หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สอบถามและบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-SPA-4-082ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สอบถามและบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">อาชีพสปารีเซฟชั่นนิส



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะเฉพาะนี้ เป็นหน่วยวัดความรู้ ทักษะและผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ของอาชีพสปารีเซฟชั่นนิส ชั้น 4 โดยต้องมีความรู้ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ ประกอบด้วยสมรรถนะย่อยสอบถามข้อมูลผู้รับบริการและบริการทรีทเมนท์ที่ต้องการ บันทึกข้อมูลผู้รับบริการและประวัติการรับบริการทรีทเมนท์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพกิจกรรมบริการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย(ยกเว้นกิจกรรมด้านกีฬา) สาขาให้บริการสปา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10201-01 สอบถามข้อมูลผู้รับบริการและบริการทรีทเมนท์ที่ต้องการ 1.1 สอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้รับบริการได้ละเอียด ครบถ้วนด้วยความสุภาพ 10201-01.01 132052
10201-01 สอบถามข้อมูลผู้รับบริการและบริการทรีทเมนท์ที่ต้องการ 1.2 บันทึกข้อมูลในแบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการได้ละเอียดครบถ้วน ตรงตามความเป็นจริงด้วยความรอบคอบ 10201-01.02 132053
10201-01 สอบถามข้อมูลผู้รับบริการและบริการทรีทเมนท์ที่ต้องการ 1.3 ตัดสินใจในกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการได้อย่างเหมาะสมต่อผู้รับบริการโดยคำนึงถึงปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการอย่างรอบคอบ 10201-01.03 132054
10201-01 สอบถามข้อมูลผู้รับบริการและบริการทรีทเมนท์ที่ต้องการ 1.4 สอบทานบริการทรีทเมนท์ที่ผู้รับบริการเลือกได้อย่างเหมาะสมต่อผู้รับบริการโดยคำนึงถึงปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการอย่างละเอียด รอบคอบ 10201-01.04 132055
10201-02 บันทึกข้อมูลผู้รับบริการและประวัติการรับบริการทรีทเมนท์ 2.1 บันทึกข้อมูลผู้รับบริการเข้าระบบฐานข้อมูลอย่างละเอียดครบถ้วน ตรงตามความเป็นจริงอย่างรอบคอบ 10201-02.01 132056
10201-02 บันทึกข้อมูลผู้รับบริการและประวัติการรับบริการทรีทเมนท์ 2.2 ประมวลผลจากแบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการอย่างละเอียดครบถ้วน ตรงตามความเป็นจริงอย่างรอบคอบ 10201-02.02 132057

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น
  (1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการให้บริการสปาทรีทเมนท์
  (2) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลำดับ ขั้นตอน การให้บริการสปาทรีทเมนท์
  (3) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เครื่องมือ อุปกรณ์และเครื่องใช้ในการให้บริการสปา
  (4) ความรู้ด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
(ข) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น
  (1) ความสามารถในการอธิบายข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับให้บริการสปา
  (2) ความสามารถในการบอกเกี่ยวกับลำดับ ขั้นตอน การให้บริการสปาทรีทเมนท์ เบื้องต้น
  (3) ความสามารถในการบอกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เครื่องมือ อุปกรณ์และเครื่องใช้ในการให้บริการสปาเบื้องต้น
  (4) ความรู้ด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1) สอบถามข้อมูลผู้รับบริการและบริการทรีทเมนท์ที่ต้องการ
- ความสามารถในการสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้รับบริการ อย่างละเอียด ครบถ้วน ด้วยความสุภาพ
- ความสามารถในการบันทึกข้อมูลในแบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการอย่างละเอียด ครบถ้วน ตรงตามความเป็นจริง ด้วยความรอบคอบ
- ความสามารถในการตัดสินใจในกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการที่เหมาะสมต่อผู้รับบริการ โดยคำนึงถึงปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการด้วยความรอบคอบ
- ความสามารถในการสอบทานบริการทรีทเมนท์ที่ผู้รับบริการเลือก และมีความเหมาะสมกับผู้รับบริการ โดยคำนึงถึงปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการด้วยความรอบคอบ
(2) บันทึกข้อมูลผู้รับบริการและประวัติการรับบริการทรีทเมนท์
- ความสามารถในการบันทึกข้อมูลผู้รับบริการเข้าระบบฐานข้อมูล อย่างละเอียด ครบถ้วน ตรงตามความเป็นจริง ด้วยความรอบคอบ
- ความสามารถในการประมวลผลจากแบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ อย่างละเอียด ครบถ้วน ตรงตามความเป็นจริง ด้วยความรอบคอบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1) สอบถามข้อมูลผู้รับบริการและบริการทรีทเมนท์ที่ต้องการ
- ความรู้เกี่ยวกับหลักการสอบถามข้อมูลทั่วไปเพื่อให้ได้ข้อมูลจากผู้รับบริการ
- ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลในแบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ
- ความรู้เกี่ยวกับการตัดสินใจในกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการที่เหมาะสมต่อผู้รับบริการ
- ความรู้เกี่ยวกับการสอบทานบริการทรีทเมนท์ที่ผู้รับบริการ
(2) บันทึกข้อมูลผู้รับบริการและประวัติการรับบริการทรีทเมนท์
- ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลผู้รับบริการเข้าระบบฐานข้อมูล
- ความรู้เกี่ยวกับการประมวลผลจากแบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
• เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning book)
(ข) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
• เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายงานการประมวลผลจากแบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ
• เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกงานประจำวัน (Log book)
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
• สภาพการประเมิน (Assessment Condition) เอกสารยืนยันสถานที่ปฏิบัติงานจริง หรือสถานที่ฝึกงานประกอบด้วยห้องปฏิบัติงาน เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ แบบบันทึกข้อมูลต่างๆ แบบรายงานผล
• หลักฐานความรู้ที่ต้องการ เช่น โดยการสอบภาคทฤษฎี โดยใช้แบบข้อสอบ ทั้งปรนัยและอัตนัย หรือ การสัมภาษณ์ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
• หลักฐานการปฏิบัติที่ต้องการ เช่น โดยการทดสอบภาคปฏิบัติ สังเกตหรือสัมภาษณ์การปฏิบัติงานประจำวัน ซึ่งมีเครื่องมือคือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ หรือ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยหัวหน้างาน หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ หรือเอกสารรับรองทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น แผนงานการให้บริการสปา แผนดำเนินงานในการดูและรักษาความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)
(ง) วิธีการประเมิน
ประเมินโดย
• ประเมินความรู้ โดยใช้
- ข้อสอบข้อเขียน และ/หรือ แบบประเมินความรู้
- ข้อสอบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
• ประเมินทักษะ โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์ หรือ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยหัวหน้างาน หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ
• ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้เครื่องมือ แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
• พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย หลักฐานความรู้ ได้แก่ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book) และหลักฐานทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ หรือ เอกสารรับรองทักษะ เช่น แผนงานการให้บริการสปา แผนดำเนินงานในการดูและรักษาความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)


15. ขอบเขต (Range Statement)
แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการสปา คือ แบบฟอร์มที่ใช้เก็บข้อมูลเบื้องต้นของผู้รับบริการ
ระบบฐานข้อมูล คือ ระบบจัดเก็บข้อมูลผู้รับบริการด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ลดข้อมูลซ้ำซ้อนระหว่างแฟ้ม และข้อมูลแต่ละชิ้นสามารถนำมาใข้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ประเมินความรู้ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยใช้
(1) ข้อสอบข้อเขียน หรือ แบบประเมินความรู้
(2) ข้อสอบสัมภาษณ์ หรือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.2 ประเมินทักษะ เพื่อวัดทักษะ ความสามารถ ความชำนาญ โดยใช้แบบประเมินต่างๆ อาทิ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน
18.3 ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้ แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.4 พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย
(1) หลักฐานความรู้ ได้แก่
(1.1) เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
(1.2) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
(2) หลักฐานทักษะ ได้แก่
(2.1) เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น รายงานการประมวลผลจากแบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ
(2.2) เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
(2.3) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)



ยินดีต้อนรับ