หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินประสิทธิผลและศักยภาพของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-SOL-6-020ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินประสิทธิผลและศักยภาพของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านการขายระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ระดับ 6



ISCO-08               2433 ตัวแทนขายสินค้าอุตสาหกรรม  



                             2433 ตัวแทนขายอุปกรณ์ไฟฟ้า



                             2433 Sales Engineer



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถประเมินประสิทธิผลการรับรังสีแสงอาทิตย์ตามพื้นที่ติดตั้งและการบังแสงอาทิตย์ รวมถึงประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้า และสรุปผลการประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 25502. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (มาตรา 21)3. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 (มาตรา 12)4. พระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ. 2535 (มาตรา 25)5. ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า พ.ศ. 2559

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PV11111 ประเมินประสิทธิผลการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

1.1 ประเมินประสิทธิผลการรับรังสีแสงอาทิตย์ตามพื้นที่ติดตั้ง

PV11111.01 147731
PV11111 ประเมินประสิทธิผลการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

1.2 ประเมินการบังแสงอาทิตย์

PV11111.02 147732
PV11112 ประเมินศักยภาพของระบบระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

2.1 ประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้า

PV11112.01 147733
PV11112 ประเมินศักยภาพของระบบระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

2.2 สรุปผลการประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้า

PV11112.02 147734

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน



2. การใช้โปรแกรมการคำนวณพลังงาน



3. ทักษะการป้องกันในการปฏิบัติงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ทางช่างไฟฟ้า



2. ความเข้มแสงอาทิตย์ในประเทศไทย



3. ความรู้เกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์



3.1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเซลล์แสงอาทิตย์



3.2 การออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เบื้องต้น



3.3 ปัจจัยที่มีผลต่อระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์



3.4 ข้อมูลทางเทคนิคของการประเมินการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์



4. ความรู้เรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)



2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)



3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)



     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ



1. หลักฐานการศึกษา



2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)



3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)



4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี) 



5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)



      (ค) คำแนะนำในการประเมิน



           ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิผลและศักยภาพของระบบผลิตไฟฟ้า โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

     ประเมินประสิทธิผลการรับรังสีแสงอาทิตย์ตามพื้นที่ติดตั้งและการบังแสงอาทิตย์ รวมถึงประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้า และสรุปผลการประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้า



(ก) คำแนะนำ



     ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญในการรับรังสีแสงอาทิตย์และการบังเงาตามพื้นที่ติดตั้ง เพื่อประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้า



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



     1. ประเมินการบังแสงอาทิตย์ หมายถึง การประเมินสถานที่สำหรับการติดตั้ง ซึ่งควรจะเป็นที่โล่งแจ้ง ไม่มีเงามาบังแผงเซลล์ ไม่อยู่ใกล้สถานที่เกิดฝุ่น ควรวางให้แผงเซลล์มีความลาดเอียงประมาณ 10-15 องศา จากระดับแนวนอน และหันหน้าไปทางทิศใต้ 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
  -N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
  -N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ประเมินประสิทธิผลการติดตั้ง



1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การประเมินประสิทธิผลการติดตั้ง



2) ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การประเมินประสิทธิผลการติดตั้ง



3) การสัมภาษณ์ เช่น อธิบายเหตุผลของการประเมินประสิทธิผลการติดตั้ง



      18.2 เครื่องมือประเมิน ประเมินศักยภาพของระบบ



1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การประเมินศักยภาพของระบบ



2) ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การประเมินศักยภาพของระบบ



3) การสัมภาษณ์ เช่น อธิบายเหตุผลของการประเมินศักยภาพของระบบ



หมายเหตุ : หากผู้เข้ารับการทดสอบยื่นแฟ้มสะสมผลงานประกอบการทดสอบ จะได้รับคะแนนเพิ่มเติม      ไม่เกินร้อยละ 5 โดยคะแนนรวมทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100



ยินดีต้อนรับ