หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ผิวหน้า (Facial Skin Analysis) แก่ผู้รับบริการ

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-SPA-4-121ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ผิวหน้า (Facial Skin Analysis) แก่ผู้รับบริการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">อาชีพสปาเทอราปิ้ส ระดับ 4



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะเฉพาะนี้ เป็นหน่วยวัดความรู้ ทักษะและผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ของสปาเทอราปิ้ส ระดับ 4 ประกอบด้วยสมรรถนะย่อย สอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้รับบริการ และวิเคราะห์ผิวหน้าผู้รับบริการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กิจกรรมบริการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย (ยกเว้นกิจกรรมด้านกีฬา)สาขาให้บริการสปา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10405-01 สอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้รับบริการ 1.1 สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผิวหน้าและผลิตภัณฑ์ที่เคยใช้กับผิวหน้าได้ครบถ้วนตามแบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ด้วยการสื่อสารอย่างสุภาพ 10405-01.01 132423
10405-01 สอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้รับบริการ 1.2 สอบถามพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการได้ครบถ้วนตามแบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ด้วยการสื่อสารอย่างสุภาพ 10405-01.02 132424
10405-01 สอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้รับบริการ 1.3 สอบถามประวัติการทำศัลยกรรม ตกแต่งบนใบหน้าหรือการทำเลเซอร์ของผู้รับบริการได้ครบถ้วน ตามแบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ด้วยการสื่อสารอย่างสุภาพ 10405-01.03 132425
10405-02 วิเคราะห์ผิวหน้าผู้รับบริการ 2.1 ทำความสะอาดผิวหน้า โดยเช็ดล้างเครื่องสำอาง ขจัดสิ่งสกปรกออกจากผิวหน้าผู้รับบริการให้สะอาดปลอดภัย ด้วยหลักสุขอนามัย 10405-02.01 132426
10405-02 วิเคราะห์ผิวหน้าผู้รับบริการ 2.2 สังเกตประเภทผิวหน้าได้ถูกต้องตามประเภทผิวหน้าของผู้รับบริการ(ผิวธรรมดา ผิวแห้ง ผิวมัน ผิวผสม) ด้วยความรอบคอบ และสุภาพ 10405-02.02 132427
10405-02 วิเคราะห์ผิวหน้าผู้รับบริการ 2.3 วิเคราะห์สภาพผิวหน้าด้วยตาเปล่าได้ถูกต้องตามสภาพผิวหน้าของผู้รับบริการ(ปัญหาสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ รอยหมองคล้ำต่างๆ) ด้วยความรอบคอบ 10405-02.03 132428
10405-02 วิเคราะห์ผิวหน้าผู้รับบริการ 2.4 วิเคราะห์สภาพผิวหน้าด้วยเครื่องมือได้ถูกต้องปฏิบัติตามขั้นตอน คู่มือการใช้งาน ด้วยความรอบคอบ 10405-02.04 132429
10405-02 วิเคราะห์ผิวหน้าผู้รับบริการ 2.5 สรุปผลการวิเคราะห์ผิวหน้าได้ถูกต้องตรงตามประเภทและสภาพผิวของผู้รับบริการด้วยความรอบคอบและสุภาพ 10405-02.05 132430

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น
(1) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับผิวหน้า
(2) ความรู้เรื่องโครงสร้างผิวหนัง หน้าที่ผิวหนัง ประเภทและสภาพผิวหนัง
(3) ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ผิวหน้า
(4) ความรู้เกี่ยวกับการอ่านรายงานผลการวิเคราะห์
(ข) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น
(1) ความสามารถในการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผิวหน้าและผลิตภัณฑ์ที่เคยใช้กับผิวหน้า
(2) ความสามารถในการสอบถามข้อมูลพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการได้
(3) ความสามารถในการสอบถามประวัติการทำศัลยกรรม ตกแต่งบนใบหน้า หรือการทำเลเซอร์ของผู้รับบริการ
(4) ความสามารถในการสังเกตประเภทผิวหน้า
(5) ความสามารถในการวิเคราะห์สภาพผิวหน้าด้วยตาเปล่า
(6) ความสามารถในการใช้เครื่องมือวิเคราะห์สภาพผิวหน้าด้วยเครื่องมือ
(7) ความสามารถในการสรุปผลการวิเคราะห์ผิวหน้า


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1) สอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้รับบริการ
- ความสามารถในการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผิวหน้าและผลิตภัณฑ์ที่เคยใช้กับผิวหน้าได้ครบถ้วน ตามแบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ด้วยการสื่อสารอย่างสุภาพ
- ความสามารถในการสอบถามข้อมูลพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการได้ครบถ้วน ตามแบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ด้วยการสื่อสารอย่างสุภาพ
- ความสามารถในการสอบถามประวัติการทำศัลยกรรม ตกแต่งบนใบหน้า หรือการทำเลเซอร์ของผู้รับบริการได้ครบถ้วน ตามแบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ด้วยการสื่อสารอย่างสุภาพ
(2) วิเคราะห์ผิวหน้าผู้รับบริการสปาทรีทเม้นท์
- ความสามารถในลำดับขั้นตอนการเช็ดเครื่องสำอาง และการใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดผิวหน้า โดยเช็ดล้างเครื่องสำอาง ขจัดสิ่งสกปรกออกจากผิวหน้าผู้รับบริการให้สะอาดปลอดภัย ด้วยหลักสุขอนามัย
- ความสามารถในการสังเกตประเภทผิวหน้าได้ถูกต้องตามประเภทผิวหน้าของผู้รับบริการ ด้วยความรอบคอบ และสุภาพ
- ความสามารถในการวิเคราะห์สภาพผิวหน้าด้วยตาเปล่าได้ถูกต้องตามสภาพผิวหน้าของผู้รับบริการ ด้วยความรอบคอบ
- ความสามารถในการใช้เครื่องมือวิเคราะห์สภาพผิวหน้าด้วยเครื่องมือได้ถูกต้อง ปฏิบัติตามขั้นตอน คู่มือการใช้งาน ด้วยความรอบคอบ
- ความสามารถในการสรุปผลการวิเคราะห์ผิวหน้าได้ถูกต้องตรงตามประเภทและสภาพผิวของผู้รับบริการด้วยความรอบคอบ และสุภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1) สอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้รับบริการ
- ความรู้เรื่องโครงสร้างผิวหนัง หน้าที่ผิวหนัง ประเภทและสภาพผิวหนัง และการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผิวหน้าและผลิตภัณฑ์ที่เคยใช้กับผิวหน้า
- ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการสอบถามพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการ
- ความรู้เกี่ยวกับใบหน้าที่ผ่านการทำศัลยกรรมเบื้องต้นและการสอบถามประวัติการทำศัลยกรรม ตกแต่งบนใบหน้า หรือการทำเลเซอร์ของผู้รับบริการ
(2) วิเคราะห์ผิวหน้าผู้รับบริการสปาทรีทเม้นท์
- ความรู้เรื่องโครงสร้างผิวหนัง หน้าที่ผิวหนัง ประเภทและสภาพผิวหนัง และขั้นตอนในการเช็ดล้างเครื่องสำอางทำความสะอาดผิวหน้าของผู้รับบริการ
- ความรู้เรื่องโครงสร้างผิวหนัง หน้าที่ผิวหนัง ประเภทและสภาพผิวหนัง และการสังเกตประเภทผิวหน้าได้ถูกต้องตามประเภทผิวหน้าของผู้รับบริการ
- ความรู้เรื่องโครงสร้างผิวหนัง หน้าที่ผิวหนัง ประเภทและสภาพผิวหนัง และการวิเคราะห์สภาพผิวหน้าด้วยตาเปล่าได้ถูกต้องตามสภาพผิวหน้าของผู้รับบริการ
- ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ผิวหน้าและการวิเคราะห์สภาพผิวหน้าด้วยเครื่องมือได้ถูกต้อง
- ความรู้เกี่ยวกับการอ่านรายงานผลการวิเคราะห์ และการสรุปผลการวิเคราะห์ผิวหน้าได้ถูกต้องตรงตามประเภทและสภาพผิวของผู้รับบริการ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
• เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning book)
(ข) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
• เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ เป็นต้น
• เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกงานประจำวัน (Log book)
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
• สภาพการประเมิน (Assessment Condition) เอกสารยืนยันสถานที่ปฏิบัติงานจริง หรือสถานที่ฝึกงานประกอบด้วยห้องปฏิบัติงาน เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ แบบบันทึกข้อมูลต่างๆ แบบรายงานผล
• หลักฐานความรู้ที่ต้องการ เช่น โดยการสอบภาคทฤษฎี โดยใช้แบบข้อสอบ ทั้งปรนัยและอัตนัย หรือ
การสัมภาษณ์ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
• หลักฐานการปฏิบัติที่ต้องการ เช่น โดยการทดสอบภาคปฏิบัติ สังเกตหรือสัมภาษณ์การปฏิบัติงานประจำวัน ซึ่งมีเครื่องมือคือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือแบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยผู้บังคับบัญชา หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ หรือเอกสารรับรองทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเอกสารอื่นๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาชีพ เป็นต้น เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)
(ง) วิธีการประเมิน
• ประเมินความรู้ โดยใช้
(1) ข้อสอบข้อเขียน และ/หรือ แบบประเมินความรู้
(2) ข้อสอบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
• ประเมินทักษะ โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์ หรือ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ แบบแสดงทักษะ
การปฏิบัติงาน ประเมินโดยหัวหน้างาน หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ
• ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้เครื่องมือ แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
• พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย หลักฐานความรู้ ได้แก่ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book) และหลักฐานทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ หรือ เอกสารรับรองทักษะรายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเอกสารอื่นๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาชีพ เป็นต้น เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)


15. ขอบเขต (Range Statement)

โครงสร้างผิวหนัง คือ ผิวหนังของมนุษย์ โดยทั่วไปมีความหนาประมาณ 1.5-4.0 มม. ประกอบด้วย 3 ชั้นหลักๆ ได้แก่
1. ชั้นอีพิเดมิส (Epidermis) เป็นผิวชั้นนอกสุด
2. ชั้นเดอมิส (Dermis) หรือชั้นหนังแท้
3. ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง (Subcutaneous fat layer) หรือชั้นใต้ผิวหนัง
ซึ่งแต่ละชั้นก็มีหน้าที่แตกต่างกันไป
หน้าที่ของผิวหนัง คือ ปกป้องอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ใต้ผิวหนังจากสิ่งต่างๆ โดยทำหน้าที่ ดังนี้
1. ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่
2. กักเก็บน้ำและไขมัน
3. มีปลายประสาทรับรู้ความรู้สึก
4. ป้องกันการสูญเสียน้ำ
5. ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
ประเภทของผิว คือ ลักษณะของผิวแต่ละคน โดยสามารถแยกได้ 4 ประเภท ได้แก่
1. ผิวธรรมดา คือ มีลักษณะผิวเรียบเนียน เห็นรูขุมขนไม่ชัด ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องผิวแห้ง หรือมันจนเกินไป ไม่มีปัญหาเรื่องสิว แต่ถ้าอากาศหนาวเย็นหรือร้อนมาก ก็อาจทำให้ผิวแห้งลอกหรือมันได้
2. ผิวผสม คือ สภาพผิวที่มีผิวมัน และมองเห็นรูขุมขนกว้าง ในบริเวณ ที-โซน (T-ZONE) ขณะเดียวกันก็มีผิวธรรมดาถึงผิวแห้งบริเวณข้างแก้ม
3. ผิวมัน คือ สภาพผิวที่มีต่อมไขมันบริเวณใบหน้าจะผลิตน้ำมันออกมามากเกินความจำเป็น ทำให้ใบหน้าแลดูมัน รูขุมขนกว้าง
4. ผิวแห้ง คือ สภาพผิวที่มีสาเหตุเนื่องมาจากต่อมไขมัน ผลิตน้ำมันนตามธรรมชาติ ซีบัม (Sebum) ออกมาน้อย
ปัญหาของผิวหน้า คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผิวหน้าซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ดูชีวิต หรือพฤติกรรมการดูแลผิวของแต่ละบุคคล ปัญหาของผิวหน้า เช่น ปัญหาสิว ฝ้า กระ หรือสีผิวไม่เรียบเสมอกัน จุดด่างดำจากสิว เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
สามารถกำหนดเป็นหน่วยสมรรถนะร่วมกันระหว่าง สปาเทอราปิ้สกับ สปารีเซฟชั่น เนื่องจากเป็นสมรรถนะขั้นพื้นฐานของการให้บริการด้านผิวหน้า ที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสปาต้องมีทักษะและความรู้ก่อนการให้บริการด้านผิวหน้า

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ประเมินความรู้ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยใช้
(1) ข้อสอบข้อเขียน หรือ แบบประเมินความรู้
(2) ข้อสอบสัมภาษณ์ หรือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.2 ประเมินทักษะ เพื่อวัดทักษะ ความสามารถ ความชำนาญ โดยใช้แบบประเมินต่างๆ อาทิ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน
18.3 ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้ แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.4 พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย
(1) หลักฐานความรู้ ได้แก่
(1.1) เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
(1.2) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
(2) หลักฐานทักษะ ได้แก่
(2.1) เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเอกสารอื่นๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาชีพ
(2.2) เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
(2.3) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)



ยินดีต้อนรับ