หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

อบรมการให้บริการสปาทรีทเม้นท์ภายใต้เอกลักษณ์ไทย

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-SPA-5-090ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ อบรมการให้บริการสปาทรีทเม้นท์ภายใต้เอกลักษณ์ไทย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">อาชีพสปาเทรนเนอร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะเฉพาะนี้ เป็นหน่วยวัดความรู้ ทักษะและผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ของอาชีพสปาเทรนเนอร์ ระดับ 5 โดยต้องมีความรู้ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ ประกอบด้วยสมรรถนะย่อยอบรมมารยาทไทยในการให้บริการสปา และอบรมภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสารและการบริการในสปา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กิจกรรมบริการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย (ยกเว้นกิจกรรมด้านกีฬา)สาขาให้บริการสปา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10302-01 อบรมหลักสูตรมารยาทไทยในการให้บริการสปา 1.1 กำหนดและจัดทำโครงการ/หลักสูตร/แนวทางการอบรมมารยาทไทยในการให้บริการสปาให้ถูกต้องตามหลักมารยาทไทยที่ผ่านการอบรมสอดคล้องกับนโยบายของสถานประกอบการ 10302-01.01 132078
10302-01 อบรมหลักสูตรมารยาทไทยในการให้บริการสปา 1.2 จัดทำเอกสารประกอบการอบรมมารยาทไทยในการให้บริการสปาให้มีจำนวนเพียงพอต่อผู้เข้ารับการอบรมเนื้อหา รายละเอียด ครบถ้วน ชัดเจน 10302-01.02 132079
10302-01 อบรมหลักสูตรมารยาทไทยในการให้บริการสปา 1.3 อบรมมารยาทไทยในการให้บริการสปา โดยถ่ายทอดความรู้ทักษะ คุณสมบัติที่พึงประสงค์หรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดในโครงการ/หลักสูตร/แนวทางการอบรม 10302-01.03 132080
10302-02 อบรมหลักสูตรภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสารและการบริการในสปา 1.1 กำหนดและจัดทำโครงการ/หลักสูตร/แนวทางการอบรมภาษาเพื่อการสื่อสารและการบริการในสปาให้ถูกต้องตามหลักมารยาทไทยที่ผ่านการอบรมสอดคล้องกับนโยบายของสถานประกอบการ 10302-02.01 132081
10302-02 อบรมหลักสูตรภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสารและการบริการในสปา 1.2 จัดทำเอกสารประกอบการอบรมภาษาเพื่อการสื่อสารและการบริการในสปาให้มีจำนวนเพียงพอต่อผู้เข้ารับการอบรมเนื้อหา รายละเอียด ครบถ้วน ชัดเจน 10302-02.02 132082
10302-02 อบรมหลักสูตรภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสารและการบริการในสปา 1.3 อบรมภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสารและการบริการในสปาโดยถ่ายทอดความรู้ ทักษะ คุณสมบัติที่พึงประสงค์หรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดในโครงการ/หลักสูตร/แนวทางการอบรม 10302-02.03 132083

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น
(1) ความรู้ด้านการอบรม การสื่อความ การนำเสนอ หรือดำเนินการฝึกอบรม ด้วยเทคนิคฝึกอบรม
(2) ความรู้เกี่ยวกับแนวทาง เทคนิคการวัดผลการฝึกอบรม
(3) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสปาและสุขภาพแบบองค์รวม
(4) ความรู้เรื่องลำดับ ขั้นตอน การให้บริการสปาทรีทเม้นท์
(5) ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เครื่องมือ อุปกรณ์และเครื่องใช้ในกระบวนการให้บริการสปา
(6) ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพสปา
(7) ความรู้เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการสปา
(8) ความรู้เกี่ยวกับมารยาทในงานบริการสปา
(ข) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น
(1) ความสามารถด้านการอบรม การสื่อความ การนำเสนอ หรือดำเนินการฝึกอบรม ด้วยเทคนิคฝึกอบรม
(2) ความสามารถในการกำหนดแนวทาง เทคนิคการวัดผลการฝึกอบรม
(3) ความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับสปาเพื่อการให้บริการด้านสุขภาพแบบองค์รวม
(4) ความสามารถในการบอกลำดับ ขั้นตอน การให้บริการสปาทรีทเม้นท์
(5) ความสามารถในการบอกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เครื่องมือ อุปกรณ์และเครื่องใช้ในกระบวนการให้บริการสปา
(6) ความสามารถในการอธิบายเกี่ยวกับจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพสปา
(7) ความสามารถในการอธิบายเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการสปา
(8) ความสามารถในการอธิบายเกี่ยวกับมารยาทในงานบริการสปา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1) อบรมมารยาทไทยในการให้บริการสปา
- ความสามารถในการกำหนดแนวทางการอบรมมารยาทไทยเพื่องานบริการ
- ความสามารถในการจัดทำเอกสารประกอบการอบรมหรือจัดหาสื่อการสอนอื่นๆ เพื่ออบรมมารยาทไทยในการให้บริการสปา
- ความสามารถในการสื่อสาร นำเสนอ ถ่ายทอดความรู้และสาธิตเกี่ยวกับมารยาทไทยในการให้บริการสปา
(2) อบรมภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสาร
- ความสามารถในการกำหนดแนวทางการอบรมภาษาเพื่อการสื่อสารและการบริการในสปา
- ความสามารถในการจัดทำเอกสารประกอบการอบรมภาษาหรือจัดหาสื่อการสอนอื่นๆ เพื่อการสื่อสารและการบริการในสปา
- ความสามารถในการสื่อสาร นำเสนอ ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับภาษา คำศัพท์เทคนิค เพื่อใช้ในการสื่อสารและการบริการในสปา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1) อบรมมารยาทไทยในการให้บริการสปา
- ความรู้ในการกำหนดแนวทางการอบรมมารยาทไทยเพื่องานบริการได้ถูกต้อง เหมาะสม
- ความรู้ในการจัดทำเอกสารประกอบการอบรมหรือจัดหาสื่อการสอนอื่นๆ เพื่ออบรมมารยาทไทยในการให้บริการสปา
- ความรู้เกี่ยวกับมารยาทไทยในการให้บริการสปา
(2) อบรมภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสาร
- ความรู้ในการกำหนดแนวทางการอบรมภาษาเพื่อการสื่อสารและการบริการในสปา
- ความรู้ในการจัดทำเอกสารประกอบการอบรมภาษาหรือจัดหาสื่อการสอนอื่นๆ เพื่อการสื่อสารและการบริการในสปา
- ความรู้เกี่ยวกับภาษา คำศัพท์เทคนิค เพื่อใช้ในการสื่อสารและการบริการในสปา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
• เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning book)
(ข) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
• เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น โครงการ/หลักสูตร/แนวทางการจัดการอบรม/ตารางการอบรม/กำหนดการอบรม เอกสารประกอบการสอนหรือสื่อการสอนต่างๆ
• เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกงานประจำวัน (Log book)
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
• สภาพการประเมิน (Assessment Condition) เอกสารยืนยันสถานที่ปฏิบัติงานจริง หรือสถานที่ฝึกงานประกอบด้วยห้องปฏิบัติงาน เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ แบบบันทึกข้อมูลต่างๆ แบบรายงานผล
• หลักฐานความรู้ที่ต้องการ เช่น โดยการสอบภาคทฤษฎี โดยใช้แบบข้อสอบ ทั้งปรนัยและอัตนัย หรือ การสัมภาษณ์ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
• หลักฐานการปฏิบัติที่ต้องการ เช่น โดยการทดสอบภาคปฏิบัติ สังเกตหรือสัมภาษณ์การปฏิบัติงานประจำวัน ซึ่งมีเครื่องมือคือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ หรือ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยหัวหน้างาน หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ หรือเอกสารรับรองทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น แผนงานการให้บริการสปาไทย แผนดำเนินงานในการดูและรักษาความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)
(ง) วิธีการประเมิน
ประเมินโดย
• ประเมินความรู้ โดยใช้
- ข้อสอบข้อเขียน และ/หรือ แบบประเมินความรู้
- ข้อสอบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
• ประเมินทักษะ โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์ หรือ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยหัวหน้างาน หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ
• ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้เครื่องมือ แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
• พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย หลักฐานความรู้ ได้แก่ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book) และหลักฐานทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ หรือ เอกสารรับรองทักษะ เช่น แผนงานการให้บริการสปา แผนดำเนินงานในการดูและรักษาความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)


15. ขอบเขต (Range Statement)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">ไม่มี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ประเมินความรู้ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยใช้
(1) ข้อสอบข้อเขียน หรือ แบบประเมินความรู้
(2) ข้อสอบสัมภาษณ์ หรือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.2 ประเมินทักษะ เพื่อวัดทักษะ ความสามารถ ความชำนาญ โดยใช้แบบประเมินต่างๆ อาทิ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน
18.3 ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้ แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.4 พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย
(1) หลักฐานความรู้ ได้แก่
(1.1) เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
(1.2) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
(2) หลักฐานทักษะ ได้แก่
(2.1) เอกสารงานที่ปฏิบัติ โครงการ/หลักสูตร/แนวทางการจัดการอบรม/ตารางการอบรม/กำหนดการอบรม เอกสารประกอบการสอนหรือสื่อการสอนต่างๆ
(2.2) เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
(2.3) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)



ยินดีต้อนรับ