หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการด้านบุคลากรของสถานประกอบการ

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-SPA-6-080ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการด้านบุคลากรของสถานประกอบการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">อาชีพนักบริหารจัดการสปา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะเฉพาะนี้ เป็นหน่วยวัดความรู้ ทักษะและคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของอาชีพนักบริหารจัดการสปา ระดับ 6 โดยต้องมีความรู้ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ ประกอบด้วยสมรรถนะย่อยการวางแผนและจัดทำแผนการบริหารจัดการด้านบุคลากร การวางแผนและจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพของบุคลากรรวมถึงการติดตามและประเมินแผนด้านบุคลากร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชากิจกรรมบริการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย (ยกเว้นกิจกรรมด้านกีฬา)สาขาให้บริการสปา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10104-01 วางแผนและจัดทำแผนการบริหารจัดการด้านบุคลากร 1.1 กำหนดประเด็นปัญหาหลักของบุคลากรภายในองค์กรตามเป้าหมายเชิงปริมาณและ/หรือ เชิงคุณภาพตามที่ผ่านการอบรม โดยคำนึงถึงการประยุกต์ใช้หลักวิชาได้เหมาะสมกับประเด็นปัญหาหรือความต้องการขององค์กรอย่างละเอียด ครอบคลุม 10104-01.01 132028
10104-01 วางแผนและจัดทำแผนการบริหารจัดการด้านบุคลากร 1.2 ตรวจสอบความเพียงพอของบุคลากรและวางแผนความต้องการในการปฏิบัติงานขององค์กรและจัดสรรเงินด้านบุคลากรอย่างถูกต้องตามหลักวิชาที่ผ่านการอบรม 10104-01.02 132029
10104-01 วางแผนและจัดทำแผนการบริหารจัดการด้านบุคลากร 1.3 จัดทำแผนการบริหารจัดการบุคลากร ตามเป้าหมายเชิงปริมาณและ/หรือเชิงคุณภาพตามที่ผ่านการอบรมให้มีประสิทธิภาพ 10104-01.03 132030
10104-02 วางแผนและจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพของบุคลากร 1.1 กำหนดสมรรถนะบุคลากรที่ต้องการและระบบประเมินสมรรถนะของบุคลากรด้วยความละเอียด รอบคอบ 10104-02.01 132031
10104-02 วางแผนและจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพของบุคลากร 1.2 กำหนดนโยบายด้านการพัฒนาบุคลากรและจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ขององค์กรตามที่ผ่านการอบรมอย่างชัดเจน โปร่งใส เป็นธรรม 10104-02.02 132032
10104-02 วางแผนและจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพของบุคลากร 1.3 นำระบบประเมินมาใช้พร้อมกำหนดระเบียบการต่างๆภายใต้หลักธรรมมาภิบาล 10104-02.03 132033
10104-02 วางแผนและจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพของบุคลากร 1.4 สนับสนุนบุคลากรตามผลการประเมินอย่างโปร่งใสเป็นธรรม 10104-02.04 132034
10104-03 ติดตามและประเมินแผนด้านบุคลากร 1.1 ทบทวนนโยบายและข้อปฏิบัติสำหรับบุคลากรให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ขององค์กรตามที่ผ่านการอบรมโดยสอบทานอย่างละเอียด รอบคอบ 10104-03.01 132035
10104-03 ติดตามและประเมินแผนด้านบุคลากร 1.2 ทบทวนและประเมินแผนงานด้านบุคลากรให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ขององค์กรตามที่ผ่านการอบรมโดยสอบทานอย่างละเอียด รอบคอบ 10104-03.02 132036

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น
(1) ความรู้ตามหน่วยสมรรถนะจัดการงานบริการสปา (รหัสหน่วยสมรรถนะ 10101)
(2) ความรู้ตามหน่วยสมรรถนะจัดการด้านการตลาดของงานบริการสปา (รหัสหน่วยสมรรถนะ 10102)
(ข) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น
(1) ความสามารถตามหน่วยสมรรถนะจัดการงานบริการสปา (รหัสหน่วยสมรรถนะ 10102)
(2) ความสามารถตามหน่วยสมรรถนะจัดการด้านการตลาดของงานบริการสปา (รหัสหน่วยสมรรถนะ 10102)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1) วางแผนและจัดทำแผนการบริหารจัดการด้านบุคลากร
- ความสามารถในการกำหนดประเด็นปัญหาด้านบุคลากร เพื่อการวางแผนด้านบุคลากร
- ความสามารถเกี่ยวกับการตรวจสอบความเพียงพอของบุคลากรและวางแผนความต้องการ
ในการปฏิบัติงานขององค์กรและจัดสรรเงินด้านบุคลากร
- ความสามารถการกำหนดนโยบาย ขั้นตอน และข้อปฏิบัติ ในการบริหารจัดการด้านบุคลากร เพื่อจัดทำแผนการบริหารจัดการบุคลากร
(2) วางแผนและจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
- ความสามารถในการกำหนดสมรรถนะบุคลากรที่ต้องการและระบบประเมินสมรรถนะของบุคลากร
- ความสามารถในการกำหนดนโยบายด้านการพัฒนาบุคลากรและวางแผนพัฒนาศักยภาพบุคลากร
เพื่อจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพบุคลากร
- ความสามารถในการนำระบบประเมินมาใช้พร้อมกำหนดระเบียบการต่างๆ
- ความสามารถในการสนับสนุนบุคลากรตามผลการประเมิน
(3) ติดตามและประเมินแผนด้านบุคลากร
- ความสามารถในการพิจารณา ทบทวนนโยบายและข้อปฏิบัติสำหรับบุคลากร
- ความสามารถในการทบทวนและประเมินแผนงานด้านบุคลากร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1) วางแผนและจัดทำแผนการบริหารจัดการด้านบุคลากร
- ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดประเด็นปัญหาด้านบุคลากร เพื่อการวางแผนด้านบุคลากร
- ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบความเพียงพอของบุคลากรและวางแผนความต้องการในการปฏิบัติงานขององค์กรและจัดสรรเงินด้านบุคลากร
- ความรู้เกี่ยวกับนโยบาย ขั้นตอน และข้อปฏิบัติ ในการบริหารจัดการด้านบุคลากร และการจัดทำแผนการบริหารจัดการบุคลากร
(2) วางแผนและจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
- ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดสมรรถนะบุคลากรที่ต้องการและระบบประเมินสมรรถนะของบุคลากร
- ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายด้านการพัฒนาบุคลากรและวางแผนพัฒนาศักยภาพบุคลากร
เพื่อจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพบุคลากร
- ความรู้เกี่ยวกับการนำระบบประเมินมาใช้พร้อมกำหนดระเบียบการต่างๆ
- ความรู้เกี่ยวกับการสนับสนุนบุคลากรตามผลการประเมิน
(3) ติดตามและประเมินแผนด้านบุคลากร
- ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและข้อปฏิบัติสำหรับบุคลากร
- ความรู้เกี่ยวกับการประเมินความสำเร็จของการปฏิบัติงานตามแผนงานด้านบุคลากร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
• เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning book)
(ข) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
• เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น แผนการบริหารจัดการบุคลากร แผนการบริหารจัดการบุคลากร (ฉบับปรับปรุง : กรณีที่มีการปรับปรุง) แผนพัฒนาศักยภาพบุคลากร ระบบประเมินศักยภาพบุคลากร ระเบียบด้านบุคลากร เอกสารนโยบายและข้อปฏิบัติสำหรับบุคลากร
• เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกงานประจำวัน (Log book)
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
• สภาพการประเมิน (Assessment Condition) เอกสารยืนยันสถานที่ปฏิบัติงานจริง หรือสถานที่ฝึกงานประกอบด้วยห้องปฏิบัติงาน เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ แบบบันทึกข้อมูลต่างๆ แบบรายงานผล
• หลักฐานความรู้ที่ต้องการ เช่น โดยการสอบภาคทฤษฎี โดยใช้แบบข้อสอบ ทั้งปรนัยและอัตนัย หรือ การสัมภาษณ์ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
• หลักฐานการปฏิบัติที่ต้องการ เช่น โดยการทดสอบภาคปฏิบัติ สังเกตหรือสัมภาษณ์การปฏิบัติงานประจำวัน ซึ่งมีเครื่องมือคือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ หรือ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยหัวหน้างาน หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ หรือเอกสารรับรองทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น แผนงานการให้บริการสปา แผนดำเนินงานในการดูและรักษาความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)
(ง) วิธีการประเมิน
ประเมินโดย
• ประเมินความรู้ โดยใช้
- ข้อสอบข้อเขียน และ/หรือ แบบประเมินความรู้
- ข้อสอบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
• ประเมินทักษะ โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์ หรือ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยหัวหน้างาน หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ
• ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้เครื่องมือ แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
• พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย หลักฐานความรู้ ได้แก่ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book) และหลักฐานทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ หรือ เอกสารรับรองทักษะ เช่น แผนงานการให้บริการสปา แผนดำเนินงานในการดูและรักษาความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)


15. ขอบเขต (Range Statement)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">ระบบประเมินสมรรถนะ คือ สิ่งที่กำหนด โดยมีความสอดคล้องกับการประเมินสมรรถนะบุคคล


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ประเมินความรู้ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยใช้
(1) ข้อสอบข้อเขียน หรือ แบบประเมินความรู้
(2) ข้อสอบสัมภาษณ์ หรือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.2 ประเมินทักษะ เพื่อวัดทักษะ ความสามารถ ความชำนาญ โดยใช้แบบประเมินต่างๆ อาทิ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน
18.3 ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้ แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.4 พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย
(1) หลักฐานความรู้ ได้แก่
(1.1) เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
(1.2) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
(2) หลักฐานทักษะ ได้แก่
(2.1) เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น แผนการบริหารจัดการบุคลากร แผนการบริหารจัดการบุคลากร (ฉบับปรับปรุง : กรณีที่มีการปรับปรุง) แผนพัฒนาศักยภาพบุคลากร ระบบประเมินศักยภาพบุคลากร ระเบียบด้านบุคลากร เอกสารนโยบายและข้อปฏิบัติสำหรับบุคลากร
(2.2) เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
(2.3) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)



ยินดีต้อนรับ