หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เขียนแบบชิ้นส่วนของแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-DMT-2-002ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เขียนแบบชิ้นส่วนของแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างออกแบบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ, 3118 ช่างเขียนแบบ, 3118.30 ช่างเขียนแบบเครื่องกล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะมีทักษะด้านการเขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ ซึ่งคลอบคลุมตั้งแต่การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเขียนแบบ เขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ และกำหนดรายละเอียดลงในแบบงานให้ครบถ้วน โดยใช้ซอฟต์แวร์เขียนแบบสำเร็จรูป

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101M02.1 เตรียมความพร้อมในงานเขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ 1.1อ่านแบบภาพประกอบแม่พิมพ์ 2 มิติ หรือ 3 มิติ 165020
101M02.1 เตรียมความพร้อมในงานเขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ 1.2เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ 165021
101M02.1 เตรียมความพร้อมในงานเขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ 1.3ศึกษาระบบการทำงานของแม่พิมพ์ 165022
101M02.1 เตรียมความพร้อมในงานเขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ 1.4 ศึกษาข้อกำหนด พิกัดงานสวม ที่จำเป็นในการเขียนแบบ 165023
101M02.2 เขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ 2.1 เขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ 165024
101M02.2 เขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ 2.2กำหนดรายละเอียดลงในแบบงาน 165025
101M02.2 เขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ 2.3ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบงาน 165026

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถใช้ซอฟต์แวร์การเขียนแบบวิศวกรรม

2.    สามารถอ่านและเข้าใจรายละเอียดขององค์ประกอบใน Title block

3.    สามารถอ่านแบบภาพประกอบ

4.    สามารถกำหนดรายละเอียดลงในแบบงาน

5.    สามารถตรวจสอบความสมบูรณ์จาการเขียนแบบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.     ความรู้ด้านการอ่านแบบภาพประกอบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ

2.    ความรู้ด้านการเขียนแบบวิศวกรรม

3.    ความรู้ด้านการระบุขนาดของภาพประกอบ

4.    ความรู้ด้านการระบุพิกัดความเผื่อชิ้นงาน

5.    ความรู้ด้านการใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์การเขียนแบบ

6.    ความรู้ ความเข้าใจในโครงสร้างและการทำงานของแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ

7.    ความรู้ด้านการมองภาพฉายในระบบ ISO Method-E และ ISO Method-A

8.    ความรู้ด้านการระบุพิกัดงานสวมตามแบบงาน

9.    ความรู้ด้านสัญลักษณ์ GD&T


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)  และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    แสดงการเขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์

2.    แสดงการกำหนดรายละเอียดลงในแบบงาน

3.    แสดงแบบงานชิ้นส่วนแม่พิมพ์

4.    ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    อธิบายหลักการอ่านแบบวิศวกรรม

2.    ระบุขนาดของภาพประกอบ

3.    ระบุพิกัดความเผื่อชิ้นงาน และพิกัดของงานสวมในแบบงาน

4.    อธิบายใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์การเขียนแบบ

5.    อธิบายโครงสร้างและการทำงานของแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ

6.    อธิบายหรือระบุสัญลักษณ์ GD&T

7.    ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการเขียนแบบแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง การทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

1.    แบบทดสอบการสัมภาษณ์

2.    แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน หรือ

3.    แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับข้อกำหนดของผู้ออกแบบ

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเขียนแบบให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

3.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องเขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ กำหนดขนาด

4.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องกำหนดรายละเอียดพิกัดความเผื่อชิ้นงานและพิกัดงานสวมลงในแบบงานครบถ้วน

5.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถเข้าใจสัญลักษณ์ GD&T ตามแบบสั่งงาน และสัญลักษณ์มาตรฐาน ASME Y14.5 M : 2008 ที่กำหนดในแบบ

6.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์เขียนแบบสำเร็จรูป ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ และมีการจัดระเบียบไฟล์ที่ดี

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    เขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์  หมายถึง เขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ปั๊มโลหะโดยใช้คอมพิวเตอร์ ไม่มีข้อกำหนดทางด้าน software ที่เลือกใช้

2.    เขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ปั๊มโลหะโดยใช้คอมพิวเตอร์ ไม่มีข้อกำหนดทางด้าน software ที่เลือกใช้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

1.    แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

2.    แบบทดสอบการสาธิตปฏิบัติงาน หรือ

3.    แบบฟอร์มบันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ