หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการบริหารในสายการผลิต


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ JB-ZZZ-4-062ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

N/A



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้กล่าวถึง การระบุความแตกต่างระหว่างการคงต้นทุนและการลดต้นทุน ระบุวิธีการบริหารต้นทุนมาตรฐานต่อหน่วย (Standard Cost) หรือ Cost Keeping และวิธีการทำ Cost Reduction ระบุการใช้จุดคุ้มทุนเป็นเป้าหมายของผลประกอบการ โดยอธิบายความหมายพร้อมแนวทางการปรับปรุงของ Break event point จำแนกโครงสร้างต้นทุนและวิธีการลดต้นทุนคงที่และผันแปร พร้อมประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดต้นทุนต่อหน่วยเพื่อควบคุมต้นทุนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลการจัดการต้นทุนและการกิจกรรมการควบคุมที่ลงมือทำจริง ด้วยการกำหนดหัวข้อคงรักษา Performance cost (Actual cost)  หัวข้อกิจกรรมเพื่อลดต้นทุนการเสียโอกาส (Opportunity Cost) อธิบายการบริหารต้นทุน cost management และชี้บ่งประเด็นที่ทำให้เกิดต้นทุนส่วนต่างจากต้นทุนมาตรฐาน อธิบายหลักพื้นฐาน และความสำคัญในการลดต้นทุนตั้งแต่ในขั้นตอนการออกแบบ  (VE VRPและ CE) อธิบายหลักการลดต้นทุนในขั้นตอนการเตรียมการผลิต โดยระบุเกณฑ์คัดเลือกโรงงานเพื่อทำการผลิต เกณฑ์ในการตัดสินใจ ผลิตด้วยตนเองหรือสั่งซื้อ(หรือว่าจ้าง)จากภายนอก ประเมินทางเลือกต้นทุนจากมูลค่าของเครื่องจักร ต้นทุนเพื่อบรรลุ Economic of scale ตลอดจนทางเลือกจากการลดต้นทุนด้านอุปกรณ์ Jig Fixture จำแนกประเภทของความผันผวนของต้นทุนการผลิต (differential และ incremental) และอธิบายความสำคัญของการค้นหาสาเหตุตั้งแต่กระบวนการออกแบบที่กระทบต่อต้นทุน รวมทั้งอธิบายความแตกต่างระหว่างต้นทุนส่วนต่างและต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้ ระบุความหมายและความแตกต่างของต้นทุนส่วนต่าง (differential cost) ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้  (Aviodable cost)

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
บุคลากรในสายการผลิต

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PM04331 ระบุความแตกต่างระหว่างการคงต้นทุนและการลดต้นทุน 1.1 ระบุวิธีการบริหารต้นทุนมาตรฐานต่อหน่วย(Standard Cost)หรือ Cost Keeping PM04331.01 122905
1.2 ระบุวิธีการทำ Cost Reduction PM04331.02 122906
PM04332 ระบุการใช้จุดคุ้มทุนเป็นเป้าหมายของผลประกอบการ 1.1 อธิบายความหมายของ Break event point ยอดขายกับต้นทุนต่อหน่วย PM04332.01 122907
1.2 ระบุแนวทางปรับปรุงเพื่อเข้าสู่ จุดคุ้มทุน PM04332.02 122908
PM04333 ระบุการแบ่งโครงสร้างต้นทุนและวิธีการลดต้นทุนคงที่และผันแปร 1.1 จำแนกโครงสร้างต้นทุนมาตรฐาน(ต้นทุนต่อหน่วย)ได้ PM04333.01 122909
1.2 ประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดต้นทุนต่อหน่วยเพื่อควบคุมต้นทุนมาตรฐาน PM04333.02 122910
PM04334 วิเคราะห์ข้อมูลการจัดการต้นทุนและการกิจกรรมการควบคุมที่ลงมือทำจริง 1.1 กำหนดหัวข้อคงรักษา Performance cost (Actual cost) PM04334.01 122911
1.2 ระบุหัวข้อกิจกรรมเพื่อลดต้นทุนการเสียโอกาส (Opportunity Cost) PM04334.02 122912
1.3 อธิบายการบริหารต้นทุน cost management PM04334.03 122913
1.4 ชี้บ่งประเด็นที่ทำให้เกิดต้นทุนส่วนต่างจากต้นทุนมาตรฐาน PM04334.04 122914
PM04335 อธิบายหลักพื้นฐานในการลดต้นทุนตั้งแต่ในขั้นตอนการออกแบบ (VE VRP และ CE) 1.1 บอกความสำคัญการลดต้นทุนตั้งแต่การออกแบบ PM04335.01 122915
1.2 บอกหลักการ VE VRP และ CE ต่อการลดต้นทุนในขั้นตอนการออกแบบ PM04335.02 122916
PM04336 อธิบายหลักการลดต้นทุนในขั้นตอนการเตรียมการผลิต (การกำหนดว่าจะผลิตอะไรด้วยตัวเองและจะสั่งซื้ออะไรจากภายนอก เป็นต้น) 1.1 ระบุเกณฑ์คัดเลือกโรงงานเพื่อทำการผลิต PM04336.01 122917
1.2 ระบุเกณฑ์ในการตัดสินใจ ผลิตด้วยตนเองหรือสั่งซื้อ(หรือว่าจ้าง)จากภายนอก PM04336.02 122918
1.3 ประเมินทางเลือกต้นทุนจากมูลค่าของเครื่องจักร PM04336.03 122919
1.4 ประเมินทางเลือกต้นทุนเพื่อบรรลุ Economic of scale PM04336.04 122920
1.5 ประเมินทางเลือกจากการลดต้นทุนด้านอุปกรณ์ Jig Fixture PM04336.05 122921
PM04337 อธิบายได้ถึงการรับรู้ในเรื่องความผันผวนของต้นทุนและการจัดการค้นหาสาเหตุแบบสืบย้อนตั้งแต่ต้นทาง 1.1 จำแนกประเภทของความผันผวนของต้นทุนการผลิต (differential และ incremental) PM04337.01 122922
1.2 อธิบายความสำคัญของการค้นหาสาเหตุตั้งแต่กระบวนการออกแบบที่กระทบต่อต้นทุน PM04337.02 122923
PM04338 อธิบายความแตกต่างระหว่างต้นทุนส่วนต่างและต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้ 1.1 ระบุความหมายของต้นทุนส่วนต่าง (differential cost) PM04338.01 122924
1.2 ระบุความหมายของต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้ (Aviodable cost) PM04338.02 122925
1.3 ระบุความแตกต่างของต้นทุนส่วนต่างกับต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้ PM04338.03 122926

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) การบริหารต้นทุนมาตรฐานต่อหน่วย (Standard Cost) หรือ Cost Keeping 

2) การลดต้นทุน

3) การกำหนดแนวทางปรับปรุงเพื่อเข้าสู่จุดคุ้มทุน

4) การควบคุมต้นทุนมาตรฐาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) หลักการบริหารต้นทุนมาตรฐานต่อหน่วย 

2) หลักการปรับปรุงเพื่อเข้าสู่จุดคุ้มทุน

3) องค์ความรู้ในเรื่องโครงสร้างต้นทุนและวิธีการลดต้นทุนคงที่และผันแปร    

4) หลักการวิเคราะห์ข้อมูลการจัดการต้นทุนและกิจกรรมการควบคุม

5) หลักการลดต้นทุน    

6) องค์ความรู้ในเรื่องความผันผวนของต้นทุนและการจัดการค้นหาสาเหตุแบบสืบย้อน

7) องค์ความรู้ในเรื่องต้นทุนส่วนต่างและต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้    


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) แบบฟอร์มบันทึกภาระงาน

2) ใบบันทึกผลการปฏิบัติงาน

3) ใบรับรองผลงานจากผู้ประกอบการ

4) ใบรับรองการผ่านงาน

5) แฟ้มสะสมผลงาน

6) แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) เอกสารผลการประเมินจากการสอบข้อเขียน

2) เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการฝึกอบรม

3) เอกสารการจัดทำคู่มือหรือรายงานโครงการ

4) เอกสารการสอนงาน

5) หรือเอกสารรับรองอื่นๆที่ออกจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่ประเมินหลักฐานโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้โดยมุ่งเน้นความเกี่ยวข้องกับงานด้านการบริหารจัดการในโรงงานอุตสาหกรรม

(ง) วิธีการประเมิน

1) ข้อสอบข้อเขีียน

2) การสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1) VE คือ Value Engineering หลักการที่สำคัญของ VA/VE คือ การวิเคราะห์ให้เห็นถึงหน้าที่หรือฟังก์ชั่นการทำงาน (Function) ของสิ่งที่พิจารณา ได้แก่ ของดังกล่าวคืออะไร ของดังกล่าวมีต้นทุนเท่าไร ของดังกล่าวใช้สำหรับทำอะไร มีผลิตภัณฑ์อื่นที่สามารถทำหน้าที่เดียวกันได้หรือไม่ ของที่มาใช้ทดแทนได้ดังกล่าวมีต้นทุนเท่าไร แล้วจึงวิเคราะห์หาทางเลือกว่าจะจัดการอย่างไรให้มีต้นทุนที่ต่ำลง VRP Varitu Reduction Program คือ การลดความหลากหลายของการผลิต  CE  conccerent Engineering คือ การออกแบบกระบวนการทำงานให้เกิดขึ้นพร้อมๆกันไปในเวลาเดียวกันไม่ต้องรอคิว

2) การเพิ่มของต้นทุนต่อหน่วย ยกตัวอย่างเช่น การลดเวลาการผลิตด้วยการเพิ่มเครื่องจักร incremental cost  ส่วนการเพิ่มของต้นทุนต่อหน่วยต่อ ต้นทุนมาตรฐานเราเรียกว่า Differential cost 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. การสาธิตการปฏิบัติงาน