หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) แก่ผู้รับบริการ

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-SPA-5-135ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) แก่ผู้รับบริการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">สปาเทอราปิ้ส ระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะเฉพาะนี้ เป็นหน่วยวัดความรู้ ทักษะและผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ของ สปาเทอราปิ้ส ระดับ 5 ประกอบด้วยสมรรถนะย่อย เตรียมความพร้อมผู้รับบริการ Thai Herbal Compress Treatmentเตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ เครื่องใช้และผลิตภัณฑ์สำหรับให้บริการประคบสมุนไพรไทย(Thai Herbal Compress Treatment) ตามที่ผ่านการอบรม ให้บริการประคบสมุนไพรไทย(Thai Herbal Compress Treatment) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์และแนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal CompressTreatment) แก่ผู้รับบริการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กิจกรรมบริการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย (ยกเว้นกิจกรรมด้านกีฬา)สาขาให้บริการสปา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10423-01 เตรียมความพร้อมผู้รับบริการ เพื่อรับบริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) 1.1 ชี้แจงขั้นตอนการให้บริการประคบสมุนไพรไทย (ThaiHerbal Compress Treatment) ตามขั้นตอน ด้วยความสุภาพ 10423-01.01 132616
10423-01 เตรียมความพร้อมผู้รับบริการ เพื่อรับบริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) 1.2 อธิบายประโยชน์ของการรับบริการประคบสมุนไพรไทย(Thai Herbal Compress Treatment) อย่างละเอียด ครบถ้วน ด้วยความสุภาพ 10423-01.02 132617
10423-02 เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ เครื่องใช้และผลิตภัณฑ์สำหรับให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) ตามที่ผ่านการอบรม 2.1 เตรียมห้องทรีทเม้นท์ จัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้สำหรับให้บริการประคบสมุนไพรไทย(Thai Herbal Compress Treatment) ตำแหน่งถูกต้อง ตามที่ผ่านการอบรมด้วยความประณีต รอบคอบ 10423-02.01 132618
10423-02 เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ เครื่องใช้และผลิตภัณฑ์สำหรับให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) ตามที่ผ่านการอบรม 2.2 เตรียมลูกประคบสำหรับให้บริการประคบสมุนไพรไทย(Thai Herbal Compress Treatment) ได้ถูกต้องตามใบสั่งงาน ด้วยความรอบคอบ 10423-02.02 132619
10423-02 เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ เครื่องใช้และผลิตภัณฑ์สำหรับให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) ตามที่ผ่านการอบรม 2.3 จัดเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้หลังการให้บริการประคบสมุนไพรไทย(Thai Herbal Compress Treatment) ได้ถูกต้องตามที่ผ่านการอบรมด้วยความประณีต รอบคอบ 10423-02.03 132620
10423-02 เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ เครื่องใช้และผลิตภัณฑ์สำหรับให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) ตามที่ผ่านการอบรม 2.4 จัดการวัสดุที่ใช้แล้ว/ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วหลังการให้บริการประคบสมุนไพรไทย(Thai Herbal Compress Treatment) ได้ถูกต้องตามที่ผ่านการอบรมด้วยความประณีต และรอบคอบ 10423-02.04 132621
10423-02 เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ เครื่องใช้และผลิตภัณฑ์สำหรับให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) ตามที่ผ่านการอบรม 2.5 จัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้ หลังการให้บริการประคบสมุนไพรไทย(Thai Herbal Compress Treatment) ตำแหน่งถูกต้อง ตามที่ผ่านการอบรมด้วยความประณีต รอบคอบ 10423-02.05 132622
10423-03 ให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์ 3.1 แนะนำการปฏิบัติตนสำหรับรับบริการประคบสมุนไพรไทย(Thai Herbal Compress Treatment) ตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความสุภาพ 10423-03.01 132623
10423-03 ให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์ 3.2 ให้ให้บริการประคบสมุนไพรไทย (ThaiHerbal Compress Treatment) โดยการใช้ลูกประคบร่วมกับการนวดไทย โดยคำนึงถึงข้อห้ามข้อควรระวังเกี่ยวกับการนวด 10423-03.02 132624
10423-04 แนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการ 4.1 แนะนำการปฏิบัติตนภายหลังการรับบริการประคบสมุนไพรไทย(Thai Herbal Compress Treatment) ตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความสุภาพ 10423-04.01 132625
10423-04 แนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการ 4.2 แนะนำผลิตภัณฑ์ลูกประคบ สำหรับการ ให้บริการประคบสมุนไพรไทย(Thai Herbal Compress Treatment) สอดคล้องตามความต้องการของผู้รับบริการด้วยมารยาทในการให้บริการ 10423-04.02 132626

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ความรู้ก่อนหน้า ที่จำเป็น ประกอบด้วย
(1) ความรู้ตามหน่วยสมรรถนะการให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) แก่ผู้รับบริการ (รหัสหน่วยสมรรถนะ 10413)
(2) ความรู้เกี่ยวกับลำดับ ขั้นตอนการเตรียมลูกประคบเพื่อให้บริการ
(3) ความรู้เกี่ยวกับการใช้ลูกประคบกับการนวดเพื่อผ่อนคลาย
(4) ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย
(ข) ทักษะก่อนหน้า ที่จำเป็น ประกอบด้วย
(1) ความสามารถตามหน่วยสมรรถนะการให้บริการ Traditional Thai Massage แก่ผู้รับบริการ
(2) ความสามารถในการเตรียมลูกประคบตามลำดับ ขั้นตอนตามหลักวิชาการ
(3) ความสามารถในการนวดลูกประคบตามลำดับ ขั้นตอนตามหลักวิชาการ
(4) ความสามารถในการประยุกต์ใช้ลูกประคบในสปา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1) เตรียมความพร้อมผู้รับบริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment)
- ความสามารถในการชี้แจงขั้นตอนการให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) ตามขั้นตอน ด้วยความสุภาพ
- ความสามารถในการอธิบายประโยชน์ของการรับบริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) อย่างละเอียด ครบถ้วน ด้วยความสุภาพ
(2) เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ เครื่องใช้และผลิตภัณฑ์สำหรับให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) แก่ผู้รับบริการ ตามที่ผ่านการอบรม
- ความสามารถในการเตรียมห้องทรีทเม้นท์ จัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้สำหรับให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) ตำแหน่งถูกต้อง ตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ
- ความสามารถในการเตรียมลูกประคบสำหรับให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) ได้ถูกต้องตามใบสั่งงาน ด้วยความรอบคอบ
- ความสามารถในการจัดเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้หลังการให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) ได้ถูกต้อง ตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ
- ความสามารถในการจัดการวัสดุที่ใช้แล้ว/ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วหลังการให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) ได้ถูกต้องตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต และรอบคอบ
- ความสามารถในการจัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้ หลังการให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) ตำแหน่งถูกต้อง ตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ
(3) ให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) แก่ผู้รับบริการ ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์
- ความสามารถในการแนะนำการปฏิบัติตนสำหรับรับบริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) ตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความสุภาพ
- ความสามารถในการให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) โดยการใช้ลูกประคบร่วมกับการนวดไทย เริ่มจาก ศีรษะ แขนซ้าย หน้าท้อง ขาซ้าย แขนขวา และขาขวาโดยคำนึงถึงข้อห้าม ข้อควรระวังในการนวดตามหลักวิชา ด้วยความสุภาพ และระมัดระวัง
(4) แนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) แก่ผู้รับบริการ
- ความสามารถในการแนะนำการปฏิบัติตนภายหลังการรับบริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) ตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความสุภาพ
- ความสามารถในการแนะนำผลิตภัณฑ์ลูกประคบ สำหรับการให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) สอดคล้องตามความต้องการของผู้รับบริการด้วยความสุภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1) เตรียมความพร้อมผู้รับบริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment)
- ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment)
- ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการรับบริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และระบบต่างๆ ทำงานดีขึ้น ผ่อนคลายความเครียด
(2) เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ เครื่องใช้และผลิตภัณฑ์สำหรับให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) ตามที่ผ่านการอบรม
- ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมห้องทรีทเม้นท์ และเครื่องใช้สำหรับให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment)
- ความรู้เกี่ยวกับลูกประคบและการเตรียมลูกประคบสำหรับบริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment)
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้หลังการให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment)
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดการวัสดุที่ใช้แล้ว/ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วหลังการให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) ได้ถูกต้องตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต และรอบคอบ
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้ หลังการให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment)
(3) ให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) แก่ผู้รับบริการตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์
- ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนสำหรับรับบริการนวดไทย แนะนำให้ผู้รับบริการอบอุ่นร่างกาย โดยการอาบน้ำอุ่น (กรณีที่ไม่ได้รับโปรแกรมบริการนวดไทยก่อนหน้า)
- การให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) เป็นการนวดร่วมกับลูกประคบสมุนไพรไทย ที่ต้องมีการทดสอบความร้อนของลูกประคบทุกครั้งหลังจากหยิบออกจากหม้อนึ่ง โดยการประคบแบบยกขึ้น ยกลงในแนวดิ่ง บริเวณใต้ท้องแขนของเทอราปิ้ส
- ท่า/ลักษณะการประคบนวด จะประกอบด้วย
1. การคลึงลูกประคบแบบวนเป็นวงกลม ลักษณะนี้จะใช้คลึงบริเวณแผ่นหลัง และต้นขา (บริเวณที่มีเนื้อที่กว้าง)
2. การกดคลึงแบบซ้ายไปขวา ลักษณะนี้จะใช้คลึงบริเวณ แขน ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ต้นคอ การคลึงโดยการกลิ้งลูกประคบ ลักษณะนี้จะใช้คลึงบริเวณที่มีเนื้อที่แคบ
(4) แนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) แก่ผู้รับบริการ
- ความรู้เกี่ยวกับผลของการนวด หลังจากรับบริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ Home Use สำหรับการบริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
• เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning book)
(ข) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
• เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ เป็นต้น
• เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกงานประจำวัน (Log book)
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
• สภาพการประเมิน (Assessment Condition) เอกสารยืนยันสถานที่ปฏิบัติงานจริง หรือสถานที่ฝึกงานประกอบด้วยห้องปฏิบัติงาน เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ แบบบันทึกข้อมูลต่างๆ แบบรายงานผล
• หลักฐานความรู้ที่ต้องการ เช่น โดยการสอบภาคทฤษฎี โดยใช้แบบข้อสอบ ทั้งปรนัยและอัตนัย หรือ
การสัมภาษณ์ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
• หลักฐานการปฏิบัติที่ต้องการ เช่น โดยการทดสอบภาคปฏิบัติ สังเกตหรือสัมภาษณ์การปฏิบัติงานประจำวัน ซึ่งมีเครื่องมือคือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือแบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยผู้บังคับบัญชา หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ หรือเอกสารรับรองทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเอกสารอื่นๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาชีพ เป็นต้น เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)
(ง) วิธีการประเมิน
• ประเมินความรู้ โดยใช้
(1) ข้อสอบข้อเขียน และ/หรือ แบบประเมินความรู้
(2) ข้อสอบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
• ประเมินทักษะ โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์ หรือ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยหัวหน้างาน หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ
• ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้เครื่องมือ แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
• พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย หลักฐานความรู้ ได้แก่ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book) และหลักฐานทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ หรือ เอกสารรับรองทักษะรายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเอกสารอื่นๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาชีพ เป็นต้น เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)


15. ขอบเขต (Range Statement)

การให้บริการประคบสมุนไพรไทย (Thai Herbal Compress Treatment) คือ การใช้ลูกประคบสมุนไพรไทย ร่วมกับการนวด ซึ่งส่วนผสมของสมุนไพรในลูกประคบ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต บรรเทาอาการเจ็บปวด และเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ กลิ่นหอมของสมุนไพรช่วยเกิดการผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี
ลูกประคบสมุนไพรไทย คือ การนำผ้ามาห่อสมุนไพรไทยบดละเอียด ซึ่งสมุนไพรส่วนใหญ่ ได้แก่ ไพล มะกรูด ตะไคร้ ใบมะขาม การบูร เป็นต้น ซึ่งส่วนผสมดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต บรรเทาอาการเจ็บปวด และเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ กลิ่นหอมของสมุนไพรช่วยเกิดการผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ประเมินความรู้ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยใช้
(1) ข้อสอบข้อเขียน หรือ แบบประเมินความรู้
(2) ข้อสอบสัมภาษณ์ หรือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.2 ประเมินทักษะ เพื่อวัดทักษะ ความสามารถ ความชำนาญ โดยใช้แบบประเมินต่างๆ อาทิ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน
18.3 ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้ แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.4 พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย
(1) หลักฐานความรู้ ได้แก่
(1.1) เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
(1.2) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
(2) หลักฐานทักษะ ได้แก่
(2.1) เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเอกสารอื่นๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาชีพ
(2.2) เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
(2.3) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)



ยินดีต้อนรับ