หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการใช้ SCM (การจัดการห่วงโซ่อุปทาน) ต่อการบริหารจัดการการส่งมอบ

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการบริหารในสายการผลิต


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ JB-ZZZ-4-066ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการใช้ SCM (การจัดการห่วงโซ่อุปทาน) ต่อการบริหารจัดการการส่งมอบ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

N/A



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้กล่าวถึง การอธิบายปัจจัยสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ SCM ระบุความหมายความสำคัญของ SCM และปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ต่อการเปลี่ยนแปลง SCM ระบุปัจจัยตลอดจนอุปสรรคในการกำหนดปริมาณสินค้าคงคลังที่ SCM จำเป็นต้องใช้ อธิบายปัจจัยการไหลของข้อมูล (Information Flow) และการไหลของสินค้าผลิตภัณฑ์ (Material Flow) ระบุหัวข้ออุปสรรคของการไหลของข้อมูล(Information Flow), การไหลของสินค้าและผลิตภัณฑ์ (Material Flow) ที่ส่งผลต่อระดับสินค้าคงคลังกำหนดการปฏิรูปลำดับการไหลของข้อมูลสินค้าและเงินใน SCM ด้วยการอธิบายระบบการขายและระบบการผลิตที่สัมพันธ์ต่อแผนการทำกำไร อธิบายการไหลของข้อมูลที่มีผลต่อการกำหนดจุดสั่งซื้อ (Reorder Point) พร้อมกำหนดจำนวนการสั่งซื้อและการผลิตที่เหมาะสม บอกตัวชี้วัดเชิงปริมาณที่เป็นตัวกำหนดเป้าหมายการผลิตที่สอดคล้องกับเป้าหมายการทำกำไร อธิบายหลักในการนำแพ็คเกจซอฟต์แวร์ ERP มาใช้งาน ระบุการประยุกต์ระบบควบคุมสารสนเทศกับระบบ SCM เชิงปฏิบัติ ระบุความหมายและความจำเป็นของ ERP ต่อการบริหารจัดการข้อมูล บน Information Platform ระบุองค์ประกอบย่อยของ ERP ที่จำเป็นต้องใช้ในการบริหารจัดการแบบบรูณาการ รวมถึงอธิบายประเด็นปัญหาของ SCM และการจัดการการผลิต โดยระบุประเด็นที่ต้องรับมือในด้าน SCM ต่อความต้องการทางการตลาดที่หลากหลายในยุคโลกาภิวัฒน์ พร้อมแนวทางการปรับปรุง และแนวทางพัฒนาบุคคลากรเพื่อการบริหารจัดการ SCM

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
บุคลากร/ช่างเทคนิคในสายการผลิต

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PM04431 อธิบายปัจจัยสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ SCM 1.1 ระบุความหมายและความสำคัญของ SCM PM04431.01 122959
PM04431 อธิบายปัจจัยสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ SCM 1.2 ระบุปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ต่อการเปลี่ยนแปลง SCM PM04431.02 122960
PM04431 อธิบายปัจจัยสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ SCM 1.3 บอกความจำเป็น SCM ต่อการบริหารการผลิตในอนาคต PM04431.03 122961
PM04432 ระบุปัจจัยตลอดจนอุปสรรคในการกำหนดปริมาณสินค้าคงคลังที่ SCM จำเป็นต้องใช้ 1.1 อธิบายปัจจัยการไหลของข้อมูล (Information Flow) และการไหลของสินค้าผลิตภัณฑ์ (Material Flow) PM04432.01 122966
PM04432 ระบุปัจจัยตลอดจนอุปสรรคในการกำหนดปริมาณสินค้าคงคลังที่ SCM จำเป็นต้องใช้ 1.2 ระบุหัวข้ออุปสรรคของการไหลของข้อมูล(Information Flow)ที่ส่งผลต่อระดับสินค้าคงคลัง PM04432.02 122967
PM04432 ระบุปัจจัยตลอดจนอุปสรรคในการกำหนดปริมาณสินค้าคงคลังที่ SCM จำเป็นต้องใช้ 1.3 ระบุหัวข้ออุปสรรคของการไหลของสินค้าและผลิตภัณฑ์ (Material Flow)ที่ส่งผลต่อระดับสินค้าคงคลัง PM04432.03 122968
PM04433 กำหนดการปฏิรูปลำดับการไหลของข้อมูลสินค้า และเงินใน SCM 1.1 อธิบายระบบการขายและระบบการผลิตที่สัมพันธ์ต่อแผนการทำกำไร PM04433.01 122962
PM04433 กำหนดการปฏิรูปลำดับการไหลของข้อมูลสินค้า และเงินใน SCM 1.2 อธิบายการไหลของข้อมูลที่มีผลต่อการกำหนดจุดสั่งซื้อ (Reorder Point) PM04433.02 122963
PM04433 กำหนดการปฏิรูปลำดับการไหลของข้อมูลสินค้า และเงินใน SCM 1.3 กำหนดจำนวนการสั่งซื้อและการผลิตที่เหมาะสม เพื่อปรับปรุงกระบวนการและลด lead time ในกระบวนโดยรวม (Uniformity ) PM04433.03 122964
PM04433 กำหนดการปฏิรูปลำดับการไหลของข้อมูลสินค้า และเงินใน SCM 1.4 บอกตัวชี้วัดเชิงปริมาณที่เป็นตัวกำหนดเป้าหมายการผลิตที่สอดคล้องกับเป้าหมายการทำกำไร PM04433.04 122965
PM04434 อธิบายหลักในการนำแพ็คเกจซอฟต์แวร์ ERP มาให้งาน 1.1 ระบุการประยุกต์ระบบควบคุมสารสนเทศกับระบบSCM เชิงปฏิบัติ PM04434.01 122969
PM04434 อธิบายหลักในการนำแพ็คเกจซอฟต์แวร์ ERP มาให้งาน 1.2 ระบุความหมายและความจำเป็นของ ERP ต่อการบริหารจัดการข้อมูล บน Information Platform PM04434.02 122970
PM04434 อธิบายหลักในการนำแพ็คเกจซอฟต์แวร์ ERP มาให้งาน 1.3 ระบุองค์ประกอบย่อยของ ERP ที่จำเป็นต้องใช้ในการบริหารจัดการแบบบรูณาการ PM04434.03 122971
PM04435 อธิบายประเด็นปัญหาของ SCM และการจัดการการผลิต (ความต้องการที่หลากหลายยิ่งขึ้น รวมถึงโลกาภิวัตน์ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) 1.1 ระบุประเด็นที่ต้องรับมือในด้าน SCM ต่อความต้องการทางการตลาดที่หลากหลายในยุคโลกาภิวัฒน์ PM04435.01 122972
PM04435 อธิบายประเด็นปัญหาของ SCM และการจัดการการผลิต (ความต้องการที่หลากหลายยิ่งขึ้น รวมถึงโลกาภิวัตน์ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) 1.2 ระบุแนวทางการปรับปรุงเพื่อวางแนวทาง SCM ที่เหมาะสมต่อการแข่งขันในยุคโลกาภิวัฒน์ PM04435.02 122973
PM04435 อธิบายประเด็นปัญหาของ SCM และการจัดการการผลิต (ความต้องการที่หลากหลายยิ่งขึ้น รวมถึงโลกาภิวัตน์ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) 1.3 ระบุแนวทางพัฒนาบุคคลากรเพื่อการบริหารจัดการ SCM PM04435.03 122974

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) การบริหารจัดการด้วยหลักการ SCM

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) องค์ความรู้ในการบริหารจัดการด้วย SCM 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) แบบฟอร์มบันทึกภาระงาน

2) ใบบันทึกผลการปฏิบัติงาน

3) ใบรับรองผลงานจากผู้ประกอบการ

4) ใบรับรองการผ่านงาน

5) แฟ้มสะสมผลงาน

6) แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) เอกสารผลการประเมินจากการสอบข้อเขียน

2) เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการฝึกอบรม

3) เอกสารการจัดทำคู่มือหรือรายงานโครงการ

4) เอกสารการสอนงาน

5) หรือเอกสารรับรองอื่นๆที่ออกจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่ประเมินหลักฐานโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และ

หลักฐานความรู้โดยมุ่งเน้นความเกี่ยวข้องกับงานด้านการบริหารจัดการในโรงงานอุตสาหกรรม

(ง) วิธีการประเมิน

1) ข้อสอบข้อเขีียน

2) การสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

1) การจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ดีจะช่วยลดโอกาสการเกิดสินค้าคงคลังตกค้างหรือ การมีสินค้าคงคลังที่ขายไม่ออก และช่วยเพิ่มกระแสเงินสดให้กับธุรกิจเพื่อลดการหาเงินทุนหมุนเวียนซึ่งทำให้ส่งผลต่อกำไรขาดทุนในงบกำไรขาดทุน

2) ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจต่อการเปลี่ยนแปลง SCM เกี่ยวกับความต้องการที่ผันผวนและการเข้ามาของ Virtual marketingอธิบายเกี่ยวกับการนำวิธีปรับเรียบมาใช้ การหา Neck process ในกระบวนการผลิตจากการซ้อนเหลื่อมกันของปัญหาด้านวัตถุดิบ และ neck process   Bull whip

3) ประเด็นที่ต้องรับมือในด้าน SCM ต่อความต้องการทางการตลาดที่หลากหลายในยุคโลกาภิวัฒน์ เกี่ยวกับแนวโน้มที่ทำให้ lot การผลิตเล็กลง ความผันผวนของตลาดและความต้องการที่หลากหลายส่งผลรูปสินค้าและกระบวนการผลิตรวมถึงฐานการผลิต

4) แนวทางพัฒนาบุคคลากรเพื่อการบริหารจัดการ SCM เกี่ยวกับการหมุนเวียนงานต่างประเทศ เพื่อผลิตงานแบบ localization

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1) ปรากฏการณ์แส้ม้า (Bullwhip Effect) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดการผันผวนในการบริหารงานโซ่อุปทาน คือในกรณีที่สินค้าขาดหรือสินค้าล้นตลาด เพราะไม่สามารถรู้ความต้องการของลูกค้า หรือความต้องการถูกแปรปรวนหรือผันผวน ก็ด้วยเพราะการที่โซ่อุปทาน (Supply Chain) มีหลายขั้นตอน ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสินค้าขาดบ้าง เกินบ้าง ก็คือ แต่ละหน่วยงานในโซ่อุปทาน ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างตัดสินใจ ไม่ทำงานเป็นทีมและข้อมูลความต้องการของลูกค้า ไม่สามารถไหลมาถึงปลายทางภายในองค์กรได้ โดยผลของปรากฏการณ์แส้ม้าไปส่งผลต่อปริมาณสต๊อกในห่วงโซ่อุปทานซึ่งจะมีปัจจัย 3 อย่างที่มีความสัมพันธ์กันเริ่มจากความผันผวนของความต้องการจำนวนขั้นตอนในกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับสต็อคและเวลาที่ใช้ในการแปลงให้เป็นผลิตภัณฑ์

2) ปัจจัยขัดขวางการไหลของสิ่งของมาจากคอขวดซึ่งมีความสัมพันธ์กับจำนวนขั้นตอนที่ใช้ในการตัดสินใจ กรณีที่โซ่อุปทาน (Supply Chain) มีหลายขั้นตอน มีสายโซ่อุปทานที่ยิ่งยาวก็ยิ่งจะมีปัญหาและเวลาที่ใช้ในการแปลงให้เป็นผลิตภัณฑ์

3) Reorder Point คือ จุดสั่งซื้อซ้ำ หรือจุดสั่งซื้อสินค้าใหม่ ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อใช้สำหรับการประเมินจุดสั่งซื้อซ้ำจะประกอบด้วย

- จำนวนยอด พยากรณ์ที่ได้รับจากลูกค้า 

- ยอดคำสั่งซื้อจริง 

- กำลังผลิตที่สามารถตอบสนองได้   

- ความสามารถในการขนส่งต่อครั้ง และจำนวนในการขนส่ง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. การสาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ