หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยขั้นสูง

สาขาวิชาชีพการบรรเทาสาธารณภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DPM---8-009ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยขั้นสูง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 08 code 1344 Title EN Social welfare managers


1 5414 พนักงานรักษาความปลอดภัย
1 5419 ผู้ให้บริการด้านการป้องกันภัย ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      กำกับดูแลและปรับปรุงการค้นหาและกู้ภัยขั้นสูง การบัญชาการเหตุการณ์ขั้นสูง การจัดการสาธารณภัยขั้นสูง กำกับดูแลการปฏิบัติการ (Operation) การประเมินสถานการณ์ การประสานงานกับหน่วยงานต่างๆทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการให้ความช่วยเหลือ การเคลื่อนย้าย (Mobilization) สำรวจความพร้อมของเครื่องมือ สามารถค้นหาชั้นสูงได้ มีทักษะเชิงเทคนิคในการเคลื่อนย้ายพิเศษในซากปรักหักพัง การยก การตัด การค้ำยัน (Cribbing) มีเทคนิคการค้ำยันสำหรับแนวดิ่ง รู้จักประเภทความสียหายของโครงสร้าง การคัดแยกโครงสร้าง การใช้เครื่องมืออุปกรณ์เสริมกำกับดูแลการประสานงานการประเมินความเสี่ยงการสำรวจเส้นทางเคลื่อนย้ายสำรวจพื้นที่ตั้งฐานการทำแผนฉุกเฉิน กำหนดแนวทางการปฏิบัติการ (Operation) การวิเคราะห์ข้อมูลการกำหนดกลยุทธการค้นหาการทำแผนรักษาความปลอดภัย การทำแผนปฏิบัติการการกำหนดที่รวบรวมผู้ประสบภัยกำกับดูแลการปฐมพยาบาลกำหนดแผนอพยพผู้ประสบภัยการประสานงานการผลัดเปลี่ยนกำลังการเฝ้าระวังภัยซ้ำซ้อนหรือเกิดซ้ำการรายงานการถอนกำลัง(Demobilization)การตรวจสอบการรายงานหลังเสร็จภารกิจ(Post-Mission)ตรวจสอบภายหลังจบภารกิจ สรุปบทเรียน สามารถใช้อุปกรณ์ในการค้นหาและกู้ภัยได้เป็นอย่างดี เช่น อุปกรณ์การค้นหา เช่น เครื่องเรดาห์สำหรับค้นหาผู้ประสบภัยใต้ซากอาคาร GPS เข็มทิศ แผนที่ การใช้โดรน การใช้บอลลูนกู้ภัย การให้เรือกู้ภัย อุปกรณ์พิเศษที่มีความเฉพาะตามประเภทของภัยได้ อุปกรณ์สำหรับการปีน การโรยตัวจากที่สูง การใช้เข็มขัดรัดสะโพก (Harness) อุปกรณ์ลงทางดิ่ง (Self-braking descender for single rope)  สามารถใช้อุปกรณ์ในการกู้ภัยได้เช่นเครื่องมือหาตำแหน่งด้วยดาวเทียม เลื่อยยนต์ เชือก ห่วงชูชีพ เชือกเหยียบ (Adjustable webbing foot loop) รอกเดี่ยวกู้ภัย (Rescue Pulley) อุปกรณ์ช่วยในการไต่ขึ้นทางดิ่ง (Ascension Rope Clamp) เชือกทางดิ่งกู้ภัยชนิดพิเศษ ห่วงนิรภัยใช้ทำจุดยึด หรือคล้องอุปกรณ์ หรือสามารถใช้อุปกรณ์กู้ภัยเฉพาะสถานการณ์ทางน้ำ ทางบก ทางอากาศได้ สามารถใช้อุปกรณ์ในการยก เคลื่อนย้ายขนาดใหญ่เช่นระบบไฮโดรลิกส์ได้ สามารถใช้เครื่องค้นหา ไฟน์เดอร์ Finder เครื่องมือกู้ภัยไฮเทคได้ สามารถใช้เฮลิคอปเตอร์กู้ภัยได้ สามารถใช้บอลลูนกู้ภัยได้ ใช้อุปกรณ์กู้ภัยฉุกเฉินที่ใช้ระบุตำแหน่งของคนที่ถูกฝังอยู่ใต้ซากปรักหักพังได้ โดยใช้สัญญาณเรดาร์ในการตรวจจับการเต้นของหัวใจมนุษย์ได้ สามารถใช้หุ่นยนต์ดำน้ำ โดรนติดกล้องตรวจจับความร้อน เป็นต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้บริหารงานกู้ภัย นักบริหารงานกู้ภัย นักบริหารงานบรรเทาสาธารณภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
201511

ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยระดับสูง

1 สามารถใช้อุปกรณ์ชั้นสูงที่ต้องได้รับการอบรมการค้นหา และกู้ภัย เช่นการปีน การโรยตัวจากที่สูง การใช้เข็มขัดรัดสะโพก (Harness) อุปกรณ์ลงทางดิ่ง (Self-braking descender for single rope)  เครื่องมือหาตำแหน่งด้วยดาวเทียม เลื่อยยนต์ เชือก ห่วงชูชีพ เชือกเหยียบ (Adjustable webbing foot loop) รอกเดี่ยวกู้ภัย (Rescue Pulley) อุปกรณ์ช่วยในการไต่ขึ้นทางดิ่ง (Ascension Rope Clamp) เชือกทางดิ่งกู้ภัยชนิดพิเศษ ห่วงนิรภัยใช้ทำจุดยึด หรือคล้องอุปกรณ์ หรือสามารถใช้อุปกรณ์กู้ภัยเฉพาะสถานการณ์ทางน้ำ ทางบก ทางอากาศได้

201511.01 172989
201511

ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยระดับสูง

2 สามารถใช้อุปกรณ์ในการกู้ภัยที่ใช้เทคโนโลยีได้ เช่น เครื่องค้นหาด้วยเรดาห์ ใช้ระบุตำแหน่งของคนที่ถูกฝังอยู่ใต้ซากปรักหักพัง โดยใช้สัญญาณเรดาร์ในการตรวจจับการเต้นของหัวใจมนุษย์ เป็นต้น

201511.02 172990
201512

การจัดการสาธารณภัยชั้นสูง

1 จัดโครงสร้างการจัดการเหตุการณ์ ตามระบบ ICS

201512.01 172991
201512

การจัดการสาธารณภัยชั้นสูง

2 จัดทำแผนเผชิญเหตุกับศูนย์บัญชาการเหตุการณ์

201512.02 172992

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

      ทักษะการบัญชาการเหตุการณ์

      ทักษะการแก้ปัญหาวิกฤติ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

      ความรู้ในการบัญชาการเหตุการณ์

      ความรู้ในการจัดทำแผนเผชิญเหตุ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

N/A

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      เอกสารการผ่านการอบรมด้านการบรรเทาสาธารณภัย จากหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน 

      เอกสารการฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ เกี่ยวกับการกู้ภัยแบบต่าง ๆ  จากหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง

      การผ่านการอบรมการใช้เครื่องมือสื่อสารชนิดต่าง ๆ 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

N/A

(ง) วิธีการประเมิน

      1. การทดสอบความรู้ ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก 

      2. สัมภาษณ์ 

      3. สาธิตการปฏิบัติงาน 


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ขอบเขตอธิบายวิธีถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

 N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

      สามารถค้นหากู้ภัยได้ด้วยอุปกรณ์ชั้นสูงที่ต้องใช้เทคนิคพิเศษ ให้การช่วยเหลืออาการรุนแรงของผู้บาดเจ็บ สามารถใช้ แผนที่ GPD เรดาร์ โดน Thermosite, Vision device กล้องส่องสำหรับกลางคืน สามารถไต่ ลงหน้าผาสูงชันได้ สามารถใช้เชือกลงทางดิ่ง Repel สามารถลงพื้นที่เร่งด่วนได้ Fast slope ได้ จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังภัย เข้าถึงเหตุการณ์ได้อย่างรวดเร็วเป็นพิเศษกว่า รู้จักภัยชนิดต่าง ๆ และผลกระทบจากภัยเป็นอย่างดี กำกับดูแลการบัญชาการเหตุการณ์ด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ (Management) ด้านการกู้ภัย (Rescue) กำกับดูแลการปฐมพยาบาล กำกับดูแลด้านโลจีสติกส์ (Logistics) กำกับดูแลการรักษาความปลอดภัยในการปฏิบัติการ (Safety and Security) กำกับดูแลการถอนกำลัง (Demobilization) การใช้วิทยุสื่อสาร  การใช้ Social Media เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารการสื่อสารในภาวะวิกฤติ การประสานงาน จัดทำแผนเผชิญเหตุ  การสับเปลี่ยนกำลัง การถอนกำลัง  

      สามารถใช้อุปกรณ์ในการค้นหาและกู้ภัยได้เป็นอย่างดี เช่น อุปกรณ์การค้นหา เช่น เครื่องเรดาห์สำหรับค้นหาผู้ประสบภัยใต้ซากอาคาร GPS เข็มทิศ แผนที่ อุปกรณ์สำหรับการปีน การโรยตัวจากที่สูง เข็มขัดรัดสะโพก (Harness) อุปกรณ์ลงทางดิ่ง (Self-braking descender for single rope)  สามารถใช้อุปกรณ์ในการกู้ภัยได้เช่นเครื่องมือหาตำแหน่งด้วยดาวเทียม เลื่อยยนต์ เชือก ห่วงชูชีพ เชือกเหยียบ (Adjustable webbing foot loop) รอกเดี่ยวกู้ภัย (Rescue Pulley) อุปกรณ์ช่วยในการไต่ขึ้นทางดิ่ง (Ascension Rope Clamp) เชือกทางดิ่งกู้ภัยชนิดพิเศษ ห่วงนิรภัยใช้ทำจุดยึด หรือคล้องอุปกรณ์ หรือสามารถใช้อุปกรณ์กู้ภัยเฉพาะสถานการณ์ทางน้ำ ทางบก ทางอากาศได้ สามารถใช้อุปกรณ์ในการยก เคลื่อนย้ายขนาดใหญ่เช่นระบบไฮโดรลิกส์ได้ 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ผู้บริหารงานกู้ภัย นักบริหารงานกู้ภัย นักบริหารงานบรรเทาสาธารณภัย

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การทดสอบความรู้ ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก 

2. สัมภาษณ์ 

รายละเอียดดูได้จากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ