หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ให้บริการการอาบน้ำสมุนไพรไทย (Thai Traditional Herbal Bath) แก่ผู้รับบริการ

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-SPA-5-136ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ให้บริการการอาบน้ำสมุนไพรไทย (Thai Traditional Herbal Bath) แก่ผู้รับบริการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">อาชีพสปาเทอราปิ้ส ระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะเฉพาะนี้ เป็นหน่วยวัดความรู้ ทักษะ และผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ของอาชีพสปาเทอราปิ้ส ระดับ 5 โดยต้องมีความรู้ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ ประกอบด้วยสมรรถนะย่อยเตรียมความพร้อมผู้รับบริการเพื่อรับบริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย (Thai Traditional Herbal Bath) เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ และผลิตภัณฑ์ สำหรับให้บริการการอาบน้ำสมุนไพรไทย (Thai Traditional Herbal Bath) ตามที่ผ่านการอบรมให้บริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย (Thai Traditional Herbal Bath) ตามขั้นตอนและมาตรฐานทรีทเม้นท์ และแนะนำการปฏิบัติตนหลังการ รับบริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย(Thai Traditional Herbal Bath) แก่ผู้รับบริการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กิจกรรมบริการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย (ยกเว้นกิจกรรมด้านกีฬา)สาขาให้บริการสปา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10424-01 เตรียมความพร้อมผู้รับบริการ เพื่อรับบริการอาบน้ำสมุนไพรไทย (Thai Traditional Herbal Bath) 1.1 แนะนำผู้รับบริการเตรียมตัวเบื้องต้นก่อนการรับบริการตามเวลาที่กำหนดด้วยความสุภาพ 10424-01.01 132627
10424-01 เตรียมความพร้อมผู้รับบริการ เพื่อรับบริการอาบน้ำสมุนไพรไทย (Thai Traditional Herbal Bath) 1.2 แนะนำประโยชน์ที่ได้รับหลังจากการอาบน้ำสมุนไพรไทยอย่างละเอียดและครบถ้วน ด้วยความสุภาพ 10424-01.02 132628
10424-02 เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ เครื่องใช้ และผลิตภัณฑ์สำหรับการให้บริการอาบน้ำสมุนไพไทย (Thai Traditional Herbal Bath) ตามที่ผ่านการอบรม 2.1 เตรียมห้อง อ่าง และเครื่องใช้ สำหรับให้บริการอาบน้ำสมุนไพรไทย ได้ตำแหน่งถูกต้องตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ 10424-02.01 132629
10424-02 เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ เครื่องใช้ และผลิตภัณฑ์สำหรับการให้บริการอาบน้ำสมุนไพไทย (Thai Traditional Herbal Bath) ตามที่ผ่านการอบรม 2.2 เตรียม ผสมน้ำ และสมุนไพรตามภูมิปัญญาไทยสำหรับให้บริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย ได้ถูกต้องตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีตรอบคอบ 10424-02.02 132630
10424-02 เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ เครื่องใช้ และผลิตภัณฑ์สำหรับการให้บริการอาบน้ำสมุนไพไทย (Thai Traditional Herbal Bath) ตามที่ผ่านการอบรม 2.3 ทำความสะอาดห้อง อ่าง และเครื่องใช้หลังให้บริการการอาบน้ำสมุนไพรไทย ได้ถูกต้องตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ 10424-02.03 132631
10424-03 ให้บริการการอาบน้ำสมุนไพรไทย (Thai Traditional Herbal Bath) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์ 3.1 ให้บริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย ตามขั้นตอน ด้วยความสุภาพรอบคอบ 10424-03.01 132632
10424-03 ให้บริการการอาบน้ำสมุนไพรไทย (Thai Traditional Herbal Bath) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์ 3.2 ดูแลผู้รับบริการระหว่างการให้บริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทยด้วยความสุภาพ รอบคอบ 10424-03.02 132633
10424-04 แนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการ อาบน้ำสมุนไพรไทย (Thai Traditional Herbal Bath) แก่ผู้รับบริการ 4.1 แนะนำการปฏิบัติตนภายหลังการรับบริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทยตามที่ผ่านการอบรมด้วยความสุภาพ 10424-04.01 132634
10424-04 แนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการ อาบน้ำสมุนไพรไทย (Thai Traditional Herbal Bath) แก่ผู้รับบริการ 4.2 แนะนำโปรแกรมทรีทเม้นท์ที่ต่อเนื่องตามที่ผ่านการอบรมด้วยความสุภาพ 10424-04.02 132635

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น
(1) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการ และประโยชน์จากการรับบริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย ที่มีผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย อาทิ ระบบผิวหนัง ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจ เป็นต้น
(2) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ร่วมกับการอาบน้ำสมุนไพรไทย
(3) ความรู้พื้นฐานของวารีบำบัด หลักสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการใช้น้ำเพื่อสุขภาพ การอาบแช่น้ำ
(ข) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น
(1) ความสามารถในการนำความรู้ที่ส่งผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกายมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการ
(2) ความสามารถในการให้คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ร่วมกับการอาบน้ำสมุนไพรไทย
(3) ความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานของวารีบำบัด หลักสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการใช้น้ำเพื่อสุขภาพ การอาบแช่น้ำ เพื่อใช้ร่วมกับการให้บริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1) เตรียมความพร้อมผู้รับบริการเพื่อรับบริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย (Thai Traditional Herbal Bath)
- ความสามารถในการส่งมอบชุดที่จะเปลี่ยนให้ผู้รับบริการ และแจ้งเรื่องเวลาที่จะเริ่มต้นให้บริการด้วยความสุภาพ
- ความสามารถในการอธิบายประโยชน์ที่ได้รับจากการรับบริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทยไทยด้วยความสุภาพ
(2) เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ เครื่องใช้ และผลิตภัณฑ์ สำหรับให้บริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย (Thai Traditional Herbal Bath) ตามที่ผ่านการอบรม
- ความสามารถในการเตรียมเตรียมห้อง อ่าง และเครื่องใช้ สำหรับให้บริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย ได้ตำแหน่งถูกต้องตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ
- ความสามารถในการเตรียมผสมน้ำ และสมุนไพรตามภูมิปัญญาไทย สำหรับให้บริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย ตามที่ผ่านการอบรม ได้ถูกต้องตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ
- ความสามารถในการทำความสะอาดห้อง อ่าง และเครื่องใช้หลังให้บริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทยตามที่ผ่านการอบรม ได้ถูกต้องตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ
(3) ให้บริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย (Thai Traditional Herbal Bath) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์
- ความสามารถในการแสดงขั้นตอนการให้บริการให้บริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทยได้ตามขั้นตอน ด้วยความสุภาพ รอบคอบ
- ความสามารถในการดูแล และให้คำแนะนำระหว่างให้บริการ ด้วยความสุภาพ รอบคอบ
(4) แนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย (Thai Traditional Herbal Bath) แก่ผู้รับบริการ
- ความสามารถในการแนะนำการปฏิบัติตนภายหลังการรับบริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย ตามที่ผ่านการอบรมด้วยความสุภาพ
- ความสามารถในการแนะนำโปรแกรมทรีทเม้นท์ที่ต่อเนื่องตามที่ผ่านการอบรมด้วยความสุภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1) เตรียมความพร้อมผู้รับบริการเพื่อรับบริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย (Thai Traditional Herbal Bath)
- ความรู้เกี่ยวกับหลักการเตรียมตัวเบื้องต้นเพื่อรับบริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย
- ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการรับบริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย
- ประโยชน์ของการใช้น้ำเพื่อผ่อนคลาย
(2) เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์เครื่องใช้ และผลิตภัณฑ์ สำหรับให้บริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย (Thai Traditional Herbal Bath) ตามที่ผ่านการอบรม
- ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมห้อง อ่าง และเครื่องใช้ สำหรับให้บริการการอาบน้ำสมุนไพรไทย
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการผสมสมุนไพรตามภูมิปัญญาไทย สำหรับให้บริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย ตามความต้องการของผู้รับบริการ
- ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาดห้อง อ่าง และเครื่องใช้หลังให้บริการการอาบน้ำสมุนไพรไทย
(3) ให้บริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย (Thai Traditional Herbal Bath) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์
- ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการให้บริการการอาบน้ำสมุนไพรไทย
- ความรู้เกี่ยวกับการดูแลและให้คำแนะนำระหว่างให้บริการการอาบน้ำสมุนไพรไทย
(4) แนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย (Thai Traditional Herbal Bath) แก่ผู้รับบริการ
- ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนหลังการรับบริการการอาบน้ำสมุนไพรไทย
- ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมทรีทเม้นท์ที่ต่อเนื่องเพื่อให้ร่างกายเกิดความสมดุล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
• เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning book)
(ข) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
• เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ เป็นต้น
• เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกงานประจำวัน (Log book)
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
• สภาพการประเมิน (Assessment Condition) เอกสารยืนยันสถานที่ปฏิบัติงานจริง หรือสถานที่ฝึกงานประกอบด้วยห้องปฏิบัติงาน เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ แบบบันทึกข้อมูลต่างๆ แบบรายงานผล
• หลักฐานความรู้ที่ต้องการ เช่น โดยการสอบภาคทฤษฎี โดยใช้แบบข้อสอบ ทั้งปรนัยและอัตนัย หรือ
การสัมภาษณ์ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
• หลักฐานการปฏิบัติที่ต้องการ เช่น โดยการทดสอบภาคปฏิบัติ สังเกตหรือสัมภาษณ์การปฏิบัติงานประจำวัน ซึ่งมีเครื่องมือคือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือแบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยผู้บังคับบัญชา หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ หรือเอกสารรับรองทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเอกสารอื่นๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาชีพ เป็นต้น เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)
(ง) วิธีการประเมิน
• ประเมินความรู้ โดยใช้
(1) ข้อสอบข้อเขียน และ/หรือ แบบประเมินความรู้
(2) ข้อสอบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
• ประเมินทักษะ โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์ หรือ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยหัวหน้างาน หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ
• ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้เครื่องมือ แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
• พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย หลักฐานความรู้ ได้แก่ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book) และหลักฐานทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ หรือ เอกสารรับรองทักษะรายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเอกสารอื่นๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาชีพ เป็นต้น เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)


15. ขอบเขต (Range Statement)

การให้บริการ การอาบน้ำสมุนไพรไทย คือ การให้บริการและแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการบำบัดด้วยน้ำ ใช้อุณหภูมิร้อน-เย็นของน้ำเป็นเครื่องมือบำบัด โดยการให้นอนแช่ในอ่างที่ผสมสมุนไพรไทย
อ่าง คือ อ่างสำหรับอาบแช่ตัว อาจเป็นอ่างไม้ หรืออ่างที่จัดทำขึ้นสำหรับให้บริการอาบแช่โดยเฉพาะ ขึ้นอยู่กับสถานประกอบการ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ประเมินความรู้ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยใช้
(1) ข้อสอบข้อเขียน หรือ แบบประเมินความรู้
(2) ข้อสอบสัมภาษณ์ หรือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.2 ประเมินทักษะ เพื่อวัดทักษะ ความสามารถ ความชำนาญ โดยใช้แบบประเมินต่างๆ อาทิ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน
18.3 ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.4 พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย
(1) หลักฐานความรู้ ได้แก่
(1.1) เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
(1.2) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
(2) หลักฐานทักษะ ได้แก่
(2.1) เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเอกสารอื่นๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาชีพ
(2.2) เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
(2.3) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)



ยินดีต้อนรับ