หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการด้านการตลาดของงานบริการสปา

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-SPA-5-078ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการด้านการตลาดของงานบริการสปา

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">อาชีพนักบริหารจัดการสปา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะเฉพาะนี้ เป็นหน่วยวัดความรู้ ทักษะและผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ของอาชีพนักบริหารจัดการสปา ระดับ 5 โดยต้องมีความรู้ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ ประกอบด้วยสมรรถนะย่อยการสำรวจและสรุปความต้องการของผู้รับบริการ วางแผนและกำหนดแผนการตลาดงานบริการสปา ออกแบบโปรแกรมหรือเมนูสปารวมถึง การจัดการข้อมูลของผู้รับบริการสปา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพกิจกรรมบริการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย(ยกเว้นกิจกรรมด้านกีฬา) สาขาให้บริการสปา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10102-01 สำรวจและสรุปความต้องการของผู้รับบริการ 1.1 สำรวจความต้องการของผู้รับบริการตามเป้าหมายที่กำหนดด้วยความชัดเจน 10102-01.01 132013
10102-01 สำรวจและสรุปความต้องการของผู้รับบริการ 1.2 สรุปผลการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการได้ถูกต้อง 10102-01.02 132014
10102-02 วางแผนและกำหนดแผนการตลาดงานบริการสปา 1.1 วางแผนการตลาดงานบริการสปาให้มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับสถานการณ์ 10102-02.01 132015
10102-02 วางแผนและกำหนดแผนการตลาดงานบริการสปา 1.2 กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดงานบริการสปาให้มีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับสถานการณ์ 10102-02.02 132016
10102-02 วางแผนและกำหนดแผนการตลาดงานบริการสปา 1.3 จัดทำแผนและถ่ายทอดแผนการตลาดงานบริการสปาสู่การปฏิบัติให้สามารถวัดผลได้ 10102-02.03 132017
10102-03 ออกแบบโปรแกรมหรือเมนูสปา 1.1 ออกแบบโปรแกรมหรือเมนูสปาเพื่อผ่อนคลายร่างกายและจิตใจเพื่อให้ได้ทรีทเมนท์ที่เหมาะสมกับการให้บริการในสปา 10102-03.01 132018
10102-03 ออกแบบโปรแกรมหรือเมนูสปา 1.2 ทดสอบ ปรับปรุง เมนูสปาให้มีความเหมาะสมในการให้บริการเพื่อผ่อนคลายร่างกายและจิตใจโดยคำนึงถึงหลักวิชาการ เพื่อให้ได้ทรีทเมนท์ที่เหมาะสมกับการให้บริการในสปา 10102-03.02 132019
10102-04 จัดการข้อมูลของผู้รับบริการสปา 1.1 รวบรวมข้อมูลตามแบบฟอร์มของสถานประกอบการตามเป้าหมายเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยคำนึงถึงการนำไปใช้ประโยชน์ภายในสถานประกอบการ อย่างละเอียด ครบถ้วน 10102-04.01 132020
10102-04 จัดการข้อมูลของผู้รับบริการสปา 1.2 วิเคราะห์ ประมวลผล ถูกต้อง แม่นยำ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการสปา 10102-04.02 132021

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น
(1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสปาและสุขภาพแบบองค์รวม
(2) ความรู้เรื่องลำดับ ขั้นตอน การให้บริการสปาทรีทเมนท์
(3) ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เครื่องมือ อุปกรณ์และเครื่องใช้ในกระบวนการให้บริการสปา
(4) ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพสปา
(5) ความรู้เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการสปา
(ข) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น
(1) ความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับสปาเพื่อการให้บริการด้านสุขภาพแบบองค์รวม
(2) ความสามารถในการบอกลำดับ ขั้นตอน การให้บริการสปาทรีทเมนท์
(3) ความสามารถในการบอกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เครื่องมือ อุปกรณ์และเครื่องใช้ในกระบวนการให้บริการสปา
(4) ความสามารถในการอธิบายเกี่ยวกับจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพสปา
(5) ความสามารถในการอธิบายเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการสปา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1) สำรวจและสรุปความต้องการของผู้รับบริการ
- ความสามารถในการออกแบบและกำหนดวิธีสำรวจข้อมูลด้านความต้องการของผู้รับบริการ
- ความสามารถในการสรุปผลการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ
(2) วางแผนและกำหนดแผนการตลาดงานบริการสปา
- ความสามารถในการวางแผนการตลาดงานบริการสปา
- ความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดงานบริการสปา
- ความสามารถในการสื่อสารและถ่ายทอดแผนการตลาดงานบริการสปาสู่การปฏิบัติ
(3) ออกแบบโปรแกรมหรือเมนูสปา
- ความสามารถในการออกแบบโปรแกรมหรือเมนูสปา
- ความสามารถในกระบวนการทดสอบ การปรับปรุงเมนูสปาให้มีความเหมาะสมในการให้บริการ
(4) จัดการข้อมูลของผู้รับบริการ
- ความสามารถในการรวบรวมข้อมูลตามแบบฟอร์มของสถานประกอบการ
- ความสามารถในการวิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูล เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการ
สปา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1) สำรวจและสรุปความต้องการของผู้รับบริการ
- ความรู้เกี่ยวกับการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ
- ความรู้ในการสรุปผลการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ
(2) วางแผนและกำหนดแผนการตลาดงานบริการสปา
- ความรู้ด้านการวางแผนการตลาดงานบริการสปา
- ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดงานบริการสปา
- ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารและถ่ายทอดแผนการตลาดงานบริการสปาสู่การปฏิบัติ
(3) ออกแบบโปรแกรมหรือเมนูสปา
- ความรู้ด้านการออกแบบโปรแกรมหรือเมนูสปา
- ความรู้ด้านกระบวนการทดสอบ การปรับปรุงเมนูสปาให้มีความเหมาะสมในการให้บริการ
(4) จัดการข้อมูลของผู้รับบริการสปา
- ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ และ/หรือกระบวนการรวบรวมข้อมูลตามแบบฟอร์มของสถานประกอบการ
- ความรู้เกี่ยวกับวิธีการในการวิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูล เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุง
การให้บริการสปา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
• เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning book)
(ข) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
• เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น ผลสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ แผนการตลาดงานบริการสปา โปรแกรมหรือเมนูสปา สรุปการประมวลผลข้อมูลผู้รับบริการสปา
• เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
• แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกงานประจำวัน (Log book)
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
• สภาพการประเมิน (Assessment Condition) เอกสารยืนยันสถานที่ปฏิบัติงานจริง หรือสถานที่ฝึกงานประกอบด้วยห้องปฏิบัติงาน เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ แบบบันทึกข้อมูลต่างๆ แบบรายงานผล
• หลักฐานความรู้ที่ต้องการ เช่น โดยการสอบภาคทฤษฎี โดยใช้แบบข้อสอบ ทั้งปรนัยและอัตนัย หรือ การสัมภาษณ์ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
• หลักฐานการปฏิบัติที่ต้องการ เช่น โดยการทดสอบภาคปฏิบัติ สังเกตหรือสัมภาษณ์การปฏิบัติงานประจำวัน ซึ่งมีเครื่องมือคือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ หรือ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยหัวหน้างาน หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ หรือเอกสารรับรองทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น แผนงานการให้บริการสปา แผนดำเนินงานในการดูและรักษาความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)
(ง) วิธีการประเมิน
ประเมินโดย
• ประเมินความรู้ โดยใช้
- ข้อสอบข้อเขียน และ/หรือ แบบประเมินความรู้
- ข้อสอบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
• ประเมินทักษะ โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์ หรือ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน ประเมินโดยหัวหน้างาน หรือผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ
• ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้เครื่องมือ แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
• พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย หลักฐานความรู้ ได้แก่ เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้ แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book) และหลักฐานทักษะ ได้แก่ เอกสารงานที่ปฏิบัติ หรือ เอกสารรับรองทักษะ เช่น แผนงานการให้บริการสปา แผนดำเนินงานในการดูและรักษาความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)


15. ขอบเขต (Range Statement)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">แบบฟอร์มของสถานประกอบการ คือ สิ่งที่สถานประกอบการกำหนดให้ถือเป็นหลักหรือเป็นแนวดำเนินในด้านนั้นๆ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ประเมินความรู้ เพื่อวัดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยใช้
(1) ข้อสอบข้อเขียน หรือ แบบประเมินความรู้
(2) ข้อสอบสัมภาษณ์ หรือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.2 ประเมินทักษะ เพื่อวัดทักษะ ความสามารถ ความชำนาญ โดยใช้แบบประเมินต่างๆ อาทิ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการปฏิบัติงาน แบบแสดงทักษะการปฏิบัติงาน
18.3 ประเมินผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ ตามที่พึงมีในเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยใช้ แบบสังเกตคุณสมบัติที่พึงประสงค์และ/หรือแบบบันทึกการสัมภาษณ์
18.4 พิจารณาหลักฐาน ประกอบด้วย
(1) หลักฐานความรู้ ได้แก่
(1.1) เอกสารรับรองความรู้ เช่น ใบวุฒิบัตร ใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือแบบรายงานผลความรู้
(1.2) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)
(2) หลักฐานทักษะ ได้แก่
(2.1) เอกสารงานที่ปฏิบัติ เช่น ผลสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ แผนการตลาดงานบริการสปา โปรแกรมหรือเมนูสปา สรุปการประมวลผลข้อมูลผู้รับบริการสปา
(2.2) เอกสารรับรองการทำงาน เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการ แบบประเมินงานจากหัวหน้างาน
(2.3) แฟ้มสะสมงาน เช่น ภาพถ่าย สมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)



ยินดีต้อนรับ