หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) แก่ผู้รับบริการ

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-SPA-5-134ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) แก่ผู้รับบริการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
อาชีพสปาเทอราปิ้ส ระดับ 5

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะเฉพาะนี้ เป็นหน่วยวัดความรู้ ทักษะ และผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ของสปาเทอราปิ้ส ระดับ 5 ประกอบด้วยสมรรถนะย่อย เตรียมความพร้อมผู้รับบริการเพื่อรับบริการสุคนธบำบัด(Aromatherapy) เตรียมและเก็บห้อง    ทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้สำหรับให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามที่ผ่านการอบรม ให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามขั้นตอนและมาตรฐานทรีทเม้นท์ และแนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการสุคนธบำบัด(Aromatherapy) แก่ผู้รับบริการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กิจกรรมบริการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย (ยกเว้นกิจกรรมด้านกีฬา)สาขาให้บริการสปา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10422-01 เตรียมความพร้อมผู้รับบริการ เพื่อรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) 1.1 สอบทานความต้องการ วัตถุประสงค์ที่มารับบริการครบถ้วนตามแบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ อย่างสุภาพ 10422-01.01 132602
10422-01 เตรียมความพร้อมผู้รับบริการ เพื่อรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) 1.2 เลือกผลิตภัณฑ์ หรือน้ำมันนวด สำหรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามความต้องการของผู้รับบริการ โดยคำนึงถึงการเกิดอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นด้วยความรอบคอบ 10422-01.02 132603
10422-01 เตรียมความพร้อมผู้รับบริการ เพื่อรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) 1.3 ทดสอบการแพ้ของผลิตภัณฑ์ หรือน้ำมันนวด ก่อนการรับบริการสุคนธบำบัด(Aromatherapy) โดยทดสอบใต้ท้องแขนเพื่อระวังไม่ให้เกิดอาการแพ้ด้วยความรอบคอบ 10422-01.03 132604
10422-01 เตรียมความพร้อมผู้รับบริการ เพื่อรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) 1.4 ชี้แจงขั้นตอนการบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความสุภาพ 10422-01.04 132605
10422-01 เตรียมความพร้อมผู้รับบริการ เพื่อรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) 1.5 อธิบายประโยชน์ของการรับบริการสุคนธบำบัด(Aromatherapy) อย่างละเอียด ครบถ้วน ด้วยความสุภาพ 10422-01.05 132606
10422-02 เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ สำหรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามที่ผ่านการอบรม 2.1 เตรียมห้องทรีทเม้นท์ จัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้สำหรับให้บริการสุคนธบำบัด(Aromatherapy) ตามที่ผ่านการอบรม ตำแหน่งถูกต้อง ด้วยความประณีตรอบคอบ 10422-02.01 132607
10422-02 เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ สำหรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามที่ผ่านการอบรม 2.2 เตรียมผลิตภัณฑ์สำหรับให้บริการสุคนธบำบัด(Aromatherapy) ตามใบสั่งงาน ได้ถูกต้อง ด้วยความรอบคอบ 10422-02.02 132608
10422-02 เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ สำหรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามที่ผ่านการอบรม 2.3 จัดเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้หลังการให้บริการสุคนธบำบัด(Aromatherapy) ตามที่ผ่านการอบรม ได้ถูกต้อง ด้วยความประณีตรอบคอบ 10422-02.03 132609
10422-02 เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ สำหรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามที่ผ่านการอบรม 2.4 จัดการวัสดุที่ใช้แล้ว/ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วหลังการให้บริการสุคนธบำบัด(Aromatherapy) ตามที่ผ่านการอบรม ได้ถูกต้องด้วยความประณีตและรอบคอบ 10422-02.04 132610
10422-02 เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ สำหรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามที่ผ่านการอบรม 2.5 จัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้ หลังการให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามที่ผ่านการอบรม ตำแหน่งถูกต้องด้วยความประณีต รอบคอบ 10422-02.05 132611
10422-03 ให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์ 3.1 เตรียมผู้รับบริการสำหรับรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามที่ผ่านการอบรมด้วยความสุภาพ 10422-03.01 132612
10422-03 ให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์ 3.2 ให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) โดยการใช้น้ำมันร่วมกับการนวด และคำนึงถึงข้อห้าม ข้อควรระวังในการนวดตามหลักวิชาด้วยความสุภาพ และระมัดระวัง 10422-03.02 132613
10422-04 แนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการ สุคนธบำบัด (Aromatherapy) แก่ผู้รับบริการ 4.1 แนะนำการปฏิบัติตนภายหลังการรับบริการ สุคนธบำบัด(Aromatherapy) ตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความสุภาพ 10422-04.01 132614
10422-04 แนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการ สุคนธบำบัด (Aromatherapy) แก่ผู้รับบริการ 4.2 แนะนำโปรแกรมทรีทเม้นท์ที่ต่อเนื่อง ตามที่ผ่านการอบรมด้วยความสุภาพ 10422-04.02 132615

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ความรู้ก่อนหน้า ที่จำเป็น ประกอบด้วย
(1) ความรู้เรื่องกายวิภาคศาสตร์ และสรีระวิทยาเบื้องต้น เพื่อเข้าใจโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกายที่สอดคล้องกับการให้บริการสปา เพื่อให้ระบบของร่างกายเกิดความสมดุล ได้แก่ ระบบประสาท ระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบต่อมน้ำเหลือง ระบบหายใจ ระบบกล้ามเนื้อ ระบบผิวหนัง ระบบเผาผลาญ ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์
(2) ความรู้เกี่ยวกับข้อห้าม ข้อควรระวังในการนวด
(3) ความรู้เรื่องข้อควรปฏิบัติในการนวดและมารยาทในการนวดในสปา
(4) ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมห้องทรีทเม้นท์
(ข) ทักษะก่อนหน้า ที่จำเป็น ประกอบด้วย
(1) ความสามารถในการให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ที่สอดคล้องกับโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย เพื่อให้ระบบของร่างกายเกิดความสมดุล ได้แก่ ระบบประสาท ระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบต่อมน้ำเหลือง ระบบหายใจ ระบบกล้ามเนื้อ ระบบผิวหนัง ระบบเผาผลาญ ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์
(2) ความสามารถในการปฏิบัติงานให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) โดยคำนึงถึงข้อห้าม-ข้อควรระวังในการให้บริการ
(3) ความสามารถในการปฏิบัติงานให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) โดยคำนึงถึงข้อควรปฏิบัติในการนวดและมารยาทในการนวดในสปา
(4) ความสามารถในการเตรียมห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ เครื่องใช้ สำหรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1) เตรียมความพร้อมผู้รับบริการเพื่อรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy)
- ความสามารถในการสอบถามและให้บริการตามความต้องการของผู้มารับบริการ
- ความสามารถในการเลือกน้ำมันนวดหรือสำหรับการให้บริการ
- ความสามารถในการทดสอบการแพ้ แก่ผู้รับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) โดยทดสอบใต้ท้องแขนเพื่อระวังไม่ให้เกิดอาการแพ้ ด้วยรอบคอบ
- ความสามารถในการชี้แจงขั้นตอนการบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามขั้นตอนของการนวด ด้วยความสุภาพ
- ความสามารถในการอธิบายประโยชน์ของการรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) อย่างละเอียด ครบถ้วน ด้วยความสุภาพ
(2) เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้สำหรับให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามที่ผ่านการอบรม
- ความสามารถในการเตรียมห้องทรีทเม้นท์ จัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้สำหรับให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามขั้นตอนที่ผ่านการอบรม ตำแหน่งถูกต้อง ด้วยความประณีต รอบคอบ
- ความสามารถในการเตรียมผลิตภัณฑ์สำหรับให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามใบสั่งงาน ได้ถูกต้อง ด้วยความรอบคอบ
- ความสามารถในการจัดเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้หลังการให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามขั้นตอนที่ผ่านการอบรม ได้ถูกต้อง ด้วยความประณีต รอบคอบ
- ความสามารถในการจัดการวัสดุที่ใช้แล้ว/ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วหลังการให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามขั้นตอนที่ผ่านการอบรม ได้ถูกต้องด้วยความประณีต และรอบคอบ
- ความสามารถในการจัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้ หลังการให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามขั้นตอนที่ผ่านการอบรม ตำแหน่งถูกต้อง ด้วยความประณีต รอบคอบ
(3) ให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์
- ความสามารถในการแนะนำการปฏิบัติตนสำหรับรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามขั้นตอนที่ผ่านการอบรม ด้วยความสุภาพ
- ความสามารถในการแสดงขั้นตอนการให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ได้ตามขั้นตอน โดยคำนึงถึง ข้อห้าม ข้อระวังในการนวด
(4) แนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) แก่ผู้รับบริการ
- ความสามารถในการแนะนำการปฏิบัติตนภายหลังการรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามขั้นตอนที่ผ่านการอบรม ด้วยความสุภาพ
- ความสามารถในการแนะนำโปรแกรมทรีทเม้นท์ที่ต่อเนื่อง ตามขั้นตอนที่ผ่านการอบรมด้วยความสุภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1) เตรียมความพร้อมผู้รับบริการเพื่อรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy)
- ความรู้เกี่ยวกับการให้บริการตามความต้องการของผู้รับบริการ
- ความรู้เกี่ยวกับน้ำมันนวดหรือสำหรับการให้บริการ
- ความรู้เกี่ยวกับผลที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเกิดอาการแพ้น้ำมัน และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการแพ้น้ำมัน
(2) ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามขั้นตอนเพื่อผ่อนคลาย
(3) ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และระบบต่างๆ ทำงานดีขึ้น ผ่อนคลายความเครียด
(4) เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้สำหรับให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามที่ผ่านการอบรม
- ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมห้องทรีทเม้นท์ จัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้สำหรับให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy)
- ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สำหรับให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามใบสั่งงาน ได้ถูกต้อง ด้วยความรอบคอบ
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้หลังการให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy)
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดการวัสดุที่ใช้แล้ว/ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วหลังการให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy)
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้ หลังการให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy)
(5) ให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์
- ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนสำหรับรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy)
- ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการให้บริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy)
(6) แนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy) แก่ผู้รับบริการ
- ความรู้เกี่ยวกับผลของการนวด หลังจากรับบริการสุคนธบำบัด (Aromatherapy)
- ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมทรีทเม้นท์ที่ต่อเนื่อง เพื่อทำให้ร่างกายเกิดความสมดุล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
• เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning book)
(ข) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
• เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ เป็นต้น
• เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกงานประจำวัน (Log book)
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
• สภาพการประเมิน (Assessment Condition) เอกสารยืนยันสถานที่ปฏิบัติงานจริง หรือสถานที่ฝึกงานประกอบด้วยห้องปฏิบัติงาน เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ แบบบันทึกข้อมูลต่างๆ แบบรายงานผล
• หลักฐานความรู้ที่ต้องการ เช่น โดยการสอบภาคทฤษฎี โดยใช้แบบข้อสอบ ทั้งปรนัยและอัตนัย หรือการสัมภาษณ์ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
• หลักฐานการปฏิบัติที่ต้องการ เช่น โดยการทดสอบภาคปฏิบัติ สังเกตหรือสัมภาษณ์การปฏิบัติงานประจำวัน ซึ่งมีเครื่องมือ คือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือแบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยผู้บังคับบัญชา หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ หรือเอกสารรับรองทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเอกสารอื่นๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาชีพ เป็นต้น เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)
(ง) วิธีการประเมิน
• ประเมินความรู้ โดยใช้
(1) ข้อสอบข้อเขียน และ/หรือ แบบประเมินความรู้
(2) ข้อสอบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
• ประเมินทักษะ โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์ หรือ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยหัวหน้างาน หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ
• ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้เครื่องมือ แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
• พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย หลักฐานความรู้ ได้แก่ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book) และหลักฐานทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ หรือ เอกสารรับรองทักษะรายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเอกสารอื่นๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาชีพ เป็นต้น เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)


15. ขอบเขต (Range Statement)

การนวดอโรมา (Aroma Massage) คือ การใช้น้ำมันนวดที่มีส่วนสำคัญของน้ำมันหอมระเหย ผสานด้วยเทคนิคการนวดเฉพาะอย่างที่ช่วยสร้างความสุนทรีย์ทางอารมณ์ และผ่อนคลาย
น้ำมันหอมระเหย คือ ผลิตผลจากการสกัดพืชสมุนไพรนานาชนิด ซึ่งอาจสกัดมาจากส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชนั้นๆ
หลักกายวิภาคศาสตร์ คือ หลักวิชาเกี่ยวกับรูปร่างและโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต
หลักสรีระวิทยา คือ วิชาที่ว่าด้วยหน้าที่ของร่างกายสิ่งมีชีวิต และส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ
ข้อห้ามข้อควรระวังในการนวด คือ สิ่งที่ห้ามกระทำ และพึงระวังระหว่างการนวด เช่น ไม่ควรนวดหลังจากรับประทานอาหารใหม่ๆ ไม่ควรนวดในขณะร่างกายอ่อนเพลียมาก ไม่ควรนวดในช่วงมีไข้สูง เป็นต้น
ท่า Effleurage คือ การใช้มือไล้บนผิวหนัง อาจลงน้ำหนักเบา หรือแรงก็ได้ ซึ่งให้ผลแตกต่างกัน การลงน้ำหนักแรงต่อเนื่องเป็นแนวยาวจะให้ผลทางกลศาสตร์ระดับลึก ถ้าลงน้ำหนักเบาในทิศทางใดๆ ซึ่งกระทำได้ทั่วทั้งร่างกายจะเป็นการกระตุ้น และเกิดผลทางด้านจิตใจ ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย โดยถ้าใช้จังหวะเร็ว จะเป็นการกระตุ้น จังหวะช้าจะเป็นการผ่อนคลาย
ท่า Kneading คือ การใช้ฝ่ามือ หรือส่วนของมือกดและคลึงเป็นวงกลม
ท่า Rolling คือ การหยิบผิวหนัง หรือรวมถึงกล้ามเนื้อด้วย ให้อยู่ระหว่าง 4 นิ้วมือกับนิ้วโป้ง แล้วไล่ม้วนส่วนเนื้อเยื่อที่หยิบขึ้นมานั้นก่อนจะปล่อย
ท่า Vibrations คือ การใช้ฝ่ามือวางบนร่างกายแล้วออกแรงสั่นในทิศทางขึ้นลงด้วยความเร็ว


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ประเมินความรู้ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยใช้
(1) ข้อสอบข้อเขียน หรือ แบบประเมินความรู้
(2) ข้อสอบสัมภาษณ์ หรือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.2 ประเมินทักษะ เพื่อวัดทักษะ ความสามารถ ความชำนาญ โดยใช้แบบประเมินต่างๆ อาทิ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน
18.3 ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.4 พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย
(1) หลักฐานความรู้ ได้แก่
(1.1) เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
(1.2) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
(2) หลักฐานทักษะ ได้แก่
(2.1) เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเอกสารอื่นๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาชีพ
(2.2) เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
(2.3) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)
 



ยินดีต้อนรับ