หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมวัสดุและเครื่องมือสำหรับการทดสอบโดยไม่ทำลายด้วยวิธีตรวจพินิจ (Visual Testing)

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA---4-005ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมวัสดุและเครื่องมือสำหรับการทดสอบโดยไม่ทำลายด้วยวิธีตรวจพินิจ (Visual Testing)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักทดสอบและตรวจสอบโดยไม่ทำลายด้วยวิธีตรวจพินิจ  (Visual Testing Inspector)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถจำแนกประเภทวัสดุ เลือกใช้ค่าแสงสว่างและปรับเทียบเครื่องมือวัดแสงสำหรับการทดสอบ เลือกวิธีทำความสะอาด พร้อมทั้งสามารถทำความสะอาดได้ตามลักษณะชิ้นงาน สามารถเลือกและใช้เครื่องมือสำหรับการทดสอบได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับลักษณะชิ้นงาน นอกจากนี้ยังสามารถสอบเทียบและปรับเครื่องมือได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          นักทดสอบและตรวจสอบโดยไม่ทำลายด้วยวิธีตรวจพินิจ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10121 จำแนกประเภทวัสดุสำหรับการทดสอบโดยไม่ทำลายด้วยวิธีตรวจพินิจ 1. จัดประเภทวัสดุได้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 10121.01 141394
10121 จำแนกประเภทวัสดุสำหรับการทดสอบโดยไม่ทำลายด้วยวิธีตรวจพินิจ 2. ระบุคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุได้ถูกต้อง 10121.02 141395
10122 เลือกใช้ค่าแสงสว่างสำหรับการทดสอบโดยไม่ทำลายด้วยวิธีตรวจพินิจ 1. เลือกใช้เครื่องมือวัดแสงได้ถูกต้อง 10122.01 141396
10122 เลือกใช้ค่าแสงสว่างสำหรับการทดสอบโดยไม่ทำลายด้วยวิธีตรวจพินิจ 2. ปรับเทียบเครื่องมือวัดแสงได้ถูกต้อง 10122.02 141397
10122 เลือกใช้ค่าแสงสว่างสำหรับการทดสอบโดยไม่ทำลายด้วยวิธีตรวจพินิจ 3. วัดค่าแสงในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 10122.03 141398
10123 เลือกวิธีทำความสะอาดชิ้นงานสำหรับการทดสอบโดยไม่ทำลายด้วยวิธีตรวจพินิจ 1. เลือกวิธีทำความสะอาดตามลักษณะชิ้นงานได้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 10123.01 141399
10123 เลือกวิธีทำความสะอาดชิ้นงานสำหรับการทดสอบโดยไม่ทำลายด้วยวิธีตรวจพินิจ 2. เลือกใช้สารเคมีได้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะชิ้นงาน 10123.02 141400
10124 ทำความสะอาดชิ้นงานสำหรับการทดสอบโดยไม่ทำลายด้วยวิธีตรวจพินิจ 1. เลือกใช้อุปกรณ์ในการทำความสะอาดได้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะชิ้นงาน 10124.01 141401
10124 ทำความสะอาดชิ้นงานสำหรับการทดสอบโดยไม่ทำลายด้วยวิธีตรวจพินิจ 2. ทำความสะอาดชิ้นงานได้ถูกต้องตามขั้นตอนตามมาตรฐานที่กำหนด 10124.02 141402
10125 ตรวจสอบความสะอาดของชิ้นงานสำหรับการทดสอบโดยไม่ทำลายด้วยวิธีตรวจพินิจ 1. ตรวจสอบความสะอาดของชิ้นงานได้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด 10125.01 141403
10126 เลือกเครื่องมือสำหรับการทดสอบโดยไม่ทำลายด้วยวิธีตรวจพินิจ 1. เลือกเครื่องมือในการทดสอบได้เหมาะกับลักษณะของชิ้นงาน 10126.01 141404
10126 เลือกเครื่องมือสำหรับการทดสอบโดยไม่ทำลายด้วยวิธีตรวจพินิจ 2. ใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 10126.02 141405
10127 สอบเทียบและปรับเครื่องมือสำหรับการทดสอบโดยไม่ทำลายด้วยวิธีตรวจพินิจ 1. เลือกชิ้นงานมาตรฐานเพื่อการอ้างอิงปรับเทียบได้เหมาะสมและถูกต้อง 10127.01 141406
10127 สอบเทียบและปรับเครื่องมือสำหรับการทดสอบโดยไม่ทำลายด้วยวิธีตรวจพินิจ 2. ปรับเทียบเครื่องมือได้อย่างถูกต้อง 10127.02 141407

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโลหะวิทยาและวัสดุ



2. การตรวจสอบโดยไม่ทำลายเบื้องต้น



 

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ฟัง พูด อ่านและเขียนภาษาอังกฤษ ด้านการตรวจสอบโดยไม่ทำลาย2.



2. การจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำความสะอาดชิ้นงาน



3. การจัดเตรียมเครื่องมือในการทดสอบชิ้นงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ระบบการจัดเตรียมวัสดุและเครื่องมือ



2. การใช้เครื่องมือ



3. ชนิดของสารเคมีในการทำความสะอาด



4. วิธีการทำความสะอาดโดยใช้สารเคมี



5. วิธีการทำความสะอาดเชิงกล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ



          2. แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน 



(ข) หลักฐานความรู้ ( Knowledge Evidence )



          1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม



          2. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการจัดเตรียมวัสดุและเครื่องมือสำหรับการทดสอบโดยไม่ทำลายด้วยวิธีตรวจพินิจ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน       



          พิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          1. เครื่องมือวัดแสงสว่าง, วิธีการสอบเทียบและปรับเครื่องมือวัดแสงสว่าง, วิธีการทำความสะอาดและตรวจสอบความสะอาดชิ้นงาน, เครื่องมือและวิธีการสอบเทียบและปรับเครื่องมือสำหรับการทดสอบโดยไม่ทำลายด้วยวิธีตรวจพินิจของหน่วยสมรรถนะนี้เป็นไปตามมาตรฐาน



                    1.1 ASME Section V (American Society of Mechanical Engineers)



                    1.2 AWS D1.1 (American Welding Society)



                    1.3 ASTM (American Standard of Testing Material)



                    1.4 NTM (Non Destructive Testing Manual)



 

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน



          1) แบบทดสอบข้อเขียน



          2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน 



18.2 เครื่องมือประเมิน



          1) แบบทดสอบข้อเขียน



          2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน



18.3 เครื่องมือประเมิน



          1) แบบทดสอบข้อเขียน



          2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน



18.4 เครื่องมือประเมิน



          1) แบบทดสอบข้อเขียน



          2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน



18.5 เครื่องมือประเมิน



          1) แบบทดสอบข้อเขียน



          2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน



18.6 เครื่องมือประเมิน



          1) แบบทดสอบข้อเขียน



          2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน



18.7 เครื่องมือประเมิน



          1) แบบทดสอบข้อเขียน



          2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ