หน่วยสมรรถนะ
อนุรักษ์พลังงานระบบทำความเย็น
สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | GPW-EME-7-062ZB |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | อนุรักษ์พลังงานระบบทำความเย็น |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2562 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ผู้ช่วยผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญ ISCO-08 2133 เจ้าหน้าที่ข้อมูลและประสานงานด้านอนุรักษ์พลังงาน 2133 นักวิชาการพลังงานปฏิบัติการ/ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ 1 2133 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถอนุรักษ์พลังงานระบบทำความเย็น โดยสามารถตรวจวัดการใช้ พลังงานของระบบและอุปกรณ์ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย สามารถประเมินประสิทธิภาพและวิเคราะห์ ปัจจัยที่มีผลกระทบของระบบและอุปกรณ์ได้ พร้อมทั้งกำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานระบบเครื่องกลไฟฟ้า ได้อย่างถูกต้องตรงตามข้อกำหนด |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
กลุ่มอาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
9.1 ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญ |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
10.1 พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน10.2 ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงาน ควบคุมและอาคารควบคุม10.3 กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
11121 วิเคราะห์ภาระความร้อนของระบบทำความเย็น | 1.
ตรวจวัดค่าภาระความร้อนของห้องเย็นตามมาตรฐานที่กำหนด |
11121.01 | 61393 |
11121 วิเคราะห์ภาระความร้อนของระบบทำความเย็น | 2. ประเมินสมรรถนะของฉนวนตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด |
11121.02 | 61394 |
11122 กำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานระบบทำความเย็น | 1. ตรวจวัดการใช้พลังงานและประเมินประสิทธิภาพของระบบทำความเย็นได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย |
11122.01 | 61396 |
11122 กำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานระบบทำความเย็น | 2. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของระบบทำความเย็นได้อย่างครบถ้วน |
11122.02 | 61397 |
11122 กำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานระบบทำความเย็น | 3. กำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานระบบทำความเย็นอย่างมีประสิทธิภาพตามข้อกำหนด |
11122.03 | 147952 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ มีความสามารถในการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ 1. การวิเคราะห์ภาระความร้อนของระบบทำความเย็น 2. การอนุรักษ์พลังงานระบบทำความเย็น (ข) ความต้องการด้านความรู้ มีความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นในการตรวจวัดเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน 2. ประเภทและหลักการทำงานของระบบทำความเย็น 3. การคำนวณภาระความร้อนของห้องเย็น 4. หลักการคำนวณพื้นฐานทางพลังงาน ผลประหยัด ระยะเวลาคืนทุน 5. การประเมินประสิทธิภาพพลังงานของระบบระบบทำความเย็น 6. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพพลังงานของระบบทำความเย็น 7. การอนุรักษ์พลังงานของระบบทำความเย็น |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ 2. เอกสารสำเนารายงานการจัดการพลังงาน หรือ 3. เอกสารรับรองผลการประเมินจากการปฏิบัติงานจริง หรือ 4. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. หลักฐานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง หรือ 2. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการรับผิดชอบด้านพลังงาน หรือ 3. เอกสารรับรองจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือ 4. แบบบันทึกผลการสอบข้อสอบข้อเขียน (ค) คำแนะนำในการประเมิน ประเมินเกี่ยวกับการวิเคราะห์ภาระความร้อนของระบบทำความเย็น และการกำหนดมาตรการ อนุรักษ์พลังงานระบบทำความเย็น โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและ หลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาหลักฐานความรู้ 2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะการ วิเคราะห์ภาระความร้อนของระบบทำความเย็น การตรวจวัดการใช้พลังงานของระบบทำความเย็นได้อย่าง ถูกต้องและปลอดภัย การประเมินประสิทธิภาพและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของระบบ พร้อมทั้ง กำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานของระบบได้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในข้อ 18 (ก) คำแนะนำ ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการวิเคราะห์ภาระความร้อนของระบบทำความเย็น และการ กำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานระบบทำความเย็น (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. วิเคราะห์ภาระความร้อนของระบบทำความเย็น มีความรู้และความเข้าใจหลักการคำนวณภาระ ความร้อนของห้องเย็น โดยคำนวณจากภาระความร้อนของฉนวนห้องเย็น พื้นที่ห้องเย็น ค่าความร้อนภายใน ห้องเย็น เช่น สินค้า อุปกรณ์ ผู้ที่ปฏิบัติงานภายในห้องเย็น เป็นต้น ตรวจวัดค่าภาระความร้อนของห้องเย็น ตามมาตรฐานที่กำหนดและประเมินสมรรถนะของฉนวนตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 2. กำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานระบบทำความเย็น มีความรู้และความเข้าใจประเภทและ หลักการทำงานของระบบทำความเย็น ตรวจวัดการใช้พลังงานและประเมินประสิทธิภาพพลังงานของระบบทำ ความเย็น วิเคราะปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพพลังงานของระบบทำความเย็น และสามารถกำหนด มาตรการอนุรักษ์พลังงานของระบบทำความเย็น |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือประเมิน วิเคราะห์ภาระความร้อนของระบบทำความเย็น 1) ข้อเขียนแบบปรนัยและแบบอัตนัย เป็นการทดสอบความรู้โดยแบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก และแบบทดสอบอัตนัย ประกอบด้วยรายละเอียดเนื้อหาดังนี้ มีความรู้และความ เข้าใจหลักการคำนวณภาระความร้อนของห้องเย็น ความรู้และความเข้าใจขั้นตอนตรวจวัด ค่าภาระความร้อนของห้องเย็น และการประเมินสมรรถนะของฉนวน 2) แฟ้มสะสมผลงาน พิจารณาจากผลงานที่ผ่านของผู้เข้ารับการะประเมินเกี่ยวกับการ วิเคราะห์ภาระความร้อนของระบบทำความเย็น ประกอบด้วยรายละเอียด ขั้นตอนการ ตรวจวัดค่าภาระความร้อนของห้องเย็น และผลการประเมินสมรรถนะของฉนวน 18.2 เครื่องมือประเมิน กำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานระบบทำความเย็น 1) ข้อเขียนแบบปรนัยและแบบอัตนัย เป็นการทดสอบความรู้โดยแบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก และแบบทดสอบอัตนัย ประกอบด้วยรายละเอียดเนื้อหาดังนี้ มีความรู้และความ เข้าใจประเภทและหลักการทำงานของระบบทำความเย็น ความรู้และความเข้าใจขั้นตอน การตรวจวัดการใช้พลังงานและประเมินประสิทธิภาพพลังงานของระบบทำความเย็น การ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพพลังงานของระบบทำความเย็น และการ กำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานระบบทำความเย็น 2) แฟ้มสะสมผลงาน พิจารณาจากผลงานที่ผ่านของผู้เข้ารับการะประเมินเกี่ยวกับการกำหนด มาตรการอนุรักษ์พลังงานระบบทำความเย็น ประกอบด้วยรายละเอียด ขั้นตอนการ ตรวจวัดการใช้พลังงานและประเมินประสิทธิภาพพลังงานของระบบทำความเย็น ผลการ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพพลังงานของระบบทำความเย็นและมาตรการ อนุรักษ์พลังงานระบบทำความเย็น |