หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เดินเครื่องหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ (Boiler & Auxiliary)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EGS-5-051ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เดินเครื่องหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ (Boiler & Auxiliary)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

  อาชีพผู้ปฏิบัติงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ระดับ 4



          ISCO-08     3112 เจ้าหน้าที่ควบคุมงานระบบไฟฟ้า



                             3113 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศกรรมไฟฟ้า



                             3113 ช่างเทคนิคไฟฟ้า



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
             ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถเดินระบบหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบในสภาวะปกติ เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการ Startup และ Shutdown แก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ เตรียมระบบเชื้อเพลิงสำหรับของหม้อไอน้ำทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังจากงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข และทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้ความเห็นชอบในการตรวจสอบภายในหม้อไอน้ำ ทุกระยะเวลาเกินกว่า 1 ปีแต่ไม่เกิน 5 ปีต่อการตรวจสอบหนึ่งครั้ง พ.ศ. 255510.2 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง คุณสมบัติน้ําสําหรับหม้อไอน้ำ พ.ศ.254910.3 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อไอน้ําและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนําความร้อน พ.ศ.254910.4 กฎกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กําหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อไอน้ํา หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนําความร้อน และภาชนะแรงดันในโรงงาน พ.ศ.254910.5 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง อุปกรณ์ความปลอดภัยสําหรับหม้อไอน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนําความร้อน พ.ศ.254910.6ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องหลักเกณฑ์การตรวจทดสอบความปลอดภัยหม้อไอน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนําความร้อนที่มีความดันต่างจากบรรยากาศ พ.ศ.254810.7 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องกําหนดค่าปริมาณเขม่าควันที่เจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องของหม้อไอน้ำของโรงงาน พ.ศ.254910.8 กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน เกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อไอน้ำ พ.ศ.2552

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-OC02-4-001-01 เดินระบบในสภาวะปกติ (Normal Operation) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ 1. อธิบายหลักการทำงานและระบุขั้นตอนการทำงานของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ PGS-OC02-4-001-01.01 133010
PGS-OC02-4-001-01 เดินระบบในสภาวะปกติ (Normal Operation) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ 2. อธิบายขั้นตอนการสลับลำดับการทำงานของอุปกรณ์ (Exercise and change over) PGS-OC02-4-001-01.02 133011
PGS-OC02-4-001-01 เดินระบบในสภาวะปกติ (Normal Operation) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ 3. ตรวจอุปกรณ์ตามรายการตรวจสอบ (Check list/Log Sheet) และสิ่งผิดปกติของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ พร้อมรายงานผลได้ PGS-OC02-4-001-01.03 133012
PGS-OC02-4-001-01 เดินระบบในสภาวะปกติ (Normal Operation) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ 4. ตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ในระบบสำหรับสลับชนิดเชื้อเพลิง พร้อมรายงานผลได้ PGS-OC02-4-001-01.04 133013
PGS-OC02-4-001-02 เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการ Start-up และ Shut down ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ 1. อธิบายหลักการและขั้นตอน Startup และ Shutdown ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ ตามแต่ละสภาวะและวัตถุประสงค์ PGS-OC02-4-001-02.01 133014
PGS-OC02-4-001-02 เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการ Start-up และ Shut down ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ 2. ตรวจสอบสถานะหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ สำหรับ Startup และ Shutdown ตามแต่ละสภาวะและวัตถุประสงค์ PGS-OC02-4-001-02.02 133015
PGS-OC02-4-001-02 เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการ Start-up และ Shut down ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ 3. ตรวจแจ้งสถานะของอุปกรณ์ก่อนเริ่มทำการทดสอบฟังก์ชันของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ PGS-OC02-4-001-02.03 133016
PGS-OC02-4-001-03 แก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ 1. ระบุและแก้ไขปัญหาในการเกิดเหตุฉุกเฉินได้เบื้องต้นของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ PGS-OC02-4-001-03.01 133017
PGS-OC02-4-001-03 แก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ 2. แขวนล็อกเอาท์และแท็กเอาท์ (Lock out - Tag out: LOTO) พร้อมทั้งระบุสถานที่และรายงานปัญหาของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ PGS-OC02-4-001-03.02 133018
PGS-OC02-4-001-04 เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ 1. อธิบายหลักการเตรียมความพร้อมของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ทั้งก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ PGS-OC02-4-001-04.01 133019
PGS-OC02-4-001-04 เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ 2. ตรวจสอบสถานะหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบทั้งก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ PGS-OC02-4-001-04.02 133020
PGS-OC02-4-001-04 เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ 3. แขวนล็อกเอาท์และแท็กเอาท์ (Lock out - Tag out: LOTO) พร้อมทั้งระบุสถานที่ตามแผนงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ PGS-OC02-4-001-04.03 133021
PGS-OC02-4-001-04 เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ 4. บันทึกและรายงานผลทั้งก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ PGS-OC02-4-001-04.04 133022
PGS-OC02-4-001-05 เตรียมระบบเชื้อเพลิงสำหรับของหม้อไอน้ำ 1. อธิบายระบบการป้อนเชื้อเพลิงของหม้อไอน้ำ PGS-OC02-4-001-05.01 133023
PGS-OC02-4-001-05 เตรียมระบบเชื้อเพลิงสำหรับของหม้อไอน้ำ 2. ตรวจสอบระบบเชื้อเพลิงของหม้อไอน้ำ PGS-OC02-4-001-05.02 133024
PGS-OC02-4-001-05 เตรียมระบบเชื้อเพลิงสำหรับของหม้อไอน้ำ 3. รายงานสิ่งผิดปกติในระบบเชื้อเพลิงของหม้อไอน้ำ PGS-OC02-4-001-05.03 133025
PGS-OC02-4-001-06 ทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังจากงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ 1. อธิบายขั้นตอนการทดสอบหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ หลังจากงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข PGS-OC02-4-001-06.01 133026
PGS-OC02-4-001-06 ทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังจากงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ 2. ทดสอบหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ หลังจากงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข PGS-OC02-4-001-06.02 133027
PGS-OC02-4-001-06 ทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังจากงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ 3. รายงานผลการทดสอบเพื่อตรวจรับระบบหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ PGS-OC02-4-001-06.03 133028
PGS-OC02-4-001-07 ทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ 1. อธิบายขั้นตอนการทดสอบระบบของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ PGS-OC02-4-001-07.01 133029
PGS-OC02-4-001-07 ทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ 2. สนับสนุนการทดสอบฟังก์ชัน(Function Test) ระบบของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ PGS-OC02-4-001-07.02 133030
PGS-OC02-4-001-07 ทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ 3. รายงานผลการทดสอบฟังก์ชันระบบที่เกี่ยวข้องกับหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ PGS-OC02-4-001-07.03 133031

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

12.1 ความรู้พื้นฐานโรงต้นกำลังไฟฟ้า โดยเนื้อหาประกอบด้วย โรงต้นกำลังต่าง ๆ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน โรงไฟฟ้าพลังกังหันก๊าซ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม



12.2 ความรู้พื้นฐานด้านงานช่าง/วิศวกรรม


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)     





  1. ทักษะการปฏิบัติงานเดินระบบในสภาวะปกติ (Normal Operation) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ




  2. ทักษะในการคิดวิเคราะห์และการสังเกตเพื่อรวบรวมปัญหาและหาสาเหตุ ด้วยวิธีสังเกต ได้ยิน ได้กลิ่น ประสาทสัมผัส (ความร้อน ความเย็น)




  3. ทักษะในการอ่านและการใช้คู่มือปฏิบัติงานทั้งด้านเทคนิคและความปลอดภัย เช่น P&ID Diagram, Single Line Diagram, Process Flow Diagram, Work Instruction




  4. มีทักษะในการใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือช่าง หรืออุปกรณ์อ่านค่าแสดงผลแบบต่าง ๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดหรือปืนวัดอุณหภูมิ (Infrared Thermometer) มัลติมิเตอร์ (Multimeter) ประแจ เครื่องวัดก๊าซออกซิเจน (Oxygen) เครื่องวัดไฮโดรเจน (Hydrogen) เครื่องวัดก๊าชรั่ว




  5. ทักษะในการปฏิบัติงานเดินเครื่องหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ




  6. ทักษะการสลับลำดับการทำงานของอุปกรณ์




  7. ทักษะในการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protection Equipment :PPE) ประกอบด้วย อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ (Head Protection) อุปกรณ์ป้องกันดวงตา (Safety Glasses) อุปกรณ์ป้องกันหู (Ear Protection) อุปกรณ์ป้องกันมือ (Hand Protection) และอุปกรณ์ป้องกันเท้า (Safety Footwear)




  8. ทักษะการใช้งานระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS)




  9. ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน





ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)





  1. ทักษะการติดต่อประสานงาน




  2. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน




  3. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)



(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. มีความรู้เทอร์โมไดนามิกส์เบื้องต้น เช่น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ การเปลี่ยนแปลงความดัน การเปลี่ยนสถานะของสสาร เป็นต้น

  2. หลักการอ่านรหัส Kraftwerk Kennzeichen System (KKS CODE) ของอุปกรณ์ในโรงไฟฟ้า

  3. หลักการทำงานและขั้นตอนของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ

  4. ความรู้การปฏิบัติงานเดินเครื่องหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ

  5. หลักการขั้นตอนการสลับลำดับการทำงานของอุปกรณ์

  6. หลักการและขั้นตอน Startup ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบในสภาวะต่าง ๆ ได้แก่ Hot Mode Warm Mode และ Cold Mode

  7. หลักการและขั้นตอน Shutdown ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้แก่ Reserve Shutdown, Emergency Shutdown)

  8. ความรู้ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยในโรงไฟฟ้าเบื้องต้น

  9. ความรู้ความสามารถด้านการใช้โปรแกรมเอกสารบนคอมพิวเตอร์

  10. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้งานระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS)

  11.  คำศัทพ์ภาษาอังกฤษทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ





  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)




  2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)




  3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)




  4. หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม




  5. หลักฐานการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า





          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ





  1. หลักฐานการศึกษา




  2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)




  3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)




  4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี) 




  5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)





          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



                     ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงในรายการตรวจสอบ (Check list) รายการ



           (ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาหลักฐานความรู้ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ



2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

           ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการเดินระบบหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบในสภาวะปกติ เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการ Startup และ Shutdown  แก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ ทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังจากงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข และทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ



(ก) คำแนะนำ



           ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติกการเดินเครื่องหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ การเตรียมความพร้อมของหม้อไอน้ำสำหรับการ Startup และ Shutdown สำหรับงานบำรุงรักษา รวมทั้งการทดสอบต่าง ๆ ของ      หม้อไอน้ำหลังงานบำรุงรักษา



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. หม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ หมายถึง




  • HP/IP/LP Steam System

  • Boiler Drum

  • Evaporator

  • Economizer

  • Superheat / Re-heater

  • Pre-Heater / Deaerator

  • Blow down System

  • Boiler Water Circulating Pump

  • Fire Protection System

  • Side Stream System 

  • Pumps / Valves

  • Gears

  • Mechanical Instruments and Tools

  • Primary Air Heater (PAH)

  • Secondary Air Heater (SAH)

  • Electrostatic Precipitator (ESP)




  1. เดินระบบในสภาวะปกติ (Normal Operation) หมายถึง หม้อไอน้ำสามารถผลิตไฟฟ้าได้ตามแผนสั่งการเดินเครื่องและพารามิเตอร์ต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์ปกติตามที่ระบุไว้ในคู่มือ

  2. การสลับลำดับการทำงานของอุปกรณ์ หมายถึง การเดินเครื่องอุปกรณ์สำรอง (Standby) สลับกับอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ตามแผนการสลับอุปกรณ์

  3. ตรวจอุปกรณ์ตามรายการตรวจสอบ (Check list/Log Sheet) และสิ่งผิดปกติของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ โดยจะดำเนินการตรวจหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบตาม รายการตรวจสอบ (Check list/Log Sheet) ที่กำหนด พร้อมทั้งจะระบุสิ่งผิดปกติของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ แล้วจึงดำเนินการแขวนล็อกเอาท์และแท็กเอาท์ (Lock out - Tag out:  LOTO) และระบุสถานที่ที่พบสิ่งผิดปกติ

  4. สิ่งผิดปกติของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ หมายถึง สิ่งผิดปกติที่เกิขึ้นกับหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ เช่น ค่า pH ของน้ำต่ำ, การรั่วก๊าชร้อน, การรั่วของไอน้ำ, แรงดันไอน้ำสูงผิดปกติ เป็นต้น

  5. Check list (Log Sheet) หมายถึง แบบฟอร์มบันทึกข้อมูลการทำงานของอุปกรณ์รายวัน เช่น Boiler Feed Water Temperature, Drum Level เป็นต้น

  6. รายงานผล คือ การรายงานผลการตรวจสอบสถานะของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบให้กับหัวหน้างาน และรวมถึงการรายงานสถานะของระบบที่รับผิดชอบเพื่อส่งมอบ-กะ

  7. การสลับชนิดเชื้อเพลิง (Fuel Switching) หมายถึง การใช้เชื้อเพลิงประเภทอื่น (Secondary fuel) มาผลิตไฟฟ้าแทนเชื้อเพลิงหลัก (Primary Fuel) ในกรณีที่หม้อไอน้ำที่สามารถใช้เชื้อเพลิงได้ตั้งแต่ 2 ประเภทขึ้นไป

  8. ตรวจสอบสถานะหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ สำหรับการ Startup และ Shutdown โดยจะดำเนินการตรวจสอบสถานะหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ พร้อมทั้งแจ้งสิ่งผิดปกติของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบที่เกิดขึ้นก่อนและระหว่างการ Startup และ Shutdown

  9. ระบุและแก้ไขปัญหาในการเกิดเหตุฉุกเฉินได้เบื้องต้น โดยจะดำเนินการตรวจสอบสาเหตุและแก้ไขปัญหาหน้างานที่ไม่ซับซ้อน เช่น ในกรณีที่วาล์วเปิดไม่สุดผู้ปฏิบัติงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าระดับ 4 สามารถปรับวาล์วเองได้ที่ตัวอุปกรณ์ เป็นต้น

  10. ตรวจสอบสถานะหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบทั้งก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ โดยจะดำเนินการตรวจสอบสถานะและสิ่งผิดปกติของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ เมื่อพบสิ่งผิดปกติจึงดำเนินการแขวนล็อกเอาท์และแท็กเอาท์ (Lock out - Tag out: LOTO) ระบุสถานที่ที่พบสิ่งผิดปกติและแจ้งปัญหา รวมถึงประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเก็บข้อมูลของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ

  11. แขวนล็อกเอาท์และแท็กเอาท์ (Lock out - Tag out: LOTO) พร้อมทั้งระบุสถานที่ตามแผนงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ โดยจะมีการประสานงานระหว่างหน่วยงานบำรุงรักษา

  12. รายงานผลการทดสอบเพื่อตรวจรับระบบ โดยจะดำเนินการรายงานผลการทดสอบให้กับหัวหน้างานเพื่อตรวจรับระบบหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ และปลดล็อกเอาท์และแท็กเอาท์ (Lock out - Tag out: LOTO) ออก

  13. สนับสนุนการทดสอบฟังก์ชัน (Function Test) โดยจะมีการดำเนินสังเกตและทดสอบฟังก์ชัน (Function Test) ตามแผนงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ และรวมถึงประสานงานกับผู้รับผิดชอบงานบำรุงรักษาเพื่อตรวจรับระบบ

  14. รายงานผลการทดสอบฟังก์ชันระบบที่เกี่ยวข้องกับหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ โดยจะดำเนินการรายงานผลการทดสอบฟังก์ชันระบบที่เกี่ยวข้องกับหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบให้กับหัวหน้างานเพื่อตรวจรับระบบ พร้อมทั้งปลดล็อกเอาท์และแท็กเอาท์ (Lock out - Tag out: LOTO) ออก

  15. ตรวจสอบระบบเชื้อเพลิงของหม้อไอน้ำ จะดำเนินการตรวจสอบระบบเชื้อเพลิงก่อนเริ่มเดินเครื่องหม้อไอน้ำ และในสภาวะปกติ รวมถึงกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน

  16. รายงานสิ่งผิดปกติในระบบเชื้อเพลิงของหม้อไอน้ำ โดยจะดำเนินการแขวนล็อกเอาท์และแท็กเอาท์ (Lock out - Tag out: LOTO) และแจ้งปัญหากับหัวหน้างาน

  17. ล็อกเอาท์และแท็กเอาท์ (Lock out - Tag out: LOTO) คือ ระบบที่นำมาใช้ในการควบคุมอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการซ่อมบำรุงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีแหล่งจ่ายพลังงาน เช่น พลังงานกล พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น มีการปฏิบัติดังนี้



18.1 เตรียมการปิดระบบ (Preparation for Shutdown) ก่อนที่จะทำการปิดการทำงานของเครื่องจักร จะต้องมีความรู้และตัดสินใจได้ว่าแหล่งพลังงานนั้นเป็นแหล่งพลังงานชนิดใด



18.2 ปิดเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ (Machine or Equipment Shutdown) 



18.3 ตัดแยกเครื่องจักร (Machine Isolation) โดยอุปกรณ์การตัดแยกแหล่งพลังงาน เช่น อุปกรณ์เบรคเกอร์ (Breakers) สวิตช์ วาล์ว เป็นต้น



18.4 ใช้อุปกรณ์ระบบล็อกเอ้าท์/ป้ายแท็กเอ้าท์ (Log out/Tag out Device Application) อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดแยกพลังงานจะประกอบไปด้วยตัวล็อกและป้ายแท็กเอ้าท์ ซึ่งใช้โดยผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายหน้าที่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ทั้งตัวล็อกและป้ายแท็กเอ้าท์จะต้องติดกับตัวอุปกรณ์ที่ทำการตัดแยก



18.5 การปลดปล่อยพลังงาน/การควบคุมพลังงานสะสม (Stored Energy Release/Restraint) หลังจากตัดแยกแหล่งพลังงานแล้ว เพื่อให้เครื่องจักรปลอดภัยจากพลังงานที่เป็นอันตรายซึ่งยังตกค้างหรือเก็บสํารองไว้



18.6 ตรวจสอบ (Verification) เมื่อเริ่มทำงานกับเครื่องจักรที่มีการควบคุมพลังงานด้วยระบบล็อกเอ้าท์และป้ายแท็กเอ้าท์ ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติงานจะต้องตรวจสอบและยืนยันสถานะ “ปลอดพลังงาน” ของเครื่องจักรตลอดเวลาระหว่างการบริการหรือซ่อมบํารุง



18.7 ปลดอุปกรณ์ระบบล็อกเอ้าท์/ป้ายแท็กเอ้าท์ โดยผู้ติดตั้งอุปกรณ์ระบบ ล็อกเอ้าท์/ป้ายแท็กเอ้าท์เท่านั้นจะเป็นผู้ปลด ก่อนปลดจะต้องตรวจสอบความพร้อมการทำงานของเครื่องจักรและส่วนประกอบต่าง ๆ และตําแหน่งผู้ปฏิบัติงานทุกคนอยู่ในที่ปลอดภัย




  1. สภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) หมายถึง เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิต ทรัพย์สิน บุคคล ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

  2. การบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) หมายถึง การทำงานบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์ระหว่างหยุดเดินเครื่องตามแผน

  3. การบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance) หมายถึง การทำงานบำรุงรักษาภายหลังที่เครื่องจักร อุปกรณ์เริ่มมีอาการผิดปกติ เกิดขัดข้องชำรุดเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพที่สามารถใช้งานต่อไปได้ตามปกติ

  4. การทดสอบฟังก์ชัน (Function Test) หมายถึง การทดสอบอุปกรณ์และระบบ Protection System/Logic Control ก่อนเดินเครื่องจริง โดยวิธีการจำลองสัญญาณ (Simulation) เช่น Safety Valve Test, Boiler Feed Water Pump test เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
  N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
  N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน เดินระบบในสภาวะปกติ (Normal Operation) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ



1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การเดินระบบในสภาวะปกติ (Normal Operation) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ



2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเดินระบบในสภาวะปกติ (Normal Operation) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ



18.2 เครื่องมือประเมิน เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการ Startup และ Shutdown ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการ Startup และ Shutdown ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ

  2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการ Startup และ Shutdown ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ



18.3 เครื่องมือประเมิน แก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การแก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ

  2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาระบบในสภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ



18.4 เครื่องมือประเมิน เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ

  2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ก่อนและระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ



18.5 เครื่องมือประเมิน เตรียมระบบเชื้อเพลิงสำหรับของหม้อไอน้ำ




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การเตรียมระบบเชื้อเพลิงสำหรับของหม้อไอน้ำ

  2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเตรียมระบบเชื้อเพลิงสำหรับของหม้อไอน้ำ



18.6 เครื่องมือประเมิน ทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังจากการบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังจากการบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ

  2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการทดสอบความพร้อมอุปกรณ์หลังจากการบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ



18.7 เครื่องมือประเมิน ทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Function Test) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Function Test) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ

  2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการทดสอบความพร้อมระบบหลังงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Function Test) ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบ



 



ยินดีต้อนรับ