หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ให้บริการนวดไทย (Traditional Thai Massage) แก่ผู้รับบริการ

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-SPA-3-101ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ให้บริการนวดไทย (Traditional Thai Massage) แก่ผู้รับบริการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">อาชีพสปาเทอราปิ้ส ระดับ 3



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยวัดสมรรถนะเฉพาะนี้ เป็นหน่วยวัด ความรู้ ทักษะ และผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ของสปาเทอราปิ้ส ระดับ 3 โดยต้องมีความรู้ ความสามารถ ประกอบด้วย เตรียมความพร้อมผู้รับบริการนวดไทย(TraditionalThai Massage) เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ จัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้สำหรับให้บริการนวดไทย(Traditional Thai Massage)ตามที่ผ่านการอบรม ให้บริการนวดไทย(Traditional Thai Massage) ตามขั้นตอนและมาตรฐานทรีทเม้นท์ และแนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการนวดไทย(Traditional Thai Massage) แก่ผู้รับบริการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กิจกรรมบริการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย (ยกเว้นกิจกรรมด้านกีฬา)สาขาให้บริการสปา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10413-01 เตรียมความพร้อมผู้รับบริการ เพื่อรับบริการนวดไทย (Traditional Thai Massage) 1.1ชี้แจงขั้นตอนการนวดไทยตามขั้นตอนของการนวดไทยเพื่อผ่อนคลาย ด้วยความสุภาพ 10413.01.01 132246
10413-01 เตรียมความพร้อมผู้รับบริการ เพื่อรับบริการนวดไทย (Traditional Thai Massage) 1.2อธิบายประโยชน์ของการนวดไทยอย่างละเอียด ครบถ้วน ด้วยความสุภาพ 10413.01.02 132247
10413-02 เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ สำหรับให้บริการ นวดไทย (Traditional Thai Massage) ตามที่ผ่านการอบรม 1.1เตรียมห้องทรีทเม้นท์จัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้สำหรับให้บริการนวดไทย ได้ตำแหน่งถูกต้องตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ 10413.02.01 132248
10413-02 เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ สำหรับให้บริการ นวดไทย (Traditional Thai Massage) ตามที่ผ่านการอบรม 1.2จัดเก็บห้องทรีทเม้นท์อุปกรณ์ และเครื่องใช้หลังการให้บริการนวดไทย ได้ถูกต้อง ตามที่ผ่านการอบรมด้วยความประณีต ถูกต้อง 10413.02.02 132249
10413-02 เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ สำหรับให้บริการ นวดไทย (Traditional Thai Massage) ตามที่ผ่านการอบรม 1.3จัดวางอุปกรณ์และเครื่องใช้ หลังให้บริการนวดไทย ได้ตำแหน่งถูกต้อง ตามที่ผ่านการอบรมด้วยความประณีต รอบคอบ 10413.02.03 132250
10413-03 ให้บริการนวดไทย (Traditional Thai Massage) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์ 1.1แนะนำการปฏิบัติตนสำหรับรับบริการนวดไทยตามขั้นตอนที่ผ่านการอบรม ด้วยความสุภาพ 10413.03.01 132251
10413-03 ให้บริการนวดไทย (Traditional Thai Massage) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์ 1.2ให้บริการนวดไทยตามขั้นตอนการนวดไทยเพื่อผ่อนคลายเริ่มจากนวดฝ่าเท้า นวดขา นวดแขน นวดมือ นวดหลัง นวดคอ และนวดใบหน้าจากด้านซ้ายไปขวา โดยคำนึงถึงข้อห้ามข้อควรระวังในการนวดตามหลักวิชา ด้วยความสุภาพ และระมัดระวัง 10413.03.02 132252
10413-04 แนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการนวดไทย (Traditional Thai Massage) แก่ผู้รับบริการ 1.1แนะนำการปฏิบัติตนภายหลังการรับบริการนวดไทยตามขั้นตอนที่ผ่านการอบรมด้วยความสุภาพ 10413.04.01 132253
10413-04 แนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการนวดไทย (Traditional Thai Massage) แก่ผู้รับบริการ 1.2แนะนำโปรแกรมทรีทเม้นท์ที่ต่อเนื่องตามขั้นตอนที่ผ่านการอบรม ด้วยความสุภาพ 10413.04.02 132254

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น ประกอบด้วย
(1) ความรู้กายวิภาคศาสตร์ สรีระวิทยาเบื้องต้น
(2) ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา องค์ความรู้ และการนวดตามศาสตร์และศิลป์ของการนวดไทย
(3) ความรู้เกี่ยวกับลำดับ ขั้นตอนของการนวดไทยตามหลักวิชาการ
(4) ความรู้เรื่องข้อห้าม ข้อควรระวังในการนวดไทย
(5) ความรู้เกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติในการนวดและมารยาทในการนวดในสปา
(6) ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการนวดไทย
(ข) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น ประกอบด้วย
(1) ความสามารถในการให้บริการสปาที่สอดคล้องกับโครงสร้างของร่างกายตามหลักกายวิภาคศาสตร์สรีระวิทยาเบื้องต้น
(2) ความสามารถในการให้บริการนวดตามศาสตร์และศิลป์ของการนวดไทย
(3) ความสามารถในการให้บริการนวดไทยตามลำดับ ขั้นตอนของการนวดไทยตามหลักวิชาการ
(4) ความสามารถในการให้บริการนวดไทยในสปาโดยคำนึงถึงข้อห้าม ข้อควรระวังในการนวด
(5) ความสามารถในการปฏิบัติงานให้บริการนวดไทยในสปา โดยคำนึงถึงข้อควรปฏิบัติและมารยาทในการนวดไทยในสปา
(6) ความสามารถในการอธิบายประโยชน์ที่ได้รับจากการนวดไทย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1) เตรียมความพร้อมผู้รับบริการเพื่อรับบริการนวดไทย (Traditional Thai Massage)
- ความสามารถในการชี้แจงขั้นตอนการนวดไทยเพื่อผ่อนคลาย ด้วยความสุภาพ
- ความสามารถในการอธิบายประโยชน์ของการนวดไทย อย่างละเอียด ครบถ้วน ด้วยความสุภาพ
(2) เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้สำหรับให้บริการนวดไทย (Traditional Thai Massage) ตามที่ผ่านการอบรม
- ความสามารถในการเตรียมห้องทรีทเม้นท์ จัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้สำหรับให้บริการนวดไทย ได้ตำแหน่งถูกต้อง ตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ
- ความสามารถในการจัดเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้หลังการให้บริการนวดไทย ได้ถูกต้อง ตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ
- ความสามารถในการจัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้ หลังการให้บริการนวดไทย ตำแหน่งถูกต้อง ตามที่ผ่านการอบรม ด้วยความประณีต รอบคอบ
(3) ให้บริการนวดไทย (Traditional Thai Massage) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์
- ความสามารถในการแนะนำการปฏิบัติตนสำหรับรับบริการนวดไทย ตามขั้นตอนที่ผ่านการอบรมด้วยความสุภาพ
- ความสามารถในการแสดงขั้นตอนของการนวดไทยเพื่อผ่อนคลายโดยคำนึงถึงข้อห้าม ข้อควรระวังในการนวด ด้วยความสุภาพ และระมัดระวัง
(4) แนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการนวดไทย (Traditional Thai Massage) แก่ผู้รับบริการ
- ความสามารถในการแนะนำการปฏิบัติตนภายหลังการรับบริการนวดไทย ตามขั้นตอนที่ผ่านการอบรม ด้วยความสุภาพ
- ความสามารถในการแนะนำโปรแกรมทรีทเม้นท์ที่ต่อเนื่อง ตามขั้นตอนที่ผ่านการอบรมด้วยความสุภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1) เตรียมความพร้อมผู้รับบริการเพื่อรับบริการนวดไทย (Traditional Thai Massage)
- ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการนวดไทย ตามขั้นตอนของการนวดไทยเพื่อผ่อนคลาย อาทิ
• การนวดแต่ละจุดของการนวดไทยเพื่อผ่อนคลายจะนับเป็นคาบ คือ กำหนดเวลา ลมหายใจเข้า-ออก 1 รอบ (ประมาณ 5 วินาที) เป็น 1 คาบ
• ระหว่างการนวด ต้องมีการพลิกตัว หรือเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น นอนหงาย นอนตะแคง นอนคว่ำ นั่ง เป็นต้น
• การนวด จะนวดข้างซ้ายก่อนเสมอ โดยเริ่มนวดจาก นวดเท้า นวดขา นวดแขน นวดมือ นวดหลัง นวดคอ และนวดใบหน้า
- ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการนวดไทย การนวดไทยเพื่อผ่อนคลาย ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และระบบต่างๆ ทำงานดีขึ้น ผ่อนคลายความเครียด
(2) เตรียมและเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้สำหรับให้บริการนวดไทย (Traditional Thai Massage) ตามที่ผ่านการอบรม
- ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมห้องทรีทเม้นท์ จัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้สำหรับให้บริการนวดไทย
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บห้องทรีทเม้นท์ อุปกรณ์ และเครื่องใช้หลังการให้บริการนวดไทย
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดวางอุปกรณ์ และเครื่องใช้ หลังการให้บริการนวดไทย
(3) ให้บริการนวดไทย (Traditional Thai Massage) ตามขั้นตอน และมาตรฐานทรีทเม้นท์
- ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนสำหรับรับบริการนวดไทย
• ทำการล้างเท้าก่อนการรับบริการนวดไทย
- ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการนวดไทยเพื่อผ่อนคลาย
• การนวดแต่ละจุดของการนวดไทยเพื่อผ่อนคลายจะนับเป็นคาบ คือ กำหนดเวลาลมหายใจเข้า-ออก 1 รอบ (ประมาณ 5 วินาที) เป็น 1 คาบ
• ระหว่างการนวด ต้องมีการพลิกตัว หรือเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น นอนหงาย นอนตะแคง นอนคว่ำ นั่ง
เป็นต้น
• การนวด จะนวดข้างซ้ายก่อนเสมอ โดยเริ่มนวดจากนวดเท้า นวดขา นวดแขน นวดมือ นวดหลัง นวดคอ และนวดใบหน้า
(4) แนะนำการปฏิบัติตนหลังการรับบริการนวดไทย (Traditional Thai Massage) แก่ผู้รับบริการ
- ความรู้เกี่ยวกับผลของการนวดไทยหลังจากรับบริการนวดไทย
- ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมทรีทเม้นท์ที่ต่อเนื่องเพื่อทำให้ร่างกายเกิดความสมดุล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
• เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning book)
(ข) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
• เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ เป็นต้น
• เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกงานประจำวัน (Log book)
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
• สภาพการประเมิน (Assessment Condition) เอกสารยืนยันสถานที่ปฏิบัติงานจริง หรือสถานที่ฝึกงานประกอบด้วยห้องปฏิบัติงาน เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ แบบบันทึกข้อมูลต่างๆ แบบรายงานผล
• หลักฐานความรู้ที่ต้องการ เช่น โดยการสอบภาคทฤษฎี โดยใช้แบบข้อสอบ ทั้งปรนัยและอัตนัย หรือ
การสัมภาษณ์ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
• หลักฐานการปฏิบัติที่ต้องการ เช่น โดยการทดสอบภาคปฏิบัติ สังเกตหรือสัมภาษณ์การปฏิบัติงานประจำวัน ซึ่งมีเครื่องมือคือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือแบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยผู้บังคับบัญชา หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ หรือเอกสารรับรองทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเอกสารอื่นๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาชีพ เป็นต้น เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)
(ง) วิธีการประเมิน
• ประเมินความรู้ โดยใช้
(1) ข้อสอบข้อเขียน และ/หรือ แบบประเมินความรู้
(2) ข้อสอบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
• ประเมินทักษะ โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์ หรือ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยหัวหน้างาน หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ
• ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้เครื่องมือ แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
• พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย หลักฐานความรู้ ได้แก่ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book) และหลักฐานทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ หรือ เอกสารรับรองทักษะรายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเอกสารอื่นๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาชีพ เป็นต้น เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)


15. ขอบเขต (Range Statement)

การนวดไทย คือ การใช้มืออย่างมีสติและสัมปชัญญะ เพื่อกระทำบนร่างกายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผ่อนคลาย การนวดไทยที่เป็นเอกลักษณ์ และเป็นจุดขายของไทย โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ 2 แบบ ได้แก่ การนวดแบบเชลยศักดิ์ และการนวดแบบราชสำนัก
หลักกายวิภาคศาสตร์ คือ หลักวิชาเกี่ยวกับรูปร่างและโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต
หลักสรีระวิทยา คือ วิชาที่ว่าด้วยหน้าที่ของร่างกายสิ่งมีชีวิต และส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ
ศาสตร์และศิลป์ของการนวดไทย คือ การนำความรู้ และภูมิปัญญาของไทย ที่ได้ผ่านการบูรณาการ ร่วมกับองค์ความรู้ของศาสตร์อื่นๆ จนพัฒนาเป็นการนวดไทย
ข้อห้ามข้อควรระวังในการนวด คือ สิ่งที่ห้ามกระทำ และพึงระวังระหว่างการนวด เช่น ไม่ควรนวดหลังจากรับประทานอาหารใหม่ๆ ไม่ควรนวดในขณะร่างกายอ่อนเพลียมาก ไม่ควรนวดในช่วงมีไข้สูง เป็นต้น
ข้อปฏิบัติ และมารยาทในการนวดไทย คือ สิ่งที่ควรปฏิบัติระหว่างการให้บริการนวดไทย เช่น ก่อนทำการนวด สปาเทอราปิ้สควรสำรวมจิตใจให้เป็นสมาธิ ขณะนวดควรนั่งห่างจากผู้รับบริการพอสมควร ไม่ควรคร่อมตัวผู้รับบริการ ไม่หายใจรดผู้รับบริการ เป็นต้น
การกด คือ การใช้น้ำหนักกดบนเส้นพลังงานบนกล้ามเนื้อโดยใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วโป้งกดนวดเป็นวงกลม, ฝ่ามือกดเป็นวงกลม และกดเส้นพลังงาน และใช้น้ำหนักตัวกด นิ้วและหัวแม่มือ หัวเข่า ฝ่าเท้า ทำการยืดเส้น ทำให้หลอดเลือดขยาย การไหลเวียนของเลือด ระบบประสาท การทำงานของอวัยวะต่างๆ ดีขึ้น
การบีบ คือ การใช้น้ำหนัก บีบกล้ามเนื้อให้เต็มฝ่ามือเข้าหากันโดยการออกแรง สามารถใช้นิ้วหัวแม่มือช่วยหรือการประสานมือเพื่อเพิ่มการออกแรง เป็นการเพิ่มการหมุนเวียนของเลือด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
การทุบ/ตบ/สับ คือ การใช้มือและกำปั้นทุบกล้ามเนื้อเบาๆ เป็นการผ่อนคลายการตึงของกล้ามเนื้อและให้เลือดหมุนเวียนดีขึ้นและเป็นการช่วยขจัดของเสียออกจากร่างกาย
การคลึง คือ การใช้น้ำหนักกดคลึงบริเวณกล้ามเนื้อโดยการหมุนแขนให้กล้ามเนื้อเคลื่อนหรือคลึงเป็นวงกลม ใช้แรงมากกว่าการใช้ข้อศอก
การถู คือ การใช้น้ำหนักตัวถูไปมา หรือวนไปมา เป็นวงกลมบนกล้ามเนื้อเพื่อช่วยผ่อนคลายอาการปวดเมื่อเฉพาะจุด หรือตามข้อต่อต่างๆ
การหมุน คือ การออกแรงหมุนข้อต่อกระดูกวนเป็นวงกลม ช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อต่อทำงานดีขึ้น ผ่อนคลาย
การกลิ้ง คือ การใช้ข้อศอกและแขนท่อนล่างกดแรงๆ ในกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ เช่นต้นขา
การสั่น/เขย่า คือ การใช้มือเขย่า ขาหรือแขนของผู้รับบริการ เพื่อช่วยทำให้การหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น
การบิด คือ การออกแรงบิดกล้ามเนื้อกับข้อต่อให้ยืดขยายออกไปในแนวทแยง ทำให้กล้ามเนื้อยืด
การลั่นข้อต่อ คือ การออกแรงยึดข้อต่อให้เกิดเสียงดังลั่น ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อต่อทำงานดีขึ้น
การยืดดัดตัว คือ การใช้ฝ่าเท้า ออกแรงยืดกล้ามเนื้อข้อต่อให้ยืดขยายออกไปทางยาว ช่วยให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยืดคลายตัว
การหยุดการไหลเวียนของเลือด/การปิดประตูลม คือ การใช้ฝ่ามือกดที่จุดชีพจรที่โคนขา เพื่อหยุดการไหลเวียนของเลือดชั่วขณะกดไว้ประมาณครึ่ง ถึง 1 นาที แล้วค่อยๆ ปล่อยช้าเพื่อให้เลือดกลับหมุนเวียนดีขึ้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ประเมินความรู้ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยใช้
(1) ข้อสอบข้อเขียน หรือ แบบประเมินความรู้
(2) ข้อสอบสัมภาษณ์ หรือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.2 ประเมินทักษะ เพื่อวัดทักษะ ความสามารถ ความชำนาญ โดยใช้แบบประเมินต่างๆ อาทิ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน
18.3 ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้ แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.4 พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย
(1) หลักฐานความรู้ ได้แก่
(1.1) เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
(1.2) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
(2) หลักฐานทักษะ ได้แก่
(2.1) เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายการปฏิบัติงาน (Check List) แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ ใบสั่งงาน (Job Order) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเอกสารอื่นๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาชีพ
(2.2) เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
(2.3) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)



ยินดีต้อนรับ