หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการพลังงานไฟฟ้าในอาคาร

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EME-7-038ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการพลังงานไฟฟ้าในอาคาร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้จัดการด้านพลังงานในอาคาร



ISCO-08         2133 เจ้าหน้าที่ข้อมูลและประสานงานด้านอนุรักษ์พลังงาน

                       2133 นักวิชาการพลังงานปฏิบัติการ/ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ


1 2133 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
            ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถจัดการพลังงานไฟฟ้าในอาคารได้ โดยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลพลังงาน ทำการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ พร้อมทั้งติดตามและประเมินผลการปรับปรุงการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ วางแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคารได้ พร้อมทั้งดำเนินการบำรุงรักษาและติดตาม ประเมินผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
 1. ผู้รับผิดชอบพลังงานอาวุโสด้านไฟฟ้า2. ผู้ให้คำปรึกษาด้านการจัดการพลังงาน

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
 1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน2. ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม3. กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
11141 จัดการเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ด้านพลังงานไฟฟ้าในอาคาร

1. วิเคราะห์ข้อมูลพลังงานไฟฟ้าในอาคารได้อย่างถูกต้อง

11141.01 61403
11141 จัดการเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ด้านพลังงานไฟฟ้าในอาคาร

2. ดำเนินการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคารได้อย่างถูกต้อง

11141.02 61404
11141 จัดการเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ด้านพลังงานไฟฟ้าในอาคาร

3. ติดตามและประเมินผลการปรับปรุง การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคารได้อย่างครบถ้วน

11141.03 61405
11142 จัดการบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านพลังงานไฟฟ้าในอาคาร 1. วางแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านพลังงานไฟฟ้าในอาคารได้อย่างเหมาะสม 11142.01 61406
11142 จัดการบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านพลังงานไฟฟ้าในอาคาร 2.ดำเนินงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านพลังงานไฟฟ้าในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 11142.02 61407
11142 จัดการบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านพลังงานไฟฟ้าในอาคาร 3. ติดตามและประเมินผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านพลังงานไฟฟ้าในอาคารได้อย่างครบถ้วน 11142.03 61408

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

มีความสามารถในการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้





  1. การเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร




  2. การบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านไฟฟ้าในอาคาร




  3. การวางแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์



(ข) ความต้องการด้านความรู้

มีความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดดังต่อไปนี้




  1. การจัดการพลังงานไฟฟ้าในอาคาร

  2. เทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร

  3. การเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร

  4. การบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. เอกสารรับรองผลการประเมินจากการปฏิบัติงานจริง หรือ

  3. เอกสารสำเนารายงานการจัดการพลังงาน หรือ

  4. แบบประเมินผลจากแบบสัมภาษณ์

  5. แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (Portfolio)



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. หลักฐานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง หรือ

  2. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการรับผิดชอบด้านพลังงาน หรือ

  3. เอกสารรับรองจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



ประเมินเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร และจัดการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้



 (ง) วิธีการประเมิน




  1. พิจารณาหลักฐานความรู้

  2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

        ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะการจัดการพลังงานไฟฟ้าในอาคาร ประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลพลังงาน การปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ พร้อมทั้งติดตามและประเมินผลการปรับปรุงการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ วางแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคารได้ พร้อมทั้งดำเนินการบำรุงรักษาและติดตาม ประเมินผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน ข้อ 18



(ก) คำแนะนำ



    1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร และจัดการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



    1. จัดการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้า ดำเนินการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคารได้อย่างถูกต้อง และติดตามและประเมินผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคารได้อย่างครบถ้วน



   2. จัดการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร ดำเนินการวางแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคารได้อย่างเหมาะสม ดำเนินงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และติดตามและการประเมินผลการบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านพลังงานไฟฟ้าได้อย่างครบถ้วน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน จัดการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร



              1) การสัมภาษณ์จากแฟ้มสะสมผลงาน เนื้อหาการสัมภาษณ์ประกอบด้วย ประวัติการทำงาน ผลงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ ปัญหาอุปสรรคและแนวการแก้ไข ความรู้ทางเทคโนโลยีและการนำไปประยุกต์ใช้ ความรู้ด้านกฏหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 



             2) แฟ้มสะสมผลงาน พิจารณาจากผลงานที่ผ่านของผู้เข้ารับการะประเมิน ประกอบด้วย  สรุปผลงานการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคารที่ผ่านมาโดยมีเนื้อหาสรุปดังนี้ สภาพเดิมก่อนการดำเนินงาน แนวคิดในการวิเคราะห์ การตรวจวัดด้านที่เกี่ยวข้องกับงาน เปรียบเทียบผลการลงทุนด้านเศรษฐศาสตร์ และผลกระทบด้านต่างๆ แสดงรายการคำนวณ ผลการติดตั้ง ตรวจวัดและผลหลังจากดำเนินงาน



    18.2 เครื่องมือประเมิน จัดการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร



            1) การสัมภาษณ์จากแฟ้มสะสมผลงาน เนื้อหาการสัมภาษณ์ประกอบด้วย ประวัติการทำงาน ผลงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ ปัญหาอุปสรรคและแนวการแก้ไข ความรู้ทางเทคโนโลยีและการนำไปประยุกต์ใช้ ความรู้ด้านกฏหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น  



            2) แฟ้มสะสมผลงาน พิจารณาจากผลงานที่ผ่านของผู้เข้ารับการะประเมิน ประกอบด้วย  ผลงานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคารที่ผ่านมาโดยมีเนื้อหาสรุปดังนี้ แผนการบำรุงรักษาที่ผ่านมา แนวทางปฏิบัติในบำรุงรักษา ปัญหาอุปสรรคและแนวการแก้ไข



 


 



ยินดีต้อนรับ