หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนากระบวนการออกแบบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-DMT-5-015ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนากระบวนการออกแบบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างออกแบบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ3115 ช่างเทคนิควิศวกรรมเครื่องกล 3119.20 ช่างเทคนิควิศวกรรมควบคุม3119.40 ช่างเทคนิควิศวกรรมการผลิต3118.30 ช่างเขียนแบบเครื่องกล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถพัฒนากระบวนการในการออกแบบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับรายละเอียดระหว่างขั้นตอนต่าง ๆ  โดยอาศัยข้อมูลจากที่เคยได้ดำเนินการทั้งหมด แล้วนำมาใช้ในการออกแบบครั้งต่อ ๆ ไปที่จะจัดทำขึ้น เป้าหมายเพื่อการลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพและความน่าเชื่อถือ  ด้วยนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101M12.1 เตรียมข้อมูลที่เป็นองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาปรับปรุง 1.1 ศึกษาข้อมูล Die Process , Die Layout / Strip Layout ของแม่พิมพ์ 165054
101M12.1 เตรียมข้อมูลที่เป็นองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาปรับปรุง 1.2ศึกษาโครงสร้างของแม่พิมพ์และการใช้วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ 165055
101M12.1 เตรียมข้อมูลที่เป็นองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาปรับปรุง 1.3ศึกษาปัญหาในกระบวนการออกแบบที่มีผลต่อ QCD 165056
101M12.2 วางแผนการพัฒนากระบวนการออกแบบแม่พิมพ์ 2.1 กำหนดหัวข้อและเป้าหมายในการพัฒนา 165057
101M12.2 วางแผนการพัฒนากระบวนการออกแบบแม่พิมพ์ 2.2วางแผนพัฒนาขั้นตอนการออกแบบ 165058
101M12.2 วางแผนการพัฒนากระบวนการออกแบบแม่พิมพ์ 2.3 จัดทำระบบฐานข้อมูล 165059
101M12.3 ปฏิบัติการพัฒนากระบวนการออกแบบแม่พิมพ์ 3.1 ดำเนินการพัฒนาตามหัวข้อและเป้าหมายที่กำหนด 165060
101M12.3 ปฏิบัติการพัฒนากระบวนการออกแบบแม่พิมพ์ 3.2ติดตามรวบรวมข้อมูลจากการพัฒนา 165061
101M12.4 สรุปประเมินผลการพัฒนากระบวนการออกแบบ 4.1วิเคราะห์ผลการพัฒนา 165062
101M12.4 สรุปประเมินผลการพัฒนากระบวนการออกแบบ 4.2สรุปผลการพัฒนาและทำเป็นมาตรฐานรวมทั้งการรวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูลในการออกแบบต่อๆ ไป 165063

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถกำหนดหัวข้อและเป้าหมายในการพัฒนา

2.    สามารถวางแผนพัฒนาขั้นตอนการออกแบบ

3.    สามารถจัดทำระบบฐานข้อมูล

4.    สามารถพัฒนาในขั้นตอนย่อยของการออกแบบแม่พิมพ์

5.    สามารถรายงานผลการพัฒนากระบวนการออกแบบแม่พิมพ์

6.    สามารถดำเนินการพัฒนาตามหัวข้อและเป้าหมายที่กำหนด

7.    สามารถติดตามรวบรวมข้อมูลจากการพัฒนา

8.    สามารถวิเคราะห์ผลการพัฒนา

9.    สามารถสรุปผลการพัฒนาและทำเป็นมาตรฐานรวมทั้งการรวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูลในการออกแบบต่อไป

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับข้อมูล Die process , Die layout / Strip layout ของแม่พิมพ์

2.    ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของแม่พิมพ์และการใช้วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ

3.    ความรู้เกี่ยวกับปัญหาในกระบวนการออกแบบที่มีผลต่อ QCD

4.    ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำระบบฐานข้อมูล

5.    ความรู้ในการพัฒนาในขั้นตอนย่อยของการออกแบบแม่พิมพ์

6.    ความรู้ในการพัฒนากระบวนการออกแบบแม่พิมพ์

7.    ความรู้ในการดำเนินการพัฒนาตามหัวข้อและเป้าหมายที่กำหนด

8.    ความรู้ในการวิเคราะห์ผลการพัฒนา

9.    ความรู้ในการพัฒนาและทำเป็นมาตรฐานรวมทั้งการรวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูลในการออกแบบต่อไป


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)  และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and

Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    แสดงกำหนดหัวข้อและเป้าหมายในการพัฒนา

2.    แสดงวางแผนพัฒนาขั้นตอนการออกแบบ

3.    แสดงการจัดทำระบบฐานข้อมูล

4.    แสดงการพัฒนาในขั้นตอนย่อยของการออกแบบแม่พิมพ์

5.    แสดงการรายงานผลการพัฒนากระบวนการออกแบบแม่พิมพ์

6.    แสดงการดำเนินการพัฒนาตามหัวข้อและเป้าหมายที่กำหนด

7.    แสดงการติดตามรวบรวมข้อมูลจากการพัฒนา

8.    แสดงการวิเคราะห์ผลการพัฒนา

9.    แสดงการสรุปผลการพัฒนาและทำเป็นมาตรฐานรวมทั้งการรวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูล

10.    ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    อธิบายข้อมูล Die process , Die layout / Strip layout ของแม่พิมพ์

2.    อธิบายโครงสร้างของแม่พิมพ์และการใช้วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ

3.    ระบุวิธีแก้ไขปัญหาในกระบวนการออกแบบที่มีผลต่อ QCD

4.    อธิบายหรือระบุวิธีจัดทำระบบฐานข้อมูล

5.    อธิบายหรือระบุวิธีการพัฒนาในขั้นตอนย่อยของการออกแบบแม่พิมพ์

6.    อธิบายหรือระบุวิธีการพัฒนากระบวนการออกแบบแม่พิมพ์

7.    อธิบายหรือระบุวิธีการดำเนินการพัฒนาตามหัวข้อและเป้าหมายที่กำหนด

8.    อธิบายหรือระบุวิธีการวิเคราะห์ผลการพัฒนา

9.    อธิบายหรือระบุวิธีการพัฒนาและทำเป็นมาตรฐานรวมทั้งการรวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูล

10.    ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการในการออกแบบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง การทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

1.    แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

2.    แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน หรือ

3.    แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด/ประเภทของแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ

2.    ผู้เข้ารับประเมินต้องเข้าใจในข้อกำหนดต่าง ๆ ที่จะยึดถือเป็นกรอบในการออกแบบแม่พิมพ์แต่ละรายการ

3.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถทำการออกแบบแม่พิมพ์ได้ และมีประสบการณ์มากถึงขั้นที่จะทำการประเมินการปฏิบัติงานของช่างออกแบบแม่พิมพ์ได้

4.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถสรุปรายงานและนำเสนอผลการดำเนินงานได้

5.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีคุณสมบัติของการเป็นนักพัฒนาที่ดี

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    ขอบเขตต้องระบุชัดเจนว่าเป็นแม่พิมพ์ปั๊มโลหะชนิด/ประเภทใด มีข้อกำหนด

(Requirements) ใครเป็นผู้ออกแบบ ใช้เครื่องมืออุปกรณ์และ Software ใด ราคาขายและต้นทุนที่ประมาณราคาไว้เพื่อใช้เปรียบเทียบหลังการพัฒนา และการสรุปผลหลังดำเนินการแล้วเสร็จเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการทำการออกแบบครั้งต่อ ๆ ไป


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    



เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

1.    แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

2.    แบบทดสอบการสาธิตปฏิบัติงาน หรือ

3.    แบบฟอร์มบันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน



   



ยินดีต้อนรับ