หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ปรับปรุงวิธีการแนวทางการกู้ภัย

สาขาวิชาชีพการบรรเทาสาธารณภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DPM---7-009ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ปรับปรุงวิธีการแนวทางการกู้ภัย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 08 code 1344 Title EN Social welfare managers


1 5414 พนักงานรักษาความปลอดภัย
1 5419 ผู้ให้บริการด้านการป้องกันภัย ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ปรับปรุงแนวทางในการกู้ภัย ถอดบทเรียน นำผลสำเร็จของการปฏิบัติและเทคโนโลยี วิทยาการต่างๆ มาใช้  วิเคราะห์และจัดหานวัตกรรมใหม่ ๆ ในเชิงป้องกันภัยประเภทต่าง ๆ จัดหานวัตกรรมใหม่ในการป้องกันภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักบริหารงานกู้ภัย นักบรรเทาสาธารณภัยเชี่ยวชาญ ผู้บริหารงานกู้ภัย ผู้บริหารงานบรรเทาสาธารณภัย 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
204121

ปรับปรุงแนวทางในการกู้ภัย ถอดบทเรียน นำผลสำเร็จของการปฏิบัติและเทคโนโลยี วิทยาการต่างๆ มาใช้

1 รวบรวมสถานการณ์ ปัญหาและอุปสรรคในการกู้ภัย

204121.01 173044
204121

ปรับปรุงแนวทางในการกู้ภัย ถอดบทเรียน นำผลสำเร็จของการปฏิบัติและเทคโนโลยี วิทยาการต่างๆ มาใช้

2 ถอดบทเรียนจากการเกิดเหตุภัย เพื่อจัดทำเป็นแนวทางในการอธิบายได้ถูกต้อง

204121.02 173045
204122

จัดหานวัตกรรมใหม่ในการป้องกันภัย

1. ค้นคว้า ทดลอง หรือจัดหานวัตกรรมในการป้องกันภัย และนวัตกรรมการภัย อย่างถูกต้องและครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน

204122.01 173046
204122

จัดหานวัตกรรมใหม่ในการป้องกันภัย

2. เผยแพร่ผลงานทางวิชาการค้นคว้าวิจัยนวัตกรรมป้องกันภัย ในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ

204122.02 173047

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

มีทักษะในการวิเคราะห์รายละเอียดสาเหตุของภัย และแนวทางป้องกันภัย ในแต่ละกรณีที่เกิดขึ้น อธิบายวิธีถอดบทเรียนจากการเกิดเหตุภัย เพื่อจัดทำเป็นแนวทางในการศึกษา การวิจัยนวัตกรรมใหม่ๆ ในการป้องกันภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

      ทักษะการบริหารวิกฤติการณ์ ทักษะการวิเคราะห์ภัยประเภทต่าง ๆ  

      ทักษะการวิจัยนวัตกรรม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

      ความรู้เกี่ยวกับการ บริหารวิกฤติการณ์

      ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยนวัตกรรม 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      - หลักสูตรการฝึกอบรมด้านกู้ภัย

      - เอกสารเกี่ยวกับสื่อการฝึกอบรมด้านการกู้ภัย

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      - ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบรรเทาสาธารณภัย 

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      ประเมินโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1. การทดสอบความรู้ 

      2. การสอบสัมภาษณ์ 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

      สามารถบริหารวิกฤตการณ์ในสถานการณ์วิกฤติ  วิเคราะห์รายละเอียดสาเหตุของภัย และแนวทางป้องกันภัย ในแต่ละกรณีที่เกิดขึ้น ถอดบทเรียนจากการเกิดเหตุภัยพิบัติ เพื่อจัดทำเป็นแนวทางในการศึกษา สามารถสร้างนวัตกรรมในการป้องกันภัยพิบัติชนิดต่างๆ ได้ สามารถวิจัย ค้นคว้า ทดลอง หรือจัดหานวัตกรรมในการป้องกันภัยพิบัติ และนวัตกรรมการภัยพิบัติ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ทดสอบข้อสอบข้อเขียน

18.2 ทดสอบสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ