หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-SOL-2-033ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านการติดตั้ง ซ่อม และบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ระดับ 2



ISCO-08         3131 ช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์



3123 หัวหน้าช่างไฟฟ้า

3113 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมไฟฟ้า    

3113 ช่างเทคนิคไฟฟ้า    

3113 นักประเมินราคาวิศวกรรมไฟฟ้า



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
            ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถต่อวงจรแผงเซลล์แสงอาทิตย์และติดตั้งอุปกรณ์ประกอบโดยการเดินสายและต่อวงจรแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้ตามแบบ ติดตั้งอินเวอร์เตอร์ แบตเตอรี่ และเครื่องควบคุมการประจุ สามารถติดตั้งระบบสายไฟฟ้าและสายดิน และสามารถติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมและอุปกรณ์ป้องกันระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย:ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งหลังคา มาตรฐาน วสท. 022013-59 2. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การติดตั้งทางไฟฟ้า-ระบบจ่ายกำลังไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มอก. 2572 3. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระบบเซลล์แสงอาทิตย์-ลักษณะของการเชื่อมต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้า มอก. 2606-2557 หรือ IEC 61727 4.  มาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านไฟฟ้า 5. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมส่วนสำเร็จรูปแรงดันเนื่องจากพลังแสงอาทิตย์ภาคพื้นดินแบบผลึกซิลิคอน - คุณลักษณะการออกแบบและการรับรอง มอก. 1843 หรือ IEC 61215 6. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมส่วนสำเร็จรูปแรงดันเนื่องจากพลังแสงภาคพื้นดินแบบฟิล์มบาง – คุณลักษณะการออกแบบและการรับรองแบบ มอก. 2210 หรือ IEC 61646 7. ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PV22081 ต่อวงจรแผงเซลล์แสงอาทิตย์และติดตั้งอุปกรณ์ประกอบ

1.1 เดินสายและต่อวงจรแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้ตามแบบ

PV22081.01 147874
PV22081 ต่อวงจรแผงเซลล์แสงอาทิตย์และติดตั้งอุปกรณ์ประกอบ

1.2 ติดตั้งอินเวอร์เตอร์ 

PV22081.02 147875
PV22081 ต่อวงจรแผงเซลล์แสงอาทิตย์และติดตั้งอุปกรณ์ประกอบ

1.3 ติดตั้งแบตเตอรี่ได้ตามมาตรฐาน

PV22081.03 147876
PV22081 ต่อวงจรแผงเซลล์แสงอาทิตย์และติดตั้งอุปกรณ์ประกอบ

1.4 ติดตั้งเครื่องควบคุมการประจุ (Charge Controller)

PV22081.04 147877
PV22082 ติดตั้งระบบสายไฟฟ้าและสายดิน

2.1  ติดตั้งระบบสายไฟฟ้าตามแบบ

PV22082.01 147878
PV22082 ติดตั้งระบบสายไฟฟ้าและสายดิน

2.2 ติดตั้งระบบสายดินตามแบบ

PV22082.02 147879
PV22082 ติดตั้งระบบสายไฟฟ้าและสายดิน

2.3 ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดการเดินสายไฟฟ้าสำหรับงานทั่วไป

PV22082.03 147880
PV22083 ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมและอุปกรณ์ป้องกันของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

3.1 ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมระบบไฟฟ้าได้ตามแบบ

PV22083.01 147881
PV22083 ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมและอุปกรณ์ป้องกันของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

3.2 ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันระบบได้ตามแบบ

PV22083.02 147882

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การใช้เครื่องมือในการตรวจสอบ



2. การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประเมิน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การต่อวงจรแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อ้างอิงตามคู่มือ



2. ความรู้ทางช่างไฟฟ้า



3. ความรู้พื้นฐานด้านแผงเซลล์แสงอาทิตย์



4. ความรู้เรื่องการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์



5. ความรู้ด้านการใช้เครื่องมือสำหรับงานติดตั้ง



6. ความรู้พื้นฐานด้านการออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์



7. ความรู้ในมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง :



1. มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย:ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งหลังคา มาตรฐาน วสท. 022013-59



2. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การติดตั้งทางไฟฟ้า-ระบบจ่ายกำลังไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มอก. 2572



3. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระบบเซลล์แสงอาทิตย์-ลักษณะของการเชื่อมต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้า มอก. 2606-2557 หรือ IEC 61727



4. มาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านไฟฟ้า



5. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมส่วนสำเร็จรูปแรงดันเนื่องจากพลังแสงอาทิตย์ภาคพื้นดินแบบผลึกซิลิคอน – คุณลักษณะการออกแบบและการรับรอง มอก. 1843 หรือ IEC 61215



6. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมส่วนสำเร็จรูปแรงดันเนื่องจากพลังแสงภาคพื้นดินแบบฟิล์มบาง – คุณลักษณะการออกแบบและการรับรองแบบ มอก. 2210 หรือ IEC 61646



7. อื่น ๆ



8. ความรู้ด้านความปลอดภัย เช่น คู่มือการผลิตและการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) อย่างปลอดภัย: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. ใบรับรองหรือหลักฐานการผ่านการฝึกอบรมด้านการใช้เครื่องมือ หรือ

  3. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ

  4. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (Portfolio)



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. หลักฐานการศึกษา หรือ

  3. ใบรับรองหรือหลักฐานการผ่านการฝึกอบรมด้านการใช้เครื่องมือ หรือ

  4. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ หรือ

  5. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน หรือ

  6. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (Portfolio)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



       ผู้ประเมินตรวจประเมินด้านการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

           ขอบเขตของติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ประกอบด้วย ต่อวงจรแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ติดตั้งอินเวอร์เตอร์ แบตเตอรี่ เครื่องควบคุมการประจุ ระบบสายไฟฟ้า ระบบสายดิน อุปกรณ์ควบคุม และอุปกรณ์ป้องกัน ได้ตามมาตรฐานและปฏิบัติงานตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย



      (ก) คำแนะนำ




  1. การติดตั้งบนหลังคาเป็นการทำงานบนที่สูงซึ่งจะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงขณะปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยเสมอ

  2. การทำงานไฟฟ้าควรจะใส่ถุงมือป้องกันไฟฟ้าดูด และหลีกเลี่ยงการใส่นาฬิกาข้อมือ ซึ่งสามารถนำไฟฟ้าได้

  3. ไม่ควรปฏิบัติงานขณะพื้นที่เปียกชื้น

  4. ควรตรวจเช็คแจ๊คเชื่อมต่อ ว่าแน่นหรือไม่ เพราะหากไม่แน่นจะส่งผลทำให้เกิดความร้อนบริเวณรอยต่อที่หลวม ทำให้เกิดความร้อนและเป็นสาเหตุของอัคคีภัยได้

  5. ควรตรวจสอบแผงเซลล์แสงอาทิตย์เบื้องต้นโดยการวัดแรงดันจากแผงก่อนการติดตั้งเสมอ

  6. การจัดเก็บสายไฟและการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ผู้ออกแบบและผู้ติดตั้งควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐาน

  7. การจัดการสายไฟควรจะยึดติดกับรางอลูมิเนียม เนื่องจากติดไฟได้ยากกว่า ทำให้สามารถลดโอกาสที่จะเกิดไฟไหม้ได้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้ตามข้อกำหนดในคู่มือการติดตั้ง

  2. การติดตั้งอุปกรณ์ประกอบ (อินเวอร์เตอร์ แบตเตอรี่ เครื่องควบคุมการประจุ และอื่น ๆ)ได้ตามข้อกำหนดในคู่มือการติดตั้ง

  3. การติดตั้งระบบสายไฟฟ้าได้ตามมาตรฐาน มอก.

  4. การติดตั้งระบบสายดินได้ตามมาตรฐาน มอก.

  5. การติดตั้งอุปกรณ์ควบคุม (มิเตอร์วัดตัวแปรด้านไฟฟ้า และอุปกรณ์ควบคุมสำหรับโปรแกรมการวัดคุม) ได้ตามข้อกำหนดในคู่มือการติดตั้ง

  6. การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันระบบเซลล์แสงอาทิตย์ (ระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบกันแรงดันเกินระบบป้องกันการลัดวงจรไฟฟ้า และเซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ) ได้ตามข้อกำหนดในคู่มือการติดตั้ง

  7. ข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัย ประกอบด้วย ความปลอดภัยส่วนบุคคลและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เช่น การแต่งกาย การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ต่อวงจรแผงเซลล์แสงอาทิตย์และติดตั้งอุปกรณ์ประกอบ



1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การเดินสาย ต่อวงจรแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้ตามแบบ และติดตั้งอุปกรณ์ประกอบ



2) สาธิตการปฏิบัติงาน เช่น สาธิตการเดินสาย ต่อวงจรแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้ตามแบบ และติดตั้งอุปกรณ์ประกอบ



      18.2 เครื่องมือประเมิน ติดตั้งระบบสายไฟฟ้าและสายดิน



1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การติดตั้งระบบสายไฟฟ้าและสายดินตามแบบ



2) สาธิตการปฏิบัติงาน เช่น สาธิตการติดตั้งระบบสายไฟฟ้าและสายดินตามแบบ



      18.3 เครื่องมือประเมิน ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมและอุปกรณ์ป้องกันระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์



1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมและอุปกรณ์ป้องกันระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์



2) สาธิตการปฏิบัติงาน เช่น สาธิตการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมและอุปกรณ์ป้องกันระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์



หมายเหตุ : หากผู้เข้ารับการทดสอบยื่นแฟ้มสะสมผลงานประกอบการทดสอบ จะได้รับคะแนนเพิ่มเติม      ไม่เกินร้อยละ 5 โดยคะแนนรวมทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100



 



ยินดีต้อนรับ