หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) แก่ผู้รับบริการ

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-SPA-5-133ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) แก่ผู้รับบริการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">อาชีพสปาเทอราปิ้ส ระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะเฉพาะนี้เป็นหน่วยวัด ความรู้ ทักษะ และผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ของ สปาเทอราปิ้ส ระดับ 5 โดยต้องมีความรู้ ความสามารถ ประกอบด้วย เตรียมความพร้อมผู้รับบริการเพื่อให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า(FacialLymphatic Draining Massage) เตรียมและจัดเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์เครื่องใช้และผลิตภัณฑ์สำหรับให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (FacialLymphatic Draining Massage) ตามที่ผ่านการอบรม ให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า(Facial Lymphatic Draining Massage) ตามขั้นตอนและมาตรฐานทรีทเม้นท์และแนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (FacialLymphatic Draining Massage) แก่ผู้รับบริการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กิจกรรมบริการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย (ยกเว้นกิจกรรมด้านกีฬา)สาขาให้บริการสปา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10420-01 เตรียมความพร้อมผู้รับบริการเพื่อให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) 1.1 แนะนำผู้รับบริการเตรียมตัวเบื้องต้นก่อนการรับบริการตามเวลาที่กำหนด ด้วยความสุภาพ 10420-01.01 132587
10420-01 เตรียมความพร้อมผู้รับบริการเพื่อให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) 1.2 ชี้แจงขั้นตอนการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้าตามขั้นตอนของการนวดหน้า ด้วยความสุภาพ 10420-01.02 132588
10420-01 เตรียมความพร้อมผู้รับบริการเพื่อให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) 1.3 อธิบายประโยชน์ของการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้าตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความสุภาพ 10420-01.03 132589
10420-02 เตรียมและจัดเก็บห้องทรีทเม้นท์ และเครื่องใช้ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ สำหรับให้บริการ นวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) ตามที่ผ่านการอบรม 2.1 เตรียมห้องทรีทเม้นท์ จัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้สำหรับให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า ได้ตำแหน่งถูกต้อง ตามที่ผ่านการอบรมด้วยความประณีต รอบคอบ 10420-02.01 132590
10420-02 เตรียมและจัดเก็บห้องทรีทเม้นท์ และเครื่องใช้ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ สำหรับให้บริการ นวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) ตามที่ผ่านการอบรม 2.2 เตรียมผลิตภัณฑ์สำหรับให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้าได้ถูกต้อง ตามใบสั่งงาน ด้วยความรอบคอบ 10420-02.02 132591
10420-02 เตรียมและจัดเก็บห้องทรีทเม้นท์ และเครื่องใช้ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ สำหรับให้บริการ นวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) ตามที่ผ่านการอบรม 2.3 จัดเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้หลังการให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้าได้ถูกต้องตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต และรอบคอบ 10420-02.03 132592
10420-02 เตรียมและจัดเก็บห้องทรีทเม้นท์ และเครื่องใช้ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ สำหรับให้บริการ นวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) ตามที่ผ่านการอบรม 2.4 จัดการวัสดุที่ใช้แล้ว/ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วหลังการให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า ได้ถูกต้องตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีตและรอบคอบ 10420-02.04 132593
10420-02 เตรียมและจัดเก็บห้องทรีทเม้นท์ และเครื่องใช้ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ สำหรับให้บริการ นวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) ตามที่ผ่านการอบรม 2.5 จัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้ หลังการให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้าได้ตำแหน่งถูกต้องตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต และรอบคอบ 10420-02.05 132594
10420-03 ให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) ตามขั้นตอน และมาตรฐาน 3.1 เช็ดล้างเครื่องสำอาง ขจัดสิ่งสกปรกออกจากผิวหน้าผู้รับบริการให้สะอาด คำนึงถึงความปลอดภัย ด้วยหลักสุขอนามัย (Unit : Cleansingand Toning) 10420-03.01 132595
10420-03 ให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) ตามขั้นตอน และมาตรฐาน 3.2 ปรับสภาพผิวหน้า เตรียมผิวหน้าให้สะอาด และยกกระชับผิวด้วยโทนเนอร์ ก่อนการนวดบำรุงผิวหน้า อย่างปลอดภัยด้วยหลักสุขอนามัย (Unit: Cleansing and Toning) 10420-03.02 132596
10420-03 ให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) ตามขั้นตอน และมาตรฐาน 3.3 ให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้าโดยใช้น้ำมันร่วมกับการนวดวนตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ 10420-03.03 132597
10420-03 ให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) ตามขั้นตอน และมาตรฐาน 3.4 ซับน้ำมันนวดหน้าออกโดยคำนึงหลักความปลอดภัยและสุขอนามัย 10420-03.04 132598
10420-03 ให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) ตามขั้นตอน และมาตรฐาน 3.5 ทาผลิตภัณฑ์เพื่อฟื้นบำรุงผิวหน้าให้ทั่วใบหน้าด้วยความรอบคอบ 10420-03.05 132599
10420-04 แนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) แก่ผู้รับบริการ 4.1 แนะนำการปฏิบัติตนภายหลังการรับบริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้าให้แก่ผู้รับบริการ ด้วยความสุภาพ 10420-04.01 132600
10420-04 แนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) แก่ผู้รับบริการ 4.2 แนะนำโปรแกรมทรีทเม้นท์ที่ต่อเนื่อง สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการด้วยความสุภาพ 10420-04.02 132601

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น
(1) ความรู้ตามหน่วยสมรรถนะให้บริการวิเคราะห์ผิวหน้า (Facial Skin Analysis) แก่ผู้รับบริการ (รหัสหน่วยสมรรถนะ 10405)
(2) ความรู้ตามหน่วยสมรรถนะให้บริการทำความสะอาดผิวและปรับสภาพผิวหน้า (Cleansing and Toning) แก่ผู้รับบริการ (รหัสหน่วยสมรรถนะ 10406)
(3) ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นตอนการให้บริการสปาทรีทเม้นท์ผิวหน้าตามหลักวิชา
(ข) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น
(1) ความสามารถตามหน่วยสมรรถนะให้บริการวิเคราะห์ผิวหน้า (Facial Skin Analysis) แก่ผู้รับบริการ (รหัสหน่วยสมรรถนะ 10405)
(2) ความสามารถตามหน่วยสมรรถนะให้บริการทำความสะอาดผิวและปรับสภาพผิวหน้า (Cleansing and Toning) แก่ผู้รับบริการ (รหัสหน่วยสมรรถนะ 10406)
(3) ความสามารถเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนการให้บริการสปาทรีทเม้นท์ผิวหน้าตามหลักวิชา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1) เตรียมความพร้อมผู้รับบริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage)
- ความสามารถในการ การส่งมอบชุดที่จะเปลี่ยนให้ผู้รับบริการ และแจ้งเรื่องเวลาที่จะเริ่มต้นให้บริการ ด้วยความสุภาพ
- ความสามารถในการชี้แจงขั้นตอนได้ถูกต้องตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความสุภาพ
- ความสามารถในการอธิบายประโยชน์ที่ได้รับจากการรับบริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า ตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความสุภาพ
(2) เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้สำหรับให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) ตามที่ผ่านการอบรม
- ความสามารถในการเตรียมห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ สำหรับให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า ได้ตำแหน่งถูกต้องตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ
- ความสามารถในการเตรียมผลิตภัณฑ์สำหรับนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า ได้ถูกต้องตามใบสั่งงาน ด้วยความรอบคอบ
- ความสามารถในการจัดเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ หลังนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า ได้ถูกต้องตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ
- ความสามารถในการรวบรวมวัสดุที่ใช้แล้ว/ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้ว หลังการให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า ได้ถูกต้องตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ
- ความสามารถในการจัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้ หลังการให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า ได้ตำแหน่งถูกต้องตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ
(3) ให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์
- ความสามารถในการทำความสะอาดผิวหน้า โดยการเช็ดล้างเครื่องสำอาง ขจัดสิ่งสกปรกออกจากผิวหน้าผู้รับบริการ ให้สะอาด จนเห็นความใสสะอาดของผิวหน้า และมองเห็นความขาวสะอาดของสำลีที่ใช้เช็ดโดยคำนึงถึงความปลอดภัย ตามหลักสุขอนามัย
- ความสามารถในการเตรียมผิวหน้าให้สะอาดและยกกระชับผิว ด้วยโทนเนอร์ จนสำลีขาวสะอาด โดยคำนึงถึงความปลอดภัย ตามหลักสุขอนามัย
- ความสามารถในการแสดงขั้นตอนการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า ได้ตามขั้นตอน ด้วยความประณีต รอบคอบ
- ความสามารถในการซับน้ำมันนวดออกจากผิวหน้าจนสะอาดโดยคำนึงถึงความปลอดภัย ตามหลักสุขอนามัย
- ความสามารถในการทาผลิตภัณฑ์เพื่อฟื้นบำรุงผิวหน้าโดยวนเป็นวงกลมให้ทั่วใบหน้าด้วยความรอบคอบ
(4) แนะนำการปฏิบัติตนหลังรับบริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) แก่ผู้รับบริการ
- ความสามารถในการแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตนภายหลังการรับบริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้าด้วยความสุภาพ
- ความสามารถในการแนะนำโปรแกรมทรีทเม้นท์ที่ต่อเนื่อง สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ ด้วยความสุภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1) เตรียมความพร้อมผู้รับบริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage)
- ความรู้เกี่ยวกับหลักการเตรียมตัวเบื้องต้นเพื่อรับบริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า
- ความรู้เกี่ยวกับการขั้นตอนการนวดเพื่อระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า
- ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้าโดยอาศัยความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ผิว และผลิตภัณฑ์
(2) เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้สำหรับให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) ตามที่ผ่านการอบรม
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดเตรียมห้องทรีทเม้นท์ จัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้สำหรับให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า
- ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมผลิตภัณฑ์นวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า ตามใบสั่งงาน
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้หลังการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า
- ความรู้เกี่ยวกับ ขั้นตอนการ จัดการวัสดุที่ใช้แล้ว/ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้ว หลังการให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้ หลังการให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า
(3) ให้บริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์
- ความรู้เกี่ยวกับหลักการเช็ดล้างเครื่องสำอางตามแนวขุมขนโดยเริ่มจาก
1. ใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับเช็ดสะอาดรอบดวงตาเช็ดที่เปลือกตา มาสคาร่า อายไลน์เนอร์
2. ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เช็ดเครื่องสำอางลงบริเวณที่ต้องการทำความสะอาดและนวดวนทั่วหน้า
3. การเช็ดเครื่องสำอางทั่วใบหน้าจนสะอาด
- ความรู้เกี่ยวกับการใช้โทนเนอร์ปรับสภาพผิวหน้าให้สมดุลตามสภาพปกติ
- ความรู้เกี่ยวกับการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า โดยอาศัยความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ผิว และประโยชน์ของการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า เช่น
1. เทน้ำมันนวดหน้าลงฝ่ามือ และทำน้ำมันนวดให้อุ่นด้วยฝ่ามือ
2. นำน้ำมันที่ฝ่ามือประกบลงบนใบหน้าแล้วลูบวนให้ทั่วใบหน้า
3. นวดวนเพื่อระบายน้ำเหลืองตามขั้นตอน
- ความรู้เกี่ยวกับเทคนิควิธีการซับน้ำมันนวดหน้าจนผิวหน้าสะอาด เช่น
1. ใช้กระดาษทิชชู่ซับน้ำมันนวดออกจากใบหน้า
2. นำสำลีหมาด เช็ดทั่วใบหน้าและลำคอ
3. นำกระดาษทิชชู่ซับหน้าให้แห้ง
- ความรู้ในการประยุกต์ใช้น้ำและสำลี เพื่อการเช็ดผลิตภัณฑ์นวดหน้า
- ความรู้เกี่ยวกับผิวหน้าและผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผิวได้รับสารอาหารต่างๆ โดยอาศัยความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ผิว
(4) แนะนำการปฏิบัติตนหลังรับบริการนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า (Facial Lymphatic Draining Massage) แก่ผู้รับบริการ
- ความรู้เกี่ยวกับผิวหน้าและคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผิวได้รับสารอาหารต่างๆ โดยอาศัยความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ผิว
- ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมทรีทเม้นท์ที่ต่อเนื่องเพื่อให้ร่างกายเกิดความสมดุล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
• เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning book)
(ข) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
• เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ เป็นต้น
• เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกงานประจำวัน (Log book)
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
• สภาพการประเมิน (Assessment Condition) เอกสารยืนยันสถานที่ปฏิบัติงานจริง หรือสถานที่ฝึกงานประกอบด้วยห้องปฏิบัติงาน เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ แบบบันทึกข้อมูลต่างๆ แบบรายงานผล
• หลักฐานความรู้ที่ต้องการ เช่น โดยการสอบภาคทฤษฎี โดยใช้แบบข้อสอบ ทั้งปรนัยและอัตนัย หรือ
การสัมภาษณ์ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
• หลักฐานการปฏิบัติที่ต้องการ เช่น โดยการทดสอบภาคปฏิบัติ สังเกตหรือสัมภาษณ์การปฏิบัติงานประจำวัน ซึ่งมีเครื่องมือคือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือแบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยผู้บังคับบัญชา หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ หรือเอกสารรับรองทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเอกสารอื่นๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาชีพ เป็นต้น เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)
(ง) วิธีการประเมิน
ประเมินความรู้ โดยใช้
(1) ข้อสอบข้อเขียน และ/หรือ แบบประเมินความรู้
(2) ข้อสอบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
• ประเมินทักษะ โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์ หรือ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยหัวหน้างาน หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ
• ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้เครื่องมือ แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
• พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย หลักฐานความรู้ ได้แก่ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book) และหลักฐานทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ หรือ เอกสารรับรองทักษะรายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเอกสารอื่นๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาชีพ เป็นต้น เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)


15. ขอบเขต (Range Statement)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">การนวดระบายต่อมน้ำเหลืองบนใบหน้า คือ การนวดแบบไม่มีน้ำหนัก
แต่นวดเป็นจังหวะ และเน้นไปที่ระบบไหลเวียนน้ำเหลืองบนใบหน้า เพื่อที่จะทำให้เกิดการล้างพิษ
โดยการกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต และระบบไหลเวียนน้ำเหลือง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ประเมินความรู้ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยใช้
(1) ข้อสอบข้อเขียน หรือ แบบประเมินความรู้
(2) ข้อสอบสัมภาษณ์ หรือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.2 ประเมินทักษะ เพื่อวัดทักษะ ความสามารถ ความชำนาญ โดยใช้แบบประเมินต่างๆ อาทิ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน
18.3 ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้ แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.4 พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย
(1) หลักฐานความรู้ ได้แก่
(1.1) เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
(1.2) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
(2) หลักฐานทักษะ ได้แก่
(2.1) เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเอกสารอื่นๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาชีพ
(2.2) เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
(2.3) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)



ยินดีต้อนรับ