หน่วยสมรรถนะ
จัดการพลังงานความร้อนในอาคาร
สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | GPW-EME-8-076ZB |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | จัดการพลังงานความร้อนในอาคาร |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2562 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ผู้จัดการด้านพลังงานในอาคาร ISCO-08 2133 เจ้าหน้าที่ข้อมูลและประสานงานด้านอนุรักษ์พลังงาน |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถจัดการพลังงานความร้อนในอาคารได้ โดยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลพลังงาน ทำการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ พร้อมทั้งติดตามและประเมินผลการปรับปรุงการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ทางความร้อนได้ วางแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคารได้ พร้อมทั้งดำเนินการบำรุงรักษาและติดตาม ประเมินผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคาร |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
กลุ่มอาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
1. ผู้รับผิดชอบพลังงานอาวุโสด้านความร้อน2. ผู้ให้คำปรึกษาด้านการจัดการพลังงาน |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน2. ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม3. กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
11151 จัดการเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ด้านพลังงานความร้อนในอาคาร | 1. วิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงานความร้อนได้อย่างถูกต้อง | 11151.01 | 61409 |
11151 จัดการเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ด้านพลังงานความร้อนในอาคาร | 2. ดำเนินการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ด้านพลังงานความร้อนในอาคารได้อย่างถูกต้อง | 11151.02 | 61410 |
11151 จัดการเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ด้านพลังงานความร้อนในอาคาร | 3. ติดตามและประเมินผลการปรับปรุง การเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ด้านพลังงานความร้อนในอาคารได้อย่างครบถ้วน | 11151.03 | 61411 |
11152 จัดการบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านพลังงานความร้อนในอาคาร | 1. วางแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านพลังงานความร้อนในอาคารได้อย่างเหมาะสม | 11152.01 | 61412 |
11152 จัดการบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านพลังงานความร้อนในอาคาร | 2. ดำเนินงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านพลังงานความร้อนในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ | 11152.02 | 61413 |
11152 จัดการบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านพลังงานความร้อนในอาคาร | 3. ติดตามและประเมินผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านพลังงานความร้อนในอาคาร ได้อย่างครบถ้วน | 11152.03 | 61414 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
- พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ มีความสามารถในการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ 1. การเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคาร 2. การบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคาร 3. การวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ (ข) ความต้องการด้านความรู้ มีความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. การจัดการพลังงานความร้อนในอาคาร 2. เทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร 3. การเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคาร 4. การบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคาร |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
(ค) คำแนะนำในการประเมิน ประเมินเกี่ยวกับการจัดการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคาร และการจัดการบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคาร โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน
|
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะการจัดการพลังงานความร้อนในอาคาร ประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลพลังงาน การปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ พร้อมทั้งติดตามและประเมินผลการปรับปรุงการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ทางความร้อนได้วางแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคารได้ พร้อมทั้งดำเนินการบำรุงรักษาและติดตาม ประเมินผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคาร ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน ข้อ. 18 (ก) คำแนะนำ 1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องจัดการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคาร และตรวจวัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ในระบบเครื่องกลไฟฟ้า (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. จัดการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคาร ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลพลังงานความร้อนในอาคารได้อย่างถูกต้อง ดำเนินการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคารได้อย่างถูกต้อง และติดตามและประเมินผลการปรับปรุง การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคารได้อย่างครบถ้วน 2. จัดการบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคาร ดำเนินการวางแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคารได้อย่างเหมาะสม ดำเนินงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และติดตามและประเมินผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคารได้อย่างครบถ้วน |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
-N/A- |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
-N/A- |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือประเมิน จัดการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคาร 1) การสัมภาษณ์จากแฟ้มสะสมผลงาน เนื้อหาการสัมภาษณ์ประกอบด้วย ประวัติการทำงาน ผลงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ ปัญหาอุปสรรคและแนวการแก้ไข ความรู้ทางเทคโนโลยีและการนำไปประยุกต์ใช้ ความรู้ด้านกฏหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 2) แฟ้มสะสมผลงาน พิจารณาจากผลงานที่ผ่านของผู้เข้ารับการะประเมิน ประกอบด้วยสรุปผลงานการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคารที่ผ่านมาโดยมีเนื้อหาสรุปดังนี้ สภาพเดิมก่อนการดำเนินงาน แนวคิดในการวิเคราะห์ การตรวจวัดด้านที่เกี่ยวข้องกับงาน เปรียบเทียบผลการลงทุนด้านเศรษฐศาสตร์ และผลกระทบด้านต่างๆ แสดงรายการคำนวณ ผลการติดตั้ง ตรวจวัดและผลหลังจากดำเนินงาน 18.2 เครื่องมือประเมิน จัดการบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคาร 1) การสัมภาษณ์จากแฟ้มสะสมผลงาน เนื้อหาการสัมภาษณ์ประกอบด้วย ประวัติการทำงาน ผลงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ ปัญหาอุปสรรคและแนวการแก้ไข ความรู้ทางเทคโนโลยีและการนำไปประยุกต์ใช้ ความรู้ด้านกฏหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 2) แฟ้มสะสมผลงาน พิจารณาจากผลงานที่ผ่านของผู้เข้ารับการะประเมิน ประกอบด้วยผลงานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางความร้อนในอาคารที่ผ่านมาโดยมีเนื้อหาสรุปดังนี้ แผนการบำรุงรักษาที่ผ่านมา แนวทางปฏิบัติในบำรุงรักษา ปัญหาอุปสรรคและแนวการแก้ไข
|