หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมกระบวนการเพื่อประกันคุณภาพ

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการบริหารในสายการผลิต


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ JB-ZZZ-4-058ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมกระบวนการเพื่อประกันคุณภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

N/A



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้กล่าวถึง การบริหารจัดการงานประกันคุณภาพและดัชนีการจัดการตามนโยบายและเป้าหมายด้านคุณภาพ อธิบายความหมายดัชนีต้นทุนคุณภาพ และบอกดัชนีชี้วัดความสำเร็จที่สำคัญต่อการรับรองคุณภาพ อธิบายความสามารถของกระบวนการ (ค่า Cp) โดยระบุความหมายของ Pool Standard Deviation พร้อมเทคนิคที่ประยุกต์ใช้ในการประเมินศักยภาพ กำหนดแนวทางการปรับปรุงคุณภาพตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการอธิบายขั้นตอนการปรับปรุงคุณภาพตามขั้นตอน QC ทั้ง 7 ระบุการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงด้านคุณภาพด้วย 3 Gen (Genba Genbutsu และ Genjitsu) รวมทั้งแปลผลแผนภูมิควบคุมเพื่อนำมาสู่การควบคุมกระบวนการ ยังผลต่อการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพสินค้า    ระบุการใช้งานและการประยุกต์ใช้ การใช้หลักการทางสถิติ(SQC)เพื่อใช้ในการควบคุมกระบวนการและความน่าเชื่อถือ โดยบอกจุดเด่นและจุดด้อยในการใช้งาน SQC ในการดำเนินการควบคุมระดับคุณภาพ ตลอดจนสิ่งสำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือในการใช้หลักสถิติในการควบคุมกระบวนการ ยกระดับการประกันคุณภาพ ด้วยการบอกมุมมองทั้ง 4 ในการยกระดับ และกระบวนการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านคุณภาพ กำหนดระบบบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพและข้อควรระวัง บอกลักษณะเฉพาะของการวิเคราะห์ความเสี่ยง Risk Assessment และการจัดการตามเกณฑ์ RPN ระบุทิศทางการบริหารจัดการห่วงโซ่คุณภาพ บอกสิ่งสำคัญในการบริหาร พร้อมระบุบทบาท

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
บุคลากร/ช่างเทคนิคในสายการผลิต

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PM04221 บริหารจัดการงานประกันคุณภาพและดัชนีการจัดการตามนโยบายและเป้าหมายด้านคุณภาพ 1.1 อธิบายความหมายดัชนีต้นทุนคุณภาพ PM04221.01 122868
PM04221 บริหารจัดการงานประกันคุณภาพและดัชนีการจัดการตามนโยบายและเป้าหมายด้านคุณภาพ 1.2 บอกดัชนีชี้วัดความสำเร็จที่สำคัญต่อการรับรองคุณภาพ PM04221.02 122869
PM04222 อธิบายความสามารถของกระบวนการ (ค่า Cp) 1.1 ระบุความหมายของ Pool Standard Deviation PM04222.01 122870
PM04222 อธิบายความสามารถของกระบวนการ (ค่า Cp) 1.2 ระบุเทคนิคที่ประยุกต์ใช้ในการประเมินศักยภาพ ความสามารถของกระบวนการ PM04222.02 122871
PM04223 กำหนดแนวทางการปรับปรุงคุณภาพตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 1.1 อธิบายขั้นตอนการปรับปรุงคุณภาพตามขั้นตอน QC ทั้ง7 PM04223.01 122872
PM04223 กำหนดแนวทางการปรับปรุงคุณภาพตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 1.2 ระบุการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงด้านคุณภาพด้วย 3 Gen (Genba Genbutsu และ Genjitsu) PM04223.02 122873
PM04224 แปลผลแผนภูมิควบคุมเพื่อนำมาสู่การควบคุมกระบวนการ ยังผลต่อการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพสินค้า 1.1 ระบุการใช้งานแผนภูมิควบคุมในการควบคุมกระบวนการ PM04224.01 122874
PM04224 แปลผลแผนภูมิควบคุมเพื่อนำมาสู่การควบคุมกระบวนการ ยังผลต่อการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพสินค้า 1.2 ประยุกต์การควบคุมกระบวนการด้วยแผนภูมิควบคุม (Control Chart) PM04224.02 122875
PM04225 ใช้หลักการทางสถิติ(SQC) เพื่อใช้ในการควบคุมกระบวนการและความน่าเชื่อถือ 1.1 บอกจุดเด่นและจุดด้อยในการใช้งาน SQC ในการดำเนินการควบคุมระดับคุณภาพ PM04225.01 122876
PM04225 ใช้หลักการทางสถิติ(SQC) เพื่อใช้ในการควบคุมกระบวนการและความน่าเชื่อถือ 1.2 บอกสิ่งสำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือในการใช้หลักสถิติในการควบคุมกระบวนการ PM04225.02 122877
PM04226 สร้างการยกระดับการประกันคุณภาพ 1.1 บอกมุมมองทั้ง 4 ในการยกระดับการประกันคุณภาพ PM04226.01 122878
PM04226 สร้างการยกระดับการประกันคุณภาพ 1.2 บอกถึงกระบวนการกำหนดยุทธศาสตร์ ด้านคุณภาพผู้บริหารที่จำเป็น PM04226.02 122879
PM04227 กำหนดระบบบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพและข้อควรระวัง 1.1บอกลักษณะเฉพาะของการวิเคราะห์ความเสี่ยง Risk Assessment PM04227.01 122880
PM04227 กำหนดระบบบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพและข้อควรระวัง 1.2 บอกการจัดการตามเกณฑ์ RPN PM04227.02 122881
PM04228 ระบุทิศทางการบริหารจัดการห่วงโซ่คุณภาพ 1.1 บอกสิ่งสำคัญในการบริหารจัดการตามแผนผังธุรกิจ(ห่วงโซ่คุณภาพ) PM04228.01 122882
PM04228 ระบุทิศทางการบริหารจัดการห่วงโซ่คุณภาพ 1.2 ระบุบทบาทของการบริหารจัดการตามแผนผังธุรกิจ(ห่วงโซ่คุณภาพ) PM04228.02 122883

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) การบริหารจัดการงานประกันคุณภาพและดัชนีการจัดการตามนโยบายและเป้าหมายด้านคุณภาพ    

2) การกำหนดแนวทางการปรับปรุงคุณภาพ

3) การวิเคราะห์ข้อเท็จจริงด้านคุณภาพ

4) การแปลผลแผนภูมิควบคุม 

5) การประยุกต์ใช้การควบคุมกระบวนการด้วยแผนภูมิควบคุม (Control Chart)

6) การยกระดับการประกันคุณภาพ

7) การกำหนดยุทธศาสตร์ด้านคุณภาพ

8) การกำหนดระบบบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพ

9) การบริหารจัดการห่วงโซ่คุณภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) หลักการบริหารจัดการงานประกันคุณภาพ

2) หลักการปรับปรุงคุณภาพ

3) องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องการควบคุมกระบวนการ

4) หลักการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านคุณภาพ

5) ระบบบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพ

6) หลักการบริหารจัดการห่วงโซ่คุณภาพ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) แบบฟอร์มบันทึกภาระงาน

2) ใบบันทึกผลการปฏิบัติงาน

3) ใบรับรองผลงานจากผู้ประกอบการ

4) ใบรับรองการผ่านงาน

5) แฟ้มสะสมผลงาน

6) แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) เอกสารผลการประเมินจากการสอบข้อเขียน

2) เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการฝึกอบรม

3) เอกสารการจัดทำคู่มือหรือรายงานโครงการ

4) เอกสารการสอนงาน

5) หรือเอกสารรับรองอื่นๆที่ออกจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่ประเมินหลักฐานโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้โดยมุ่งเน้นความเกี่ยวข้องกับงานด้านการบริหารจัดการในโรงงานอุตสาหกรรม

(ง) วิธีการประเมิน

1) ข้อสอบข้อเขีียน

2) การสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1) KPI ที่สำคัญ ได้แก่ Manhour, Cost of Poor Quality, Complain, QCC Activity

2) ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความน่าเชื่อถือทางสถิติมี 3 องค์ประกอบ คือ

- การได้มาของสิ่งตัวอย่าง

- ความถูกต้องแม่นยำของการวัดและประเมินตัวอย่าง

- ความแปรผันของกระบวนการที่ทำการสุ่มวัดหรือประเมิน 

3) มาตรฐานการชักสิ่งตัวอย่าง ใช้กับการประเมินประเภทงานคุณลักษณะที่เป็นค่านับจะมีมาตรฐาน MIL-STD  105E หรือ JISZ-9015 Sampling procedures for inspection by attributes เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดจำนวนตัวอย่างที่เหมาะสมกับขนาดของ lot และอัตราความบกพร่องที่ยอมรับได้ Acceptance Quality Level AQL ซึ่งผู้ใช้จะต้องเปิดตารางและประเมินอัตราความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการชักสิ่งตัวอย่างโดยใช้เส้นกราฟบ่งชี้ความเสี่ยง  Qperating Characteristic Curve OC Curve เพื่อประเมินความเสี่ยงในความผิดพลาดของการชักตัวอย่างเพื่อตัดสินใจเลือกแผนการเก็บข้อมูล

4) มุมมองของการยกระดับการประกันคุณภาพ ได้แก่ กลยุทธ์ โครงสร้าง การดำเนินงาน และพื้นฐานด้านคุณภาพของบุคคลากร

5. ห่วงโซ่คุณภาพ ประกอบด้วย 

- การเข้าใจความต้องการของลูกค้า

- การวางแผน

- การจัดซื้อจัดหา

- การผลิต

- การตรวจสอบ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. การสาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ