หน่วยสมรรถนะ
ตรวจวัดพลังงานระบบไฟฟ้า
สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | GPW-EME-3-018ZB |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ตรวจวัดพลังงานระบบไฟฟ้า |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / 2562 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ผู้ปฏิบัติงานตรวจวัดพลังงานไฟฟ้า ISCO-08 2133 เจ้าหน้าที่ข้อมูลและประสานงานด้านอนุรักษ์พลังงาน 2133 นักวิชาการพลังงานปฏิบัติการ/ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ 1 2133 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถเลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง สามารถตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือวัดและอุปกรณ์ประกอบก่อนการใช้งาน ตรวจวัดการใช้พลังงานของระบบและอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย อ่านและบันทึกผลการวัดพลังงานของระบบและอุปกรณ์ พร้อมทั้งบำรุงรักษาเครื่องมือวัดพลังงานและอุปกรณ์ประกอบได้อย่างถูกต้องหลังการใช้งาน |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
กลุ่มอาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A.- |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน2. ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม3. กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
11031 เลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานระบบไฟฟ้า | 1. เลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานระบบไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง | 11031.01 | 61331 |
11031 เลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานระบบไฟฟ้า | 2. ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือวัดพลังงานระบบไฟฟ้าก่อนการใช้งานได้อย่างถูกต้อง | 11031.02 | 61332 |
11031 เลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานระบบไฟฟ้า | 3. บำรุงรักษาเครื่องมือวัดและอุปกรณ์พลังงานระบบไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง | 11031.03 | 61333 |
11032 ตรวจวัดการใช้พลังงานระบบไฟฟ้า | 1. ใช้เครื่องมือวัดพลังงานระบบไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย | 11032.01 | 61334 |
11032 ตรวจวัดการใช้พลังงานระบบไฟฟ้า | 2.อ่านค่าและบันทึกค่าที่ได้จากการวัดพลังงานระบบไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน | 11032.02 | 61335 |
11033 ตรวจวัดการใช้พลังงานอุปกรณ์ด้านพลังงานไฟฟ้า | 1.ใช้เครื่องมือวัดพลังงานไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย | 11033.01 | 61336 |
11033 ตรวจวัดการใช้พลังงานอุปกรณ์ด้านพลังงานไฟฟ้า | 2. อ่านค่าและบันทึกค่าที่ได้จากการวัดพลังงานไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน | 11033.02 | 61337 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
-N/A- |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ มีความสามารถในการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้
(ข) ความต้องการด้านความรู้ มีความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดดังต่อไปนี้
|
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
(ค) คำแนะนำในการประเมิน ในการประเมินเกี่ยวกับการเลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบไฟฟ้า การตรวจวัดการใช้พลังงานของระบบไฟฟ้า และการตรวจวัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้า โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน
|
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะการเลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบไฟฟ้า และเครื่องมือวัดอุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบ โดยจะต้องตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือวัดและอุปกรณ์ประกอบที่เลือกก่อนใช้ ลงมือปฏิบัติงานตรวจวัดการใช้พลังงานของระบบและอุปกรณ์ อ่านพร้อมทั้งบันทึกค่า โดยหลังการใช้งานเครื่องมือวัดจะต้องบำรุงรักษาเครื่องมือวัดและอุปกรณ์ประกอบ พร้อมทั้งจัดเก็บอย่างถูกต้อง รายละเอียดในการประเมินในข้อ 18 (ก) คำแนะนำ 1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการเลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบไฟฟ้า ตรวจวัดการใช้พลังงานของระบบไฟฟ้า และตรวจวัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้า (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. เลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบไฟฟ้า สามารถเลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง เช่น เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า เครื่องวัดแรงดันไฟฟ้า เครื่องวัดกำลังไฟฟ้า เครื่องวัดความเร็วรอบ เกจความดัน เป็นต้น สามารถตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือวัดพลังงานก่อนการใช้งานได้อย่างถูกต้อง และบำรุงรักษาเครื่องมือวัดพลังงานและอุปกรณ์ประกอบได้อย่างถูกต้อง 2. ตรวจวัดการใช้พลังงานของระบบไฟฟ้า สามารถใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย และสามารถอ่านและบันทึกค่าที่ได้จากการวัดพลังงานของระบบไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าแรงดันไฟฟ้า ค่ากำลังไฟฟ้า ค่าความเร็วรอบ ค่าความดัน เป็นต้น พร้อมทั้งระบุค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นในการตรวจวัดเพื่อการอนุรักษ์พลังงานได้ 3. ตรวจวัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้า สามารถใช้เครื่องมือวัดพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย และสามารถอ่านและบันทึกค่าที่ได้จากการวัดพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าแรงดันไฟฟ้า ค่ากำลังไฟฟ้า ค่าความเร็วรอบ ค่าความดัน เป็นต้น พร้อมทั้งระบุค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นในการตรวจวัดเพื่อการอนุรักษ์พลังงานได้ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
-N/A- |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
-N/A- |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือประเมิน เลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบไฟฟ้า 1) ข้อเขียนแบบปรนัย เป็นการทดสอบความรู้โดยแบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก ประกอบด้วยรายละเอียดเนื้อหาดังนี้ ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือวัดพลังงานและค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้อง ความรู้และความเข้าใจในการเลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบไฟฟ้า ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือวัดพลังงานก่อนการใช้งานได้อย่างถูกต้อง และบำรุงรักษาเครื่องมือวัดพลังงานและอุปกรณ์ประกอบได้อย่างถูกต้อง 2) การสาธิตการปฏิบัติงาน เป็นการให้ผู้เข้ารับการประเมินสาธิตแสดงการเลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานที่จะนำไปใช้งานเพื่อวัดพลังงานของระบบไฟฟ้า โดยสาธิตขั้นตอนการเลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานระบบไฟฟ้า ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือวัดพลังงานก่อนการใช้งาน และบำรุงรักษาเครื่องมือวัดพลังงานและอุปกรณ์ประกอบ หรือ การจำลองสถานการณ์ เป็นการจำลองเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบไฟฟ้า เพื่อใช้ในการประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมิน โดยให้ผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติการเลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานระบบเไฟฟ้า ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือวัดพลังงานก่อนการใช้งาน และบำรุงรักษาเครื่องมือวัดพลังงานและอุปกรณ์ประกอบ 18.2 เครื่องมือประเมิน ตรวจวัดการใช้พลังงานของระบบไฟฟ้า 1) ข้อเขียนแบบปรนัย เป็นการทดสอบความรู้โดยแบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก ประกอบด้วยรายละเอียดเนื้อหาดังนี้ ความรู้และความเข้าใจในขั้นตอนการใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย และอ่านและบันทึกค่าที่ได้จากการวัดพลังงานของระบบไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ความรู้เกี่ยวกับค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าแรงดันไฟฟ้า ค่ากำลังไฟฟ้า ค่าความเร็วรอบ ค่าอุณหภูมิ ค่าความดัน ค่าอัตราการไหล เป็นต้น 2) การสาธิตการปฏิบัติงาน เป็นการให้ผู้เข้ารับการประเมินสาธิตแสดงการตรวจวัดการใช้พลังงานของระบบไฟฟ้า โดยสาธิตขั้นตอนใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย และอ่านและบันทึกค่าที่ได้จากการวัดพลังงานของระบบไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน หรือ การจำลองสถานการณ์ เป็นการจำลองเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวัดการใช้พลังงานของระบบไฟฟ้า เพื่อใช้ในการประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมิน โดยให้ผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติการใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย และอ่านและบันทึกค่าที่ได้จากการวัดพลังงานของระบบไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน 18.3 เครื่องมือประเมิน ตรวจวัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้า 1) ข้อเขียนแบบปรนัย เป็นการทดสอบความรู้โดยแบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก ประกอบด้วยรายละเอียดเนื้อหาดังนี้ ความรู้และความเข้าใจในขั้นตอนการตรวจวัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย และอ่านและบันทึกค่าที่ได้จากการวัดพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ความรู้เกี่ยวกับค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าแรงดันไฟฟ้า ค่ากำลังไฟฟ้า ค่าความเร็วรอบ ค่าอุณหภูมิ ค่าความดัน ค่าอัตราการไหล เป็นต้น 2) การสาธิตการปฏิบัติงาน เป็นการให้ผู้เข้ารับการประเมินสาธิตแสดงการตรวจวัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้า โดยสาธิตขั้นตอนใช้เครื่องมือวัดพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย และอ่านและบันทึกค่าที่ได้จากการวัดพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน หรือ การจำลองสถานการณ์ เป็นการจำลองเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้า เพื่อใช้ในการประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมิน โดยให้ผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติการใช้เครื่องมือวัดพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย และอ่านและบันทึกค่าที่ได้จากการวัดพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน
|