หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รับแจ้งเหตุ รายงานและประสานงานการให้ความช่วยเหลือ

สาขาวิชาชีพการบรรเทาสาธารณภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DPM---1-009ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รับแจ้งเหตุ รายงานและประสานงานการให้ความช่วยเหลือ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 08 code 1344 Title EN Social welfare managers


1 5414 พนักงานรักษาความปลอดภัย
1 5419 ผู้ให้บริการด้านการป้องกันภัย ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      อธิบายวิธีรับแจ้งเหตุเมื่อมีภัยประสบภัยทุกประเภทโดยการรับแจ้งเหตุด้วยระบบโทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสาร จากประชาชนหรือผู้ประสบภัย มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการรับแจ้งเหตุโดยตรงหรือจากศูนย์รับแจ้งเหตุเพื่อให้ความช่วยเหลือ และใช้จิตวิทยาในการรับแจ้งเหตุและประสานงานการให้ความช่วยเหลือโดยใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่นวิทยุสื่อสาร ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ ได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานกู้ชีพ เจ้าหน้าที่กู้ภัย อาสาสมัครป้องกันสาธารณภัย 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
 พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
201111

รับแจ้งจากศูนย์รับแจ้งเหตุ

1. รับแจ้งเหตุด้วยบุคคล 

201111.01 172966
201111

รับแจ้งจากศูนย์รับแจ้งเหตุ

2. ปฏิบัติการจิตวิทยาในการรับแจ้งเหตุ อย่างถูกต้องตามหลักการ

201111.02 172967
201112

รายงานและประสานการให้ความช่วยเหลือ

1 รายงานให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ

201112.01 172968
201112

รายงานและประสานการให้ความช่วยเหลือ

2.ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความช่วยเหลือ

201112.02 172969

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

      ทักษะการรับแจ้งเหตุ 

      ทักษะประเมินความเสี่ยงของภัย และความเสี่ยงของสถานการณ์ 

      ทักษะการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

      ความรู้เกี่ยวกับการรับแจ้งเหตุด้วยบุคคล และด้วยเทคโนโลยี

      ความรู้เรื่องกระบวนการรับแจ้งเหตุ และประสานงานหน่วยปฏิบัติการ  

      ความรู้ด้านการประสานงานให้ความช่วยเหลือแบบต่าง ๆ  

      ความรู้เรื่องขั้นตอนการรับแจ้งเหตุ

      ความรู้เรื่องระดับความรุนแรงของภัยพิบัติ  

      ความรู้เกี่ยวกับการรับแจ้งเหตุและรายงาน





      การรับแจ้งและการรายงาน (Report) - ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่ หน่วย รับแจ้งเหตุจาก ผู้ประสบภัยหรือหน่วยอื่น เพื่อให้หน่วยช่วยชีวิต เข้าช่วยชีวิตในพื้นที่ที่กำหนด โดย ในส่วน ผู้รับแจ้ง ต้องรับทราบข้อมูลที่จำเป็นในการช่วยชีวิตขั้นต้น และ กระจายข่าวของส่งข่าวให้หน่วยช่วยเหลือที่ ใกล้ที่สุด หรือ ผู้ที่จะเข้าช่วยเหลือ

      การวางแผนขั้นต้น (Planning) - เป็นการปรับแผนที่เคยวางไว้ ( ถ้ามี ) ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งหากปฏิบัติบ่อยๆจะกลายเป็นซึ่งที่ทหารเรียกว่า รปจ. หรือ ระเบียบปฏิบัติประจำ

การรับแจ้งเหตุ  ความรู้เรื่องการสื่อสารในภาวะฉุกเฉินแบบต่าง ๆ 

      ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดระบบการสื่อสารเมื่อเกิดภัยหรือภาวะฉุกเฉิน        ความรู้เกี่ยวกับระบบแจ้งเหตุและการสนับสนุนข้อมูลด้านสาธารณภัยได้แก่การเชื่อมโยงหมายเลขโทรคมนาคมพิเศษระหว่างส่วนราชการและหน่วยงานที่ทำหน้าที่แจ้งเหตุและเผชิญเหตุฉุกเฉิน 

      สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 191  ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ 192 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 198 กรุงเทพมหานคร รับแจ้งเหตุเพลิงไหม้ 199 

ความรู้เรื่องแผนปฏิบัติการสื่อสารเมื่อเกิดภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉิน 

รวมทั้งทราบขั้นตอนการประสานงานเพื่อให้ความช่วยเหลือตามที่ได้รับมอบหมาย 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      แบบบันทึกการรับแจ้งเหตุ 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      เอกสารการผ่านการอบรมด้านการบรรเทาสาธารณภัย จากหน่วยงานภาครัฐ 

      เอกสารการฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ เกี่ยวกับการกู้ภัยแบบต่าง ๆ  จากหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      ศักยภาพของบุคลากรที่ศูนย์รับแจ้งเหตุและประสานงาน                                                        

      แนวทางการสอบถามข้อมูลในการรับแจ้งเหตุ

      ประเมินจากการมีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อน

      ประเมินจากเอกสารการฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการกู้ภัยและบรรเทาสาธารณภัย

(ง) วิธีการประเมิน

      1 การทดสอบความรู้ ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก 

      2 สัมภาษณ์ 

      3 สาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายวิธีถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

      อธิบายวิธีรับแจ้งเหตุ และสั่งการภาวะฉุกเฉิน สอบถามข้อมูลในการรับแจ้งเหตุกระบวนการรับแจ้งเหตุและ ประสานหน่วยปฏิบัติการนับตั้งแต่เริ่มมีการโทรศัพท์หรือวิทยุแจ้งของความช่วยเหลือจากผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินหรือผู้พบเห็น เจ้าหน้าที่รับโทรศัพท์หรือวิทยุสื่อสารต้องทราบข้อมูลให้ทราบสถานที่อยู่ของการเกิดภัย หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ ให้คำแนะนำการช่วยเหลือหรือข้อปฏิบัติต่าง ๆ แก่ผู้แจ้งให้ปฏิบัติเพื่อให้ช่วยเหลือเบื้องต้นก่อนชุดปฏิบัติฉุกเฉินทางการแพทย์จะไปถึง สามารถใช้อุปกรณ์ในการรับแจ้งเหตุได้เป็นอย่างดี เช่น วิทยุสื่อสาร เทคโนโลยีการสื่อสารรูปแบบต่างๆ และประสานงานการให้ความช่วยเหลือ 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
กลุ่มอาชีพรักษาความปลอดภัย

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1 การทดสอบความรู้ ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก 

2 สัมภาษณ์ 

3 สาธิตการปฏิบัติงาน 

รายละเอียดดูได้จากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ