หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ให้บริการขัดผิวกาย (Body Scrub) แก่ผู้รับบริการ

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-SPA-4-126ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ให้บริการขัดผิวกาย (Body Scrub) แก่ผู้รับบริการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">อาชีพสปาเทอราปิ้ส ระดับ 4



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะเฉพาะนี้ เป็นหน่วยวัด ความรู้ ทักษะ และผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ของสปาเทอราปิ้ส ระดับ 4 ผู้ปฏิบัติงานที่ใช้ทักษะอาชีพเฉพาะทาง โดยต้องมีความรู้ ความสามารถประกอบด้วย เตรียมความพร้อมผู้รับบริการเพื่อรับบริการขัดผิวกาย (Body Scrub) เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์อุปกรณ์ เครื่องใช้และผลิตภัณฑ์สำหรับให้บริการขัดผิวกาย (Body Scrub) ตามที่ผ่านการอบรม ให้บริการขัดผิวกาย (Body Scrub)ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์ และแนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการขัดผิวกาย (BodyScrub) แก่ผู้รับบริการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กิจกรรมบริการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย (ยกเว้นกิจกรรมด้านกีฬา)สาขาให้บริการสปา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10410-01 เตรียมความพร้อมผู้รับบริการเพื่อรับบริการขัดผิวกาย (Body Scrub) 1.1 แนะนำผู้รับบริการเตรียมตัวเบื้องต้นก่อนการรับบริการตามเวลาที่กำหนดด้วยความสุภาพ 10410-01.01 132491
10410-01 เตรียมความพร้อมผู้รับบริการเพื่อรับบริการขัดผิวกาย (Body Scrub) 1.2 อธิบายสรรพคุณผลิตภัณฑ์ก่อนขัดผิวกาย ตามความต้องการของผู้รับบริการด้วยความสุภาพ 10410-01.02 132492
10410-01 เตรียมความพร้อมผู้รับบริการเพื่อรับบริการขัดผิวกาย (Body Scrub) 1.3 ทบทวนทรีทเม้นท์ ตามความต้องการของผู้รับบริการด้วยความสุภาพรอบคอบ 10410-01.03 132493
10410-01 เตรียมความพร้อมผู้รับบริการเพื่อรับบริการขัดผิวกาย (Body Scrub) 1.4 แนะนำประโยชน์ที่ได้รับหลังจากการขัดผิวกายอย่างละเอียด ครบถ้วน ด้วยความสุภาพ 10410-01.04 132494
10410-02 เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ เครื่องใช้และผลิตภัณฑ์ สำหรับให้บริการขัดผิวกาย (Body Scrub) ตามที่ผ่านการอบรม 2.1 เตรียมห้องทรีทเม้นท์ จัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้สำหรับให้บริการขัดผิวกาย ได้ตำแหน่งถูกต้อง ตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ 10410-02.01 132495
10410-02 เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ เครื่องใช้และผลิตภัณฑ์ สำหรับให้บริการขัดผิวกาย (Body Scrub) ตามที่ผ่านการอบรม 2.2 เตรียมผลิตภัณฑ์สำหรับให้บริการขัดผิวกายได้ถูกต้อง ตามใบสั่งงาน ด้วยความรอบคอบ 10410-02.02 132496
10410-02 เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ เครื่องใช้และผลิตภัณฑ์ สำหรับให้บริการขัดผิวกาย (Body Scrub) ตามที่ผ่านการอบรม 2.3 จัดเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้หลังการให้บริการขัดผิวกายได้ถูกต้องตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ 10410-02.03 132497
10410-02 เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ เครื่องใช้และผลิตภัณฑ์ สำหรับให้บริการขัดผิวกาย (Body Scrub) ตามที่ผ่านการอบรม 2.4 จัดการวัสดุที่ใช้แล้ว/ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วหลังการให้บริการขัดผิวกายได้ถูกต้องตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ 10410-02.04 132498
10410-02 เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ เครื่องใช้และผลิตภัณฑ์ สำหรับให้บริการขัดผิวกาย (Body Scrub) ตามที่ผ่านการอบรม 2.5 จัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้ หลังการให้บริการขัดผิวกายได้ตำแหน่งถูกต้อง ตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ 10410-02.05 132499
10410-03 ให้บริการขัดผิวกาย (Body Exfoliate / Scrub) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์ 3.1 ให้บริการขัดผิวกาย โดยขจัดเซลที่ตายแล้วออกจากผิวกายโดยเน้นจุดที่สำคัญ เช่น ข้อศอก หัวเข่า ตาตุ่ม และระวังบริเวณบาดแผล ด้วยความประณีตรอบคอบ 10410-03.01 132500
10410-03 ให้บริการขัดผิวกาย (Body Exfoliate / Scrub) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์ 3.2 เช็ดผลิตภัณฑ์ขัดผิวกายจากตัว ไม่ให้ผลิตภัณฑ์ร่วงหล่นลงพื้น ด้วยความประณีต รอบคอบ 10410-03.02 132501
10410-03 ให้บริการขัดผิวกาย (Body Exfoliate / Scrub) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์ 3.3 เชิญผู้รับบริการล้างตัว ตามที่ผ่านการอบรมด้วยความสุภาพ 10410-03.03 132502
10410-03 ให้บริการขัดผิวกาย (Body Exfoliate / Scrub) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์ 3.4 รวบ เก็บผ้ารองทำทรีทเม้นท์ หลังให้บริการขัดผิวกายโดยไม่ให้ผลิตภัณฑ์ร่วงหล่นลงพื้นด้วยความประณีต รอบคอบ 10410-03.04 132503
10410-04 แนะนำการปฏิบัติตนแก่ผู้รับบริการ หลังการรับบริการขัดผิวกาย (Body Scrub) แก่ผู้รับบริการ 4.1 แนะนำการปฏิบัติตนภายหลังการรับบริการขัดผิวกายแก่ผู้รับบริการตามที่ผ่านการอบรมด้วยความสุภาพ 10410-04.01 132504
10410-04 แนะนำการปฏิบัติตนแก่ผู้รับบริการ หลังการรับบริการขัดผิวกาย (Body Scrub) แก่ผู้รับบริการ 4.2 แนะนำโปรแกรมทรีทเม้นท์ที่ต่อเนื่องตามที่ผ่านการอบรมด้วยความสุภาพ 10410-04.02 132505
10410-04 แนะนำการปฏิบัติตนแก่ผู้รับบริการ หลังการรับบริการขัดผิวกาย (Body Scrub) แก่ผู้รับบริการ 4.3 แนะนำผลิตภัณฑ์ Home Use สำหรับการขัดผิวกาย สอดคล้องตามความต้องการของผู้รับบริการด้วยความสุภาพ 10410-04.03 132506

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น
(1) ความรู้เรื่องโครงสร้างของผิวหนัง ชนิดของผิวหนัง สภาพผิวหนัง และโรคผิวหนังเบื้องต้น
(2) ความรู้พื้นฐานกายวิภาคศาสตร์ สรีระวิทยาเบื้องต้นเพื่อเข้าใจโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกายที่สอดคล้องกับการให้บริการสปา
(3) ความรู้เรื่องเครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อให้บริการขัดผิวกาย
(ข) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น
(1) ความสามารถในการวิเคราะห์โครงสร้างของผิวหนัง ชนิดของผิวหนัง สภาพผิวหนัง และโรคผิวหนังเบื้องต้น
(2) ความสามารถในการประยุกต์ความรู้พื้นฐานกายวิภาคศาสตร์ สรีระวิทยาเบื้องต้นเพื่อให้บริการขัดผิวกาย
(3) ความสามารถในการเตรียมเครื่องมือ และอุปกรณ์การให้บริการขัดผิวกาย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1) เตรียมความพร้อมของผู้รับบริการเพื่อขัดผิวกาย (Body Scrub)
- ความสามารถในการส่งมอบชุดที่จะเปลี่ยนให้ผู้รับบริการ และแจ้งเรื่องเวลาที่จะเริ่มต้นให้บริการด้วยความสุภาพ
- ความสามารถในการแนะนำผลิตภัณฑ์สำหรับให้บริการขัดผิวกาย ตามความต้องการของผู้รับบริการด้วยความสุภาพ
- ความสามารถในการทบทวนทรีทเม้นท์ ตามความต้องการของผู้รับบริการด้วยความรอบคอบและสุภาพ
- ความสามารถในการอธิบายประโยชน์ที่ได้รับจากการรับบริการขัดผิวกาย อย่างละเอียด ครบถ้วน ด้วยความสุภาพ
(2) เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ เครื่องใช้และผลิตภัณฑ์สำหรับให้บริการขัดผิวกาย (Body Scrub) ตามที่ผ่านการอบรม
- ความสามารถในการเตรียมห้องทรีทเม้นท์ จัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้ สำหรับให้บริการขัดผิวกาย ได้ตำแหน่งถูกต้อง ตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ
- ความสามารถในการเตรียมผลิตภัณฑ์สำหรับให้บริการขัดผิวกาย ได้ถูกต้อง ตามใบสั่งงาน ด้วยความรอบคอบ
- ความสามารถในการจัดเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้หลังการให้บริการขัดผิวกาย ได้ถูกต้องตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ
- ความสามารถในการจัดการวัสดุที่ใช้แล้ว/ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วหลังการให้บริการขัดผิวกาย ได้ถูกต้องตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ
- ความสามารถในการจัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้ หลังการให้บริการขัดผิวกาย ได้ตำแหน่งถูกต้อง ตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ
(3) ให้บริการขัดผิวกาย (Body Scrub) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์
- ความสามารถในการขัดผิวกาย แก่ผู้รับบริการได้ตามที่ผ่านการอบรม
- ความสามารถในการเช็ดผลิตภัณฑ์ขัดผิวกาย ออกจากตัว จนเกลี้ยงโดยไม่หล่นลงพื้นห้องทรีทเม้นท์
- ความสามารถในการสื่อสารพร้อมให้คำแนะนำอย่างสุภาพ
- ความสามารถตามขั้นตอน การรวบ เก็บผ้ารองทำทรีทเม้นท์ หลังให้บริการขัดผิวกาย ได้ถูกต้อง
(4) แนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการขัดผิวกาย (Body Scrub)
- ความสามารถในการแนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการขัดผิวกาย แก่ผู้รับบริการตามที่ผ่านการอบรมด้วยความสุภาพ
- ความสามารถในการแนะนำโปรแกรมทรีทเม้นท์ที่ต่อเนื่องตามที่ผ่านการอบรมด้วยความสุภาพ
- ความสามารถในการแนะนำผลิตภัณฑ์ Home Use สำหรับการขัดผิวกาย สอดคล้องตามความต้องการของผู้รับบริการด้วยความสุภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1) เตรียมความพร้อมผู้รับบริการขัดผิวกาย (Body Scrub)
- ความรู้เกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับหลักการเตรียมตัวเบื้องต้นก่อนรับบริการขัดผิวกาย
- ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ขัดผิวกาย
- ความรู้เกี่ยวกับทรีทเม้นท์ที่ผู้รับบริการเลือก
- ความรู้เกี่ยวกับการขัดผิวกาย เพื่อให้ผิวได้รับสารอาหารต่างๆ โดยอาศัยความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ผิว และผลิตภัณฑ์
(2) เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ เครื่องใช้และผลิตภัณฑ์ สำหรับให้บริการขัดผิวกาย (Body Scrub) ตามที่ผ่านการอบรม
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดเตรียมห้องทรีทเม้นท์ จัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้สำหรับให้บริการขัดผิวกาย
- ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมผลิตภัณฑ์เพื่อขัดผิวกาย ตามใบสั่งงาน
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้หลังการขัดผิวกาย
- ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการจัดการวัสดุที่ใช้แล้ว/ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้ว หลังการให้บริการขัดผิวกาย
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้ หลังการให้บริการขัดผิวกาย
(3) ให้บริการขัดผิวกายตามสภาพผิวกายของผู้รับบริการ (Body Scrub) ตามมาตรฐานทรีทเม้นท์
- ความรู้เกี่ยวกับการให้บริการขัดผิวกาย แก่ผู้รับบริการ
- ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการเช็ดผลิตภัณฑ์ขัดผิวกาย (Scrub) จากตัว
- ความรู้ที่ผ่านการอบรมตามมารยาทไทยในการให้บริการ
- ความรู้เกี่ยวกับ การรวบ เก็บผ้ารองทำทรีทเม้นท์ หลังให้บริการขัดผิวกาย
(4) แนะนำการปฏิบัติตนแก่ผู้รับบริการ หลังจากการรับบริการขัดผิวกาย (Body Scrub)
- ความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ภายหลังการรับบริการขัดผิวกาย
- ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมทรีทเม้นท์ที่ต่อเนื่องเพื่อให้ร่างกายเกิดความสมดุล
- ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ Home Use สำหรับขัดผิวกาย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
• เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning book)
(ข) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
• เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ เป็นต้น
• เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกงานประจำวัน (Log book)
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
• สภาพการประเมิน (Assessment Condition) เอกสารยืนยันสถานที่ปฏิบัติงานจริง หรือสถานที่ฝึกงานประกอบด้วยห้องปฏิบัติงาน เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ แบบบันทึกข้อมูลต่างๆ แบบรายงานผล
• หลักฐานความรู้ที่ต้องการ เช่น โดยการสอบภาคทฤษฎี โดยใช้แบบข้อสอบ ทั้งปรนัยและอัตนัย หรือ
การสัมภาษณ์ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
• หลักฐานการปฏิบัติที่ต้องการ เช่น โดยการทดสอบภาคปฏิบัติ สังเกตหรือสัมภาษณ์การปฏิบัติงานประจำวัน ซึ่งมีเครื่องมือคือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือแบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยผู้บังคับบัญชา หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ หรือการประเมิน 360 องศา จากผู้บังคับบัญชา ลูกน้อง เพื่อนร่วมวิชาชีพ และผู้รับบริการ หรือเอกสารรับรองทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเอกสารอื่นๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาชีพ เป็นต้น เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)
(ง) วิธีการประเมิน
• ประเมินความรู้ โดยใช้
(1) ข้อสอบข้อเขียน และ/หรือ แบบประเมินความรู้
(2) ข้อสอบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
• ประเมินทักษะ โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์ หรือ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยหัวหน้างาน หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ หรือ การประเมิน 360 องศา จากหัวหน้างาน ลูกน้อง เพื่อนร่วมวิชาชีพ และ ผู้รับบริการ
• ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้เครื่องมือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ และ/หรือแบบประเมิน 360 องศา
• พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย หลักฐานความรู้ ได้แก่ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book) และหลักฐานทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ หรือ เอกสารรับรองทักษะรายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเอกสารอื่นๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาชีพ เป็นต้น เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)


15. ขอบเขต (Range Statement)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">การขัดตัว (
font-family:"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH">Body Scrub) คือ การขัดเพื่อขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วบนร่างกาย
โดยเน้นจุดสำคัญ เช่น ข้อศอก ตาตุ่ม หัวเข่า เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ประเมินความรู้ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยใช้
(1) ข้อสอบข้อเขียน หรือ แบบประเมินความรู้
(2) ข้อสอบสัมภาษณ์ หรือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.2 ประเมินทักษะ เพื่อวัดทักษะ ความสามารถ ความชำนาญ โดยใช้แบบประเมินต่างๆ อาทิ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน
18.3 ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้ แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.4 พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย
(1) หลักฐานความรู้ ได้แก่
(1.1) เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
(1.2) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
(2) หลักฐานทักษะ ได้แก่
(2.1) เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเอกสารอื่นๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาชีพ
(2.2) เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
(2.3) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)



ยินดีต้อนรับ