หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงในสถานที่ต่างๆ

สาขาวิชาชีพการบรรเทาสาธารณภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DPM-FIR-3-012ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงในสถานที่ต่างๆ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 88 516  พนักงานให้บริการด้านการป้องกันภัย

ISCO 88 5161 พนักงานดับเพลิง

ISCO 88 5162 เจ้าหน้าที่ตํารวจ

ISCO 88 5169 พนักงานให้การบริการป้องกันภัย 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      สามารถควบคุมการปฏิบัติการดับเพลิงให้สงบอย่างรวดเร็ว มีปัจจัยหลายอย่างที่สนับสนุนความสำเร็จ อาทิเช่น ความรุนแรงของเพลิง ประสบการณ์ของนักดับเพลิงแต่ละคน ความพร้อมของเครื่องมือ อุปกรณ์ ทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้ในการดับเพลิง นอกจากนี้ปัจจัยด้านสถานที่เกิดเหตุก็เป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่สำคัญ เพราะสถานที่เกิดเหตุเพลิงไหม้แต่ละที่เช่น อาคาร อาคารสูง โรงงาน หรือในคลังน้ำมัน ต่างก็มีความแตกต่างกัน ดังนั้นการดับเพลิงแต่ละสถานที่จึงต้องอาศัยองค์ความรู้ เทคนิค ประสบการณ์ หลายอย่างประกอบกัน      สามารถใช้อุปกรณ์ในการดับเพลิงเช่น สามารถใช้หัวฉีดดับเพลิงได้อย่างคล่องแคล่ว เบาะรองรับการกระโดด เครื่องอัดอากาศสำหรับ SCBA ในการอัดอากาศสู่ถังอัดอากาศชุดเครื่องช่วยหายใจ สามารถใช้ชุดอุปกรณ์ระบุตำแหน่งของผู้ปฏิบัติงานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พนักงานดับเพลิง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
302221

ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงในอาคาร

1. ตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์ ยานพาหนะ ที่เหมาะสมกับสถานที่เกิดเหตุในอาคาร

302221.01 173086
302221

ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงในอาคาร

2. ประเมินสถานการณ์เบื้องต้นในที่เกิดเหตุก่อนปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิง

302221.02 173087
302221

ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงในอาคาร

3. ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงได้ถูกต้อง เหมาะสมกับสถานที่เกิดแหตุแต่ละที่

302221.03 173088
302221

ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงในอาคาร

4. ประสานงาน สื่อสาร ร่วมปฏิบัติการกับหน่วยงานข้างเคียง (ถ้ามี) ในขณะปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิง

302221.04 173089
302222

ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงในอาคารสูง

1. ตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์ ยานพาหนะ ที่เหมาะสมกับสถานที่เกิดเหตุแต่ละที่ในอาคารสูง

302222.01 173090
302222

ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงในอาคารสูง

2. ประเมินสถานการณ์เบื้องต้นในที่เกิดเหตุก่อนปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิง

302222.02 173091
302222

ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงในอาคารสูง

3. ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงได้ถูกต้อง เหมาะสมกับสถานที่เกิดแหตุแต่ละที่

302222.03 173092
302222

ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงในอาคารสูง

4. ประสานงาน สื่อสาร ร่วมปฏิบัติการกับหน่วยงานข้างเคียง (ถ้ามี) ในขณะปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิง

302222.04 173093
302223

ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงในโรงงาน

1. ตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์ ยานพาหนะ ที่เหมาะสมกับสถานที่เกิดเหตุในโรงงาน

302223.01 173094
302223

ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงในโรงงาน

2. ประเมินสถานการณ์เบื้องต้นในที่เกิดเหตุก่อนปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิง

302223.02 173095
302223

ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงในโรงงาน

3. ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงได้ถูกต้อง เหมาะสมกับสถานที่เกิดแหตุแต่ละที่

302223.03 173096
302223

ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงในโรงงาน

4. ประสานงาน สื่อสาร ร่วมปฏิบัติการกับหน่วยงานข้างเคียง (ถ้ามี) ในขณะปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิง

302223.04 173097
302224

ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงในคลังน้ำมัน โรงกลั่นน้ำมัน

1. ตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์ ยานพาหนะ ที่เหมาะสมกับสถานที่เกิดเหตุในคลังน้ำมัน โรงกลั่นน้ำมัน

302224.01 173098
302224

ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงในคลังน้ำมัน โรงกลั่นน้ำมัน

2. ประเมินสถานการณ์เบื้องต้นในที่เกิดเหตุก่อนปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิง

302224.02 173099
302224

ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงในคลังน้ำมัน โรงกลั่นน้ำมัน

3. ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงได้ถูกต้อง เหมาะสมกับสถานที่เกิดแหตุแต่ละที่

302224.03 173100
302224

ปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิงในคลังน้ำมัน โรงกลั่นน้ำมัน

4. ประสานงาน สื่อสาร ร่วมปฏิบัติการกับหน่วยงานข้างเคียง (ถ้ามี) ในขณะปฏิบัติการควบคุมและดับเพลิง

302224.04 173101

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ทฤษฎีการดับเพลิง / การดับเพลิงขั้นต้น

การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ยานพาหนะในการดับเพลิง

การใช้อุปกรณ์สื่อสารหรือวิทยุสื่อสาร

การพิจารณาสวมใส่ชุดป้องกันส่วนบุคคลได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

      การดับเพลิง การระบายควันในรูปแบบต่างๆ 

      การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ยานพาหนะในการดับเพลิงได้อย่างคล่องแคล่ว

      การประเมินสถานการณ์และความรุนแรงของเพลิง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

      ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีไฟ เทคนิคการดับไฟ เทคนิคการระบายควัน

      ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีวัสดุ

      ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี มาตรฐาน/แนวทางการดับเพลิง

      ความรู้เกี่ยวกับการจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ ยานพาหนะที่เหมาะสมในการดับเพลิง

      ความรู้ด้านการบริหารจัดการเพลิงไหม้ในรูปแบบต่างๆ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      - เอกสารแสดงประสบการณ์ทำงานด้านการดับเพลิงในสถานที่ต่างๆ 

      - เอกสารแสดงประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ การบำรุงรักษาดูแลเครื่องมือ อุปกรณ์ ยานพาหนะในการดับเพลิง

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      - เอกสารแสดงการผ่านการอบรมด้านการดับเพลิง การระบายควัน เทคโนโลยีวัสดุ มาตรฐานดับเพลิง เป็นต้น

      - ความรู้ในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ยานพาหนะ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      ประเมินโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1. การทดสอบความรู้ 

      2. การสอบสัมภาษณ์ 

      3. การสาธิตหรือสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ขอบเขตอธิบายวิธีถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ

N/A

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      การจัดหน้าที่บริหารงานดับเพลิงในการปฏิบัติการผจญเพลิงต้องคำนึงถึงตำแหน่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพ เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการปฏิบัติการผจญเพลิง

      สามารถใช้อุปกรณ์ในการดับเพลิงเช่น เบาะรองรับการกระโดด เครื่องอัดอากาศสำหรับ SCBA ในการอัดอากาศสู่ถังอัดอากาศชุดเครื่องช่วยหายใจ สามารถใช้ชุดอุปกรณ์ระบุตำแหน่งของผู้ปฏิบัติงานได้ สามารถใช้อุปกรณ์เครื่องสูบน้ำดับเพลิง หัวฉีดดับเพลิงได้ 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบทดสอบข้อสอบข้อเขียน

18.2 แบบประเมินผลการสัมภาษณ์ 

18.3 แบบประเมินผลการปฏิบัติจากการสาธิตหรือสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ