐานการศึกษา




  2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)




  3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)




  4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี) 




  5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)





(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน check-list รายการ



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ



2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

        ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะการเดินระบบในสภาวะปกติ เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการ Start-up และ Shut down แก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ ทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังจากงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข รวมถึงทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ



(ก) คำแนะนำ



         ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการเดินเครื่องระบบผลิตและบำบัดน้ำในโรงไฟฟ้า  โดยต้องทราบถึงหลักการเดินเครื่องดังกล่าว



(ข) คำอธิบายรายละเอียด





  1. ระบบผลิตและบำบัดน้ำ ประกอบด้วย







  • ระบบสูบน้ำดิบ (Raw Water) หมายถึง กระบวนการสูบน้ำผิวดินหรือน้ำดิบจากแหล่งน้ำธรรมชาติหรือแหล่งน้ำอื่นที่จัดหาหรือจัดเตรียมไว้ ซึ่งน้ำดังกล่าวจะมีความขุ่นและมีสารละลายต่างๆ รวมถึงโลหะหนักเจือปนอยู่ จึงปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบโดยการใส่สารส้มหรือปูนขาวลงไป เพื่อช่วยให้เกิดการตกตะกอนและปรับค่าความเป็น กรด-ด่างของน้ำดิบ แล้วจะไหลเข้าสู่ถังตกตะกอน จนได้น้ำที่มีความใสสะอาด




  • ระบบผลิตน้ำใส (Service Water) กระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำเบื้องต้นเพื่อกำจัดสารแขวนลอย สี จุลชีพและอื่นๆ ออกจากน้ำ ทั้งโดยวิธีการทางกล วิธีการใช้สารเคมีตกตะกอน และ วิธีการกรองผ่านเยื่อเมมเบรน (Membrane filtration) ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำบริสุทธิ์ และ น้ำในระบบหล่อเย็น




  • ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ (Demineralized Water) กระบวนการกำจัดแร่ธาตุออกจากน้ำโดยวิธีการต่างๆ เช่น การแลกเปลี่ยนประจุด้วยเรซิ่น (Ion Exchange Resin) การกรองผ่านเยื่อเมมเบรน (Membrane filtration) และ การแลกเปลี่ยนด้วยไฟฟ้า (Electro-Deionzation) ก่อนไปใช้งานในระบบหม้อไอน้ำ




  • ระบบล้างสารกรอง หมายถึง กระบวนการทำความสะอาดระบบกรองน้ำ




  • ระบบน้ำหล่อเย็น หมายถึง ระบบน้ำที่ใช้ในการแลกปลี่ยนความร้อนจากเครื่องควบแน่นไอน้ำ (Condensor) ของระบบหม้อไอน้ำในระบบผลิตไฟฟ้า




  • ระบบบำบัดน้ำเสียจากโรงไฟฟ้า (Waste Water System) หมายถึง กระบวนการการบำบัดน้ำทิ้งจากโรงไฟฟ้าให้คุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนดก่อนปล่อยออก







  1. เดินระบบในสภาวะปกติ (Normal Operation) หมายถึง ระบบผลิตและบำบัดน้ำสามารถใช้งานปกติและพารามิเตอร์ต่างๆอยู่ในเกณฑ์ปกติตามที่ระบุไว้ในคู่มือ




  2. การสลับลำดับการทำงานของอุปกรณ์ หมายถึง การเดินเครื่องอุปกรณ์ Stand by สลับกับอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ตามแผนการสลับอุปกรณ์




  3. ตรวจอุปกรณ์ตาม Check list (Log Sheet) และสิ่งผิดปกติของระบบผลิตและบำบัดน้ำ โดยจะดำเนินการตรวจระบบผลิตและบำบัดน้ำตาม Check list (Log Sheet) ที่กำหนด พร้อมทั้งจะระบุสิ่งผิดปกติของระบบผลิตและบำบัดน้ำ แล้วจึงดำเนินการแขวน Lock out - Tag out (LOTO) และระบุสถานที่ที่พบสิ่งผิดปกติ




  4. สิ่งผิดปกติของระบบผลิตและบำบัดน้ำ หมายถึง สิ่งผิดปกติที่เกิขึ้นกับระบบผลิตและบำบัดน้ำ เช่น ท่อน้ำรั่ว, สารเคมีรั่ว, รั่วเรซิ่นในระบบกรองน้ำ เป็นต้น




  5. Check list (Log Sheet) หมายถึง แบบฟอร์มบันทึกข้อมูลการทำงานของอุปกรณ์รายวัน เช่น Main Condenser Pressure เป็นต้น




  6. รายงานผล คือ การรายงานผลการตรวจสอบสถานะของระบบผลิตและบำบัดน้ำให้กับหัวหน้างาน และรวมถึงการรายงานสถานะของระบบที่รับผิดชอบเพื่อส่งมอบ-กะ




  7. ตรวจสอบสถานะระบบผลิตและบำบัดน้ำ สำหรับกระบวนการผลิตไฟฟ้า โดยจะดำเนินการตรวจสอบสถานะระบบผลิตและบำบัดน้ำ พร้อมทั้งแจ้งสิ่งผิดปกติของระบบผลิตและบำบัดน้ำที่เกิดขึ้นก่อนและระหว่างการ Startup และ Shutdown




  8. ระบุและแก้ไขปัญหาในการเกิดเหตุฉุกเฉินได้เบื้องต้น หมายถึง การตรวจสอบสาเหตุและแก้ไขปัญหาหน้างานที่ไม่ซับซ้อน เช่น ในกรณีที่วาล์วเปิดไม่สุดพนักงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าระดับ 4 สามารถปรับวาล์วเองได้ที่ตัวอุปกรณ์ เป็นต้น




  9. ตรวจสอบสถานะระบบผลิตและบำบัดน้ำทั้งก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ โดยจะดำเนินการตรวจสอบสถานะและสิ่งผิดปกติของระบบผลิตและบำบัดน้ำ ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ เมื่อพบสิ่งผิดปกติจึงดำเนินการแขวน Lock out - Tag out (LOTO) ระบุสถานที่ที่พบสิ่งผิดปกติและแจ้งปัญหา รวมถึงประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเก็บข้อมูลของระบบผลิตและบำบัดน้ำ ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ




  10. แขวน Lock out - Tag out (LOTO) พร้อมทั้งระบุสถานที่ตามแผนงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระของระบบผลิตและบำบัดน้ำ โดยจะมีการประสานงานระหว่างหน่วยงานบำรุงรักษา




  11. รายงานผลการทดสอบเพื่อตรวจรับระบบ โดยจะดำเนินการรายงานผลการทดสอบให้กับหัวหน้างานเพื่อตรวจรับระบบผลิตและบำบัดน้ำ และปลด Lock out - Tag out (LOTO) ออก




  12. สนับสนุนการทดสอบฟังก์ชัน (Function Test) โดยจะมีการดำเนินสังเกตและทดสอบฟังก์ชัน (Function Test) ตามแผนงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ และรวมถึงประสานงานกับผู้รับผิดชอบงานบำรุงรักษาเพื่อตรวจรับระบบ




  13. รายงานผลการทดสอบฟังก์ชันระบบที่เกี่ยวข้องกับระบบผลิตและบำบัดน้ำ โดยจะดำเนินการรายงานผลการทดสอบฟังก์ชันระบบที่เกี่ยวข้องกับระบบผลิตและบำบัดน้ำให้กับหัวหน้างานเพื่อตรวจรับระบบ พร้อมทั้งปลด Lock out - Tag out (LOTO) ออก




  14. Check list (Log Sheet) หมายถึง แบบฟอร์มบันทึกข้อมูลการทำงานของอุปกรณ์รายวัน เช่น Mai, Condenser Pressure เป็นต้น




  15. Lock out - Tag out (LOTO) คือ ระบบที่นำมาใช้ในการควบคุมอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการซ่อมบำรุงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีแหล่งจ่ายพลังงาน เช่น พลังงานกล พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น มีการปฏิบัติดังนี้





16.1 เตรียมการปิดระบบ (Preparation for Shut down) ก่อนที่จะทำการปิดการทำงานของเครื่องจักร จะต้องมีความรู้และตัดสินใจได้ว่าแหล่งพลังงานนั้นเป็นแหล่งพลังงานชนิดใด



16.2 ปิดเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ (Machine or Equipment Shut down) 



16.3 ตัดแยกเครื่องจักร (Machine Isolation) โดยอุปกรณ์การตัดแยกแหล่งพลังงาน เช่น อุปกรณ์เบรคเกอร์ (Breakers) สวิตช์ วาล์ว เป็นต้น



16.4 ใช้อุปกรณ์ระบบล็อกเอ้าท์/ป้ายแท็กเอ้าท์ (Log out/Tag out Device Application) อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดแยกพลังงานจะประกอบไปด้วยตัวล็อกและป้ายแท็กเอ้าท์ ซึ่งใช้โดยผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายหน้าที่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ทั้งตัวล็อกและป้ายแท็กเอ้าท์จะต้องติดกับตัวอุปกรณ์ที่ทำการตัดแยก



16.5 ปลดปล่อย/ควบคุมพลังงานสะสม (Stored Energy Release/Restraint) หลังจากตัดแยกแหล่งพลังงานแล้ว เพื่อให้เครื่องจักรปลอดภัยจากพลังงานที่เป็นอันตรายซึ่งยังตกค้างหรือเก็บสํารองไว้



16.6 ตรวจสอบ (Verification) เมื่อเริ่มทำงานกับเครื่องจักรที่มีการควบคุมพลังงานด้วยระบบล็อกเอ้าท์และป้ายแท็กเอ้าท์ ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติงานจะต้องตรวจสอบและยืนยันสถานะ “ปลอดพลังงาน” ของเครื่องจักรตลอดเวลาระหว่างการบริการหรือซ่อมบํารุง



16.7 ปลดอุปกรณ์ระบบล็อกเอ้าท์/ป้ายแท็กเอ้าท์ โดยผู้ติดตั้งอุปกรณ์ระบบ ล็อกเอ้าท์/ป้ายแท็กเอ้าท์เท่านั้นจะเป็นผู้ปลด ก่อนปลดจะต้องตรวจสอบความพร้อมการทำงานของเครื่องจักรและส่วนประกอบต่างๆ และตําแหน่งผู้ปฏิบัติงานทุกคนอยู่ในที่ปลอดภัย





  1. สภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) หมายถึง เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิต ทรัพย์สิน บุคคล ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม




  2. การบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) หมายถึง การทำงานบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์ระหว่างหยุดเดินเครื่องตามแผน




  3. การบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance) หมายถึง การทำงานบำรุงรักษาภายหลังที่เครื่องจักร อุปกรณ์เริ่มมีอาการผิดปกติ เกิดขัดข้องชำรุดเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพที่สามารถใช้งานต่อไปได้ตามปกติ




  4. การทดสอบฟังก์ชัน (Function Test) หมายถึง การทดสอบอุปกรณ์และระบบ Protection System/Logic Control ก่อนเดินเครื่องจริง โดยวิธีการจำลองสัญญาณ (Simulation) เช่น Chemical Feed Motor test, Agitator Motor test เป็นต้น




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
  N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
  N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1.  



18.1 เครื่องมือประเมิน เดินระบบในสภาวะปกติ (Normal Operation) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การเดินระบบในสภาวะปกติ (Normal Operation) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ

  2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเดินระบบในสภาวะปกติ (Normal Operation) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ



18.2 เครื่องมือประเมิน เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการ Start-up และ Shut down ของผลิตและบำบัดน้ำ




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการ Start-up และ Shut down ของผลิตและบำบัดน้ำ

  2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการ Start-up และ Shut down ของผลิตและบำบัดน้ำ



18.3 เครื่องมือประเมิน แก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ของระบบผลิตและบำนัดน้ำ (การรั่วของจุดสำคัญในระบบผลิตน้ำ)




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การแก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ของระบบผลิตและบำนัดน้ำ (การรั่วของจุดสำคัญในระบบผลิตน้ำ)

  2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ของระบบผลิตและบำนัดน้ำ (การรั่วของจุดสำคัญในระบบผลิตน้ำ)



18.4 เครื่องมือประเมิน เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ

  2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ



18.5 เครื่องมือประเมิน ทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังจากการบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังจากการบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ

  2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังจากการบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ



18.6 เครื่องมือประเมิน ทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ

  2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของระบบผลิตและบำบัดน้ำ



 



ยินดีต้อนรับ