หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EME-7-030ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้จัดการด้านพลังงานในอาคาร



ISCO-08         2133 เจ้าหน้าที่ข้อมูลและประสานงานด้านอนุรักษ์พลังงาน

2133 นักวิชาการพลังงานปฏิบัติการ/ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วยการประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงาน พลังงาน และวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงานเพื่อการลงทุนได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
 1. ผู้จัดการด้านพลังงานในโรงงาน2. ผู้รับผิดชอบพลังงานอาวุโสด้านไฟฟ้า3. ผู้รับผิดชอบพลังงานอาวุโสด้านความร้อน4. ผู้ให้คำปรึกษาด้านการจัดการพลังงาน

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
 1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน2. ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม3. กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
11181 ประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงาน

1. ตรวจวัดการใช้พลังงานความร้อนและประเมินประสิทธิภาพพลังงานของเตาอุตสาหกรรมชนิดเชื้อเพลิงได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

11181.01 147954
11181 ประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงาน

2. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพพลังงานของเตาอุตสาหกรรมชนิดเชื้อเพลิงได้อย่างครบถ้วน

11181.02 147955
11181 ประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงาน

3. กำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานเตาอุตสาหกรรมชนิดเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพตามข้อกำหนด

11181.03 147956
11182 วิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงานเพื่อการลงทุน

1. ตรวจวัดการใช้พลังงานไฟฟ้าและประเมินประสิทธิภาพพลังงานของเตาอุตสาหกรรมชนิดไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

11182.01 147957
11182 วิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงานเพื่อการลงทุน

2. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์เตาอุตสาหกรรมชนิดไฟฟ้าได้อย่างครบถ้วน

11182.02 147958
11182 วิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงานเพื่อการลงทุน

3. กำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานเตาอุตสาหกรรมชนิดไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพตามข้อกำหนด

11182.03 147959

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงาน



2. วิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงานเพื่อการลงทุน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. หลักการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์เชิงศรษฐศาสตร์



2. หลักเกณฑ์การตัดสินใจเพื่อการลงทุน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. เอกสารรับรองผลการประเมินจากการปฏิบัติงานจริง หรือ

  3. เอกสารสำเนารายงานการจัดการพลังงาน หรือ

  4. แบบประเมินผลจากแบบสัมภาษณ์

  5. แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. หลักฐานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง หรือ

  2. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการรับผิดชอบด้านพลังงาน หรือ

  3. เอกสารรับรองจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



       ประเมินเกี่ยวกับการประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงาน และวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงานเพื่อการลงทุน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้



 (ง) วิธีการประเมิน




  1. พิจารณาหลักฐานความรู้



       2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

        ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วย การประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงาน และการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงานเพื่อการลงทุน     ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ข้อ 18



     (ก) คำแนะนำ  



                 1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงาน และวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงานเพื่อการลงทุน



     (ข) คำอธิบายรายละเอียด



                1. ประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงาน มีความรู้และความเข้าใจหลักการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์เชิงศรษฐศาสตร์ ประเมินต้นทุนทางตรงและทางอ้อมของการดำเนินมาตรการอนุรักษ์พลังงาน และประเมินผลประโยชน์ทางตรงและทางอ้อมของการดำเนินมาตรการอนุรักษ์พลังงาน



                2. วิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงานเพื่อการลงทุน มีความรู้และความเข้าใจหลักการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์เชิงศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์ด้วยเกณฑ์การตัดสินใจแบบไม่ปรับค่าของเวลา และวิเคราะห์ด้วยเกณฑ์การตัดสินใจแบบปรับค่าของเวลา


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
     -N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
     -N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงาน



1) การสัมภาษณ์จากแฟ้มสะสมผลงาน เนื้อหาการสัมภาษณ์ประกอบด้วย ประวัติการทำงาน ผลงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ ปัญหาอุปสรรคและแนวการแก้ไข ความรู้ทางเทคโนโลยีและการนำไปประยุกต์ใช้ ความรู้ด้านกฏหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 



2) แฟ้มสะสมผลงาน พิจารณาจากผลงานที่ผ่านของผู้เข้ารับการะประเมิน ประกอบด้วย   สรุปผลการประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่ผ่านมา โดยมีเนื้อหาสรุปดังนี้ ผลการประเมินต้นทุนทางตรงและทางอ้อม ผลประเมินผลประโยชน์ทางตรงและทางอ้อมของการดำเนินมาตรการอนุรักษ์พลังงาน



18.2 เครื่องมือประเมิน วิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงานเพื่อการลงทุน



         1) การสัมภาษณ์จากแฟ้มสะสมผลงาน เนื้อหาการสัมภาษณ์ประกอบด้วย ประวัติการทำงาน ผลงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ ปัญหาอุปสรรคและแนวการแก้ไข ความรู้ทางเทคโนโลยีและการนำไปประยุกต์ใช้ ความรู้ด้านกฏหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 



         2) แฟ้มสะสมผลงาน พิจารณาจากผลงานที่ผ่านของผู้เข้ารับการะประเมิน ประกอบด้วย ผลวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการอนุรักษ์พลังงานเพื่อการลงทุนที่ผ่านมา โดยมีเนื้อหาสรุปดังนี้ ผลการวิเคราะห์ด้วยเกณฑ์การตัดสินใจแบบไม่ปรับค่าของเวลา และผลการวิเคราะห์ด้วยเกณฑ์การตัดสินใจแบบปรับค่าของเวลา



 



ยินดีต้อนรับ