หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EGS-6-035ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ระดับ 6



ISCO-08         1321 ผู้ว่าการ/ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้า



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
           ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถกำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบอุปกรณ์ และระบบผลิต โดยการประเมินความเป็นไปได้ของแนวทางรับมือความเสี่ยงรูปแบบต่าง ๆ กำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยง และสรุปผลการแก้ไขความเสี่ยง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-OC01-6-006-01 กำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์ 1. ประเมินความเป็นไปได้ของแนวทางรับมือความเสี่ยง PGS-OC01-6-006-01.01 133004
PGS-OC01-6-006-01 กำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์ 2. กำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์ PGS-OC01-6-006-01.02 133005
PGS-OC01-6-006-01 กำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์ 3. สรุปผลการแก้ไขความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต่อระบบและอุปกรณ์ PGS-OC01-6-006-01.03 133006
PGS-OC01-6-006-02 กำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบผลิต 1. ประเมินความเป็นไปได้ของแนวทางรับมือความเสี่ยง PGS-OC01-6-006-02.01 133007
PGS-OC01-6-006-02 กำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบผลิต 2. กำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบผลิตไฟฟ้า PGS-OC01-6-006-02.02 133008
PGS-OC01-6-006-02 กำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบผลิต 3. สรุปผลการแก้ไขความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต่อระบบผลิตไฟฟ้า PGS-OC01-6-006-02.03 133009

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะวิเคราะห์ความเสี่ยง

  2. ทักษะประเมินความเป็นไปได้ของแนวทางรับมือความเสี่ยง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความเสี่ยงรูปแบบต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้า

  2. วิธีการกำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยง

  3. ความรู้เกี่ยวกับระบบและอุปกรณ์โรงไฟฟ้า และระบบผลิตไฟฟ้า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ




  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

  2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

  3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

  4. หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

  5. หลักฐานการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ




  1. หลักฐานการศึกษา

  2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

  3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

  4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี) 

  5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงในรายการตรวจสอบ (Check list) รายการ



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาหลักฐานความรู้ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ



2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

       ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการ กำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์ และกำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบผลิต



 (ก) คำแนะนำ



       ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องวิเคราะห์ความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม โดยต้องทราบถึงกำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงดังกล่าว



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. ปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์ หมายถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้อุปกรณ์เกิดความเสียหาย เช่น กรณีเริ่มเดิน Electrical Fire Pump ทุกครั้งจะเกิดความเสียหายของ Magnetic Contactor ถ้าไม่ทำการหรี่วาล์วด้าน Outlet ปัจจัยความเสี่ยงคือการไม่ตรวจสอบวาล์วด้าน Outlet ก่อนทำการเริ่มเดินเครื่อง

  2. ปัจจัยความเสี่ยงต่อระบบผลิต หมายถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้กำลังการผลิตลดลง เช่น กรณีที่ กังหันก๊าซเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงจากก๊าชธรรมชาติเป็นน้ำมัน ถ้าการ สับเปลี่ยนเชื้อเพลิงจากก๊าชธรรมชาติเป็นน้ำมันไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน ปัจจัยความเสี่ยงคือการไม่ตรวจสอบหัวฉีดอยู่เสมอ

  3. แนวทางรับมือความเสี่ยง เช่น การจัดทำเอกสารการทบทวนก่อนปฏิบัติงาน (Before Action Review: BAR) หรือการทบทวนหลังการปฏิบัติ (After Action Review : AAR)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
  N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
  N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน กำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์




  1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เช่น หลักฐานการทำงานเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์

  2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการกำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบและอุปกรณ์



18.2 เครื่องมือประเมิน กำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบผลิต




  1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เช่น หลักฐานการทำงานเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบผลิต

  2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการกำหนดแนวทางเพื่อรับมือความเสี่ยงต่อระบบผลิต



 



ยินดีต้อนรับ