หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการการดำเนินงานบริการสปา

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-SPA-6-081ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการการดำเนินงานบริการสปา

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">อาชีพนักบริหารจัดการสปา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะเฉพาะนี้ เป็นหน่วยวัดความรู้ ทักษะและคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของอาชีพนักบริหารจัดการสปา ระดับ 6 โดยต้องมีความรู้ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ ประกอบด้วยสมรรถนะย่อยจัดทำแผนการดำเนินงานขององค์กร ควบคุมและติดตามการดำเนินงานตามแผนงาน กำหนด ควบคุมและติดตามการดำเนินงานตามคู่มือการปฏิบัติงานจัดการการดำเนินงานภายใน จัดการข้อร้องเรียน และข้อเสนอแนะของงานบริการสปา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพกิจกรรมบริการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย(ยกเว้นกิจกรรมด้านกีฬา) สาขาให้บริการสปา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10105-01 จัดทำแผนการดำเนินงานขององค์กร ควบคุมและติดตามการดำเนินงานตามแผน 1.1 กำหนดนโยบายการดำเนินงานและแผนงานด้านต่างๆ ในภาพรวมเหมาะสมกับองค์กรและถูกต้องตามที่ผ่านการอบรมโดยมีทิศทางที่ชัดเจน 10105-01.01 132037
10105-01 จัดทำแผนการดำเนินงานขององค์กร ควบคุมและติดตามการดำเนินงานตามแผน 1.2 จัดทำแผนการดำเนินงานขององค์กรตามตัวชี้วัดขององค์กรที่ถูกต้องตามที่ผ่านการอบรมอย่างละเอียด รอบคอบ 10105-01.02 132038
10105-01 จัดทำแผนการดำเนินงานขององค์กร ควบคุมและติดตามการดำเนินงานตามแผน 1.3 ถ่ายทอดนโยบายและแผนการดำเนินงานขององค์กรที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างละเอียด รอบคอบ 10105-01.03 132039
10105-01 จัดทำแผนการดำเนินงานขององค์กร ควบคุมและติดตามการดำเนินงานตามแผน 1.4 ควบคุม ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานและสามารถวัดผลได้ 10105-01.04 132040
10105-02 กำหนด ควบคุมและติดตามการดำเนินงานตามคู่มือการปฏิบัติงาน 1.1 กำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน ตามนโยบายขององค์กรให้ถูกต้องตามที่ผ่านการอบรมอย่างชัดเจน ให้ถือปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร 10105-02.01 132041
10105-02 กำหนด ควบคุมและติดตามการดำเนินงานตามคู่มือการปฏิบัติงาน 1.2 มอบหมายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามหน้าที่ความรับผิดชอบสามารถปฏิบัติได้อย่างละเอียด 10105-02.02 132042
10105-02 กำหนด ควบคุมและติดตามการดำเนินงานตามคู่มือการปฏิบัติงาน 1.3 ควบคุม ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานด้วยความมสม่ำเสมอ 10105-02.03 132043
10105-02 กำหนด ควบคุมและติดตามการดำเนินงานตามคู่มือการปฏิบัติงาน 1.4 ปรับปรุงและพัฒนาขั้นตอนการทำงาน และรายละเอียดงาน 10105-02.04 132044
10105-03 จัดการการดำเนินงานภายใน 1.1 กำหนดคุณภาพระบบงานในการให้บริการในสปาอย่างชัดเจนวัดผลได้ 10105-03.01 132045
10105-03 จัดการการดำเนินงานภายใน 1.2 ดูแลสภาพแวดล้อมและสร้างสรรค์บรรยากาศของการให้บริการสปาที่สอดรับกับSpa Concept เพื่อความผ่อนคลาย 10105-03.02 132046
10105-03 จัดการการดำเนินงานภายใน 1.3 กำหนดวิธีการตรวจสอบคุณภาพของงานบริการ โดยวัดผลได้อย่างชัดเจน 10105-03.03 132047
10105-03 จัดการการดำเนินงานภายใน 1.4 ติดตามผลและพัฒนาคุณภาพระบบงานอย่างต่อเนื่องวัดผลได้อย่างชัดเจน 10105-03.04 132048
10105-04 จัดการข้อร้องเรียน และข้อเสนอแนะงานบริการสปา 1.1 พิจารณาข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะอย่างเป็นธรรม 10105-04.01 132049
10105-04 จัดการข้อร้องเรียน และข้อเสนอแนะงานบริการสปา 1.2 ตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างเป็นธรรม 10105-04.02 132050
10105-04 จัดการข้อร้องเรียน และข้อเสนอแนะงานบริการสปา 1.3 ปรับปรุง แก้ไข ตามข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะด้วยความรวดเร็ว 10105-04.03 132051

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น
(1) ความรู้ตามหน่วยสมรรถนะจัดการงานบริการสปา (รหัสหน่วยสมรรถนะ 10101)
(2) ความรู้ตามหน่วยสมรรถนะจัดการด้านการตลาดของงานบริการสปา (รหัสหน่วยสมรรถนะ 10102)
(3) ความรู้ด้านการจัดการการเงินเบื้องต้น
(4) ความรู้ด้านการจัดการบุคลากรเบื้องต้น
(ข) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น
(1) ความสามารถตามหน่วยสมรรถนะจัดการงานบริการสปา (รหัสหน่วยสมรรถนะ 10102)
(2) ความสามารถตามหน่วยสมรรถนะจัดการด้านการตลาดของงานบริการสปา (รหัสหน่วยสมรรถนะ 10102)
(3) ความสามารถในการจัดการการเงินเบื้องต้น
(4) ความสามารถในการจัดการบุคลากรเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1) จัดทำแผนการดำเนินงานขององค์กร ควบคุมและติดตามการดำเนินงานตามแผนงาน
- ความสามารถในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานและแผนงานด้านต่างๆ ในภาพรวม
- ความสามารถในการจัดทำและกำหนดแผนงาน การจัดทำแผนการดำเนินงานขององค์กร
- ความสามารถในการสื่อสารการถ่ายทอดนโยบายและแผนการดำเนินงานขององค์กรเพื่อนำไปปฏิบัติ
- ความสามารถในการควบคุม ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานตามแผนงาน
(2) กำหนด ควบคุมและติดตามการดำเนินงานตามคู่มือการปฏิบัติงาน
- ความสามารถในการกำหนดการให้บริการสปา เพื่อกำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน ตามนโยบายขององค์กร
- ความสามารถในการบริหารจัดการ การมอบหมายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามหน้าที่ความรับผิดชอบ
- ความสามารถในการควบคุม ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานตาม SOP
- ความสามารถในการปรับปรุงและพัฒนาขั้นตอนการทำงาน และรายละเอียดงาน
(3) จัดการการดำเนินงานภายใน
- ความสามารถในการกำหนดคุณภาพระบบงานในการให้บริการสปา
- ความสามารถในการดูแลสภาพแวดล้อมและสร้างสรรค์บรรยากาศของการให้บริการสปาที่สอดรับกับ Spa Concept
- ความสามารถในการตรวจสอบคุณภาพของงานบริการ
- ความสามารถในการติดตามผลและพัฒนาคุณภาพระบบงานอย่างต่อเนื่อง
(4) จัดการข้อร้องเรียน และข้อเสนอแนะงานบริการสปา
- ความสามารถในการพิจารณาข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะ
- ความสามารถในการตรวจสอบข้อเท็จจริง
- ความสามารถในการปรับปรุง แก้ไข ตามข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1) จัดทำแผนการดำเนินงานขององค์กร ควบคุมและติดตามการดำเนินงานตามแผนงาน
- ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายการดำเนินงานและแผนงานด้านต่างๆ ในภาพรวม
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำและกำหนดแผนงาน การจัดทำแผนการดำเนินงานขององค์กร
- ความรู้ในการสื่อสารการถ่ายทอดนโยบายและแผนการดำเนินงานขององค์กรเพื่อนำไปปฏิบัติ
- ความรู้ในการควบคุม ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานตามแผนงาน
(2) กำหนด ควบคุมและติดตามการดำเนินงานตามคู่มือการปฏิบัติงาน
- ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดการให้บริการสปา เพื่อกำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน ตามนโยบายขององค์กร
- ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการ การมอบหมายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามหน้าที่ความรับผิดชอบ
- ความรู้เกี่ยวกับการควบคุม ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานตาม SOP
- ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนาขั้นตอนการทำงาน และรายละเอียดงาน
(3) จัดการการดำเนินงานภายใน
- ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดคุณภาพระบบงานในการให้บริการสปา
- ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสภาพแวดล้อมและสร้างสรรค์บรรยากาศของการให้บริการสปาที่สอดรับกับ Spa Concept
- ความรู้เกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบคุณภาพของงานบริการ
- ความรู้เกี่ยวกับการติดตามผลและพัฒนาคุณภาพระบบงานอย่างต่อเนื่อง
(4) จัดการข้อร้องเรียน และข้อเสนอแนะงานบริการสปา
- ความรู้เกี่ยวกับการพิจารณาข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะ
- ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบข้อเท็จจริง
- ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุง แก้ไข ตามข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
• เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning book)
(ข) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
• เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น แผนการดำเนินงานขององค์กร รายงานผลการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานขององค์กร เอกสารขั้นตอนการดำเนินงาน รายงานผลการดำเนินงานตามคู่มือปฏิบัติงาน เอกสารขั้นตอนการทำงานและรายละเอียดงาน กรณีที่มีการปรับปรุง รายการปฏิบัติงาน (Check list) เอกสารข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะจากผู้รับบริการ บันทึกการตรวจสอบข้อเท็จจริง บันทึกการปรับปรุง แก้ไข ตามข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะ
• เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกงานประจำวัน (Log book)
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
• สภาพการประเมิน (Assessment Condition) เอกสารยืนยันสถานที่ปฏิบัติงานจริง หรือสถานที่ฝึกงานประกอบด้วยห้องปฏิบัติงาน เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ แบบบันทึกข้อมูลต่างๆ แบบรายงานผล
• หลักฐานความรู้ที่ต้องการ เช่น โดยการสอบภาคทฤษฎี โดยใช้แบบข้อสอบ ทั้งปรนัยและอัตนัย หรือ การสัมภาษณ์ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
• หลักฐานการปฏิบัติที่ต้องการ เช่น โดยการทดสอบภาคปฏิบัติ สังเกตหรือสัมภาษณ์การปฏิบัติงานประจำวัน ซึ่งมีเครื่องมือคือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ หรือ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยหัวหน้างาน หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ หรือเอกสารรับรองทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น แผนงานการให้บริการสปา แผนดำเนินงานในการดูและรักษาความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)
(ง) วิธีการประเมิน
ประเมินโดย
• ประเมินความรู้ โดยใช้
- ข้อสอบข้อเขียน และ/หรือ แบบประเมินความรู้
- ข้อสอบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
• ประเมินทักษะ โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์ หรือ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยหัวหน้างาน หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ
• ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้เครื่องมือ แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
• พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย หลักฐานความรู้ ได้แก่ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book) และหลักฐานทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ หรือ เอกสารรับรองทักษะ เช่น แผนงานการให้บริการสปา แผนดำเนินงานในการดูและรักษาความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)


15. ขอบเขต (Range Statement)

มาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานประกอบการ (SOP) คือ สิ่งที่ถือเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติงานของพนักงานในสถานประกอบการ
Spa Concept คือ แนวคิดการจัดการ/บริหารภายในสปา


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ประเมินความรู้ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยใช้
(1) ข้อสอบข้อเขียน หรือ แบบประเมินความรู้
(2) ข้อสอบสัมภาษณ์ หรือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.2 ประเมินทักษะ เพื่อวัดทักษะ ความสามารถ ความชำนาญ โดยใช้แบบประเมินต่างๆ อาทิ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน
18.3 ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้ แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.4 พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย
(1) หลักฐานความรู้ ได้แก่
(1.1) เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
(1.2) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
(2) หลักฐานทักษะ ได้แก่
(2.1) เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น แผนการดำเนินงานขององค์กร รายงานผลการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานขององค์กร เอกสารขั้นตอนการดำเนินงาน รายงานผลการดำเนินงานตามคู่มือปฏิบัติงาน เอกสารขั้นตอนการทำงานและรายละเอียดงาน กรณีที่มีการปรับปรุง รายการปฏิบัติงาน (Check list) เอกสารข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะจากผู้รับบริการ บันทึกการตรวจสอบข้อเท็จจริง บันทึกการปรับปรุง แก้ไข ตามข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะ
(2.2) เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
(2.3) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)



ยินดีต้อนรับ