หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

อนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่น ๆ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EME-7-042ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ อนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่น ๆ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้ช่วยผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญ
ISCO-08 2133 เจ้าหน้าที่ข้อมูลและประสานงานด้านอนุรักษ์พลังงาน
2133 นักวิชาการพลังงานปฏิบัติการ/ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ


1 2133 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีความสามารถในการอนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่น ประกอบด้วย ความร้อนของการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ ระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่น โดยสามารถตรวจวัดการใช้พลังงานของระบบและอุปกรณ์ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย สามารถประเมินประสิทธิภาพและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบของระบบและอุปกรณ์ได้ พร้อมทั้งกำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่น ได้อย่างถูกต้องตรงตามข้อกำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
9.1 ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน10.2 ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม10.3 กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
11091 นำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ 1.ตรวจวัดการใช้พลังงานและประเมินประสิทธิภาพพลังงานของการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 11091.01 61372
11091 นำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ 2.วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพพลังงานของการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างครบถ้วน 11091.02 61373
11091 นำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ 3. กำหนดมาตรการการอนุรักษ์พลังงาน ของการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ มีประสิทธิภาพตามข้อกำหนด 11091.03 61374
11092 อนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำในอาคาร 1. ตรวจวัดการใช้พลังงานและประเมินประสิทธิภาพพลังงานของระบบไอน้ำในอาคารได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 11092.01 61375
11092 อนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำในอาคาร 2. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพพลังงานของระบบไอน้ำในอาคารได้อย่างครบถ้วน 11092.02 61376
11092 อนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำในอาคาร 3. กำหนดมาตรการการอนุรักษ์พลังงาน ของระบบไอน้ำในอาคารมีประสิทธิภาพตามข้อกำหนด 11092.03 61377
11093 อนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำอุตสาหกรรม 1. ตรวจวัดการใช้พลังงานและประเมินประสิทธิภาพพลังงานของระบบไอน้ำอุตสาหกรรมได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 11093.01 61378
11093 อนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำอุตสาหกรรม 2. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพพลังงานของระบบไอน้ำอุตสาหกรรมได้อย่างครบถ้วน 11093.02 61379
11093 อนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำอุตสาหกรรม 3. กำหนดมาตรการการอนุรักษ์พลังงาน ของระบบไอน้ำอุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพตามข้อกำหนด 11093.03 61380

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


มีความสามารถในการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้
1. การนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่
2. การอนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำในอาคาร
3. การอนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่น ๆ ในอุตสาหกรรม

(ข) ความต้องการด้านความรู้


มีความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นในการตรวจวัดเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
2. หลักการคำนวณพื้นฐานทางพลังงาน ผลประหยัด ระยะเวลาคืนทุน
3. หลักการของไหลและความร้อนเบื้องต้น
4. หลักการเผาไหม้และเทคโนโลยีการถ่ายเทความร้อน
5. อุปกรณ์และหลักการทำงานของระบบการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ ระบบไอน้ำในอาคาร ระบบไอน้ำอุตสาหกรรม และระบบความร้อนอื่นๆ เช่น ระบบเตาน้ำมันร้อน (Hot Oil System)
6. การประเมินประสิทธิภาพพลังงานของ ระบบการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ ระบบไอน้ำในอาคาร ระบบไอน้ำอุตสาหกรรม และระบบความร้อนอื่น ๆ เช่น ระบบเตาน้ำมันร้อน (Hot Oil System)
7. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพพลังงานของระบบการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ ระบบไอน้ำในอาคาร ระบบไอน้ำอุตสาหกรรม และระบบความร้อนอื่น ๆ เช่น ระบบเตาน้ำมันร้อน (Hot Oil System)
8. มาตรการการอนุรักษ์พลังงานของระบบการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ ระบบไอน้ำในอาคาร ระบบไอน้ำอุตสาหกรรม และระบบความร้อนอื่น ๆ เช่น ระบบเตาน้ำมันร้อน (Hot Oil System)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ
2. เอกสารสำเนารายงานการจัดการพลังงาน หรือ
3. เอกสารรับรองผลการประเมินจากการปฏิบัติงานจริง หรือ
4. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1. หลักฐานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง หรือ
2. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการรับผิดชอบด้านพลังงาน หรือ
3. เอกสารรับรองจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือ
4. แบบบันทึกผลการสอบข้อสอบข้อเขียน
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
ประเมินเกี่ยวกับการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ อนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำในอาคาร และอนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่น ๆ ในอุตสาหกรรม โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้
(ง) วิธีการประเมิน
1. พิจารณาหลักฐานความรู้
2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)


(ก) คำแนะนำ
1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ อนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำในอาคาร และอนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่น ๆ ในอุตสาหกรรม
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
1. นำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ มีความรู้และความเข้าใจอุปกรณ์และหลักการทำงานของระบบระบบการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ ตรวจวัดการใช้พลังงานความร้อนและประเมินประสิทธิภาพพลังงานของการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพพลังงานของการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ และสามารถกำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่
2. อนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำในอาคาร มีความรู้และความเข้าใจอุปกรณ์และหลักการทำงานของระบบไอน้ำในอาคาร ตรวจวัดการใช้พลังงานและประเมินประสิทธิภาพพลังงานของระบบไอน้ำในอาคาร วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพพลังงานของระบบไอน้ำในอาคาร และสามารถกำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำในอาคาร
3. อนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่น ๆ ในอุตสาหกรรม มีความรู้และความเข้าใจอุปกรณ์และหลักการทำงานของระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่น ๆ ในอุตสาหกรรม ตรวจวัดการใช้พลังงานและประเมินประสิทธิภาพพลังงานของระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่นๆ ในอุตสาหกรรม วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพพลังงานของระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่นๆ ในอุตสาหกรรม และสามารถกำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่น ๆ ในอุตสาหกรรม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

 18.1 เครื่องมือประเมิน นำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่

    1) ข้อเขียนแบบปรนัยและแบบอัตนัย เป็นการทดสอบความรู้โดยแบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก และแบบทดสอบอัตนัย ประกอบด้วยรายละเอียดเนื้อหาดังนี้ มีความรู้และความเข้าใจอุปกรณ์และหลักการทำงานของระบบระบบการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ ความรู้และความเข้าใจขั้นตอนตรวจวัดการใช้พลังงานความร้อนและประเมินประสิทธิภาพพลังงานของการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพพลังงานของการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ และการกำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่

    2) แฟ้มสะสมผลงาน พิจารณาจากผลงานที่ผ่านของผู้เข้ารับการะประเมินเกี่ยวกับการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ ประกอบด้วยรายละเอียด ขั้นตอนการตรวจวัดการใช้พลังงานความร้อนและประเมินประสิทธิภาพพลังงานของการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพพลังงานของการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ และมาตรการอนุรักษ์พลังงานการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้

18.2 เครื่องมือประเมิน อนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำในอาคาร

    1) ข้อเขียนแบบปรนัยและแบบอัตนัย เป็นการทดสอบความรู้โดยแบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก และแบบทดสอบอัตนัย ประกอบด้วยรายละเอียดเนื้อหาดังนี้ มีความรู้และความเข้าใจอุปกรณ์และหลักการทำงานของระบบไอน้ำในอาคาร ความรู้และความเข้าใจขั้นตอนตรวจวัดการใช้พลังงานและประเมินประสิทธิภาพพลังงานของระบบไอน้ำในอาคาร การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพพลังงานของระบบไอน้ำในอาคาร และการกำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำในอาคาร

    2) แฟ้มสะสมผลงาน พิจารณาจากผลงานที่ผ่านของผู้เข้ารับการะประเมินเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำในอาคาร ประกอบด้วยรายละเอียด ขั้นตอนการตรวจวัดการใช้พลังงานและประเมินประสิทธิภาพพลังงานของระบบไอน้ำในอาคาร ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพพลังงานของระบบไอน้ำในอาคาร และมาตรการอนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำในอาคาร

18.3 เครื่องมือประเมิน อนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่นๆ ในอุตสาหกรรม

    1) ข้อเขียนแบบปรนัยและแบบอัตนัย เป็นการทดสอบความรู้โดยแบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก และแบบทดสอบอัตนัย ประกอบด้วยรายละเอียดเนื้อหาดังนี้ มีความรู้และความเข้าใจอุปกรณ์และหลักการทำงานของระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่นๆ ในอุตสาหกรรม ความรู้และความเข้าใจขั้นตอนตรวจวัดการใช้พลังงานและประเมินประสิทธิภาพพลังงานของระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่นๆ ในอุตสาหกรรม การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพพลังงานของระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่นๆ ในอุตสาหกรรม และการกำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่น ๆ ในอุตสาหกรรม

    2) แฟ้มสะสมผลงาน พิจารณาจากผลงานที่ผ่านของผู้เข้ารับการะประเมินเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่นๆ ในอุตสาหกรรม ประกอบด้วยรายละเอียด ขั้นตอนการตรวจวัดการใช้พลังงานและประเมินประสิทธิภาพพลังงานของระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมอุตสาหกรรม ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพพลังงานของระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่นๆ ในอุตสาหกรรมอุตสาหกรรม และมาตรการอนุรักษ์พลังงานระบบไอน้ำและระบบความร้อนอื่นๆ ในอุตสาหกรรม



  



 


ยินดีต้อนรับ