หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดตามการควบคุมองค์กรและกิจกรรมการผลิตภาพรวม

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการบริหารในสายการผลิต


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ JB-ZZZ-4-054ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดตามการควบคุมองค์กรและกิจกรรมการผลิตภาพรวม

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

N/A



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้กล่าวถึง การอธิบายความเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายองค์กรและหน่วยบริหาร โดยบอกความเชื่อมโยงการจัดองค์กรตามหน่วยบริหาร และระดับชั้น อธิบายคุณสมบัติเฉพาะของหน่วยงานเชิงฟังก์ชั่น, หน่วยงานเชิงธุรกิจ, หน่วยงานเชิงโปรเจ็คต์    พร้อมระบุลักษณะเฉพาะ จุดเด่น และจุดด้อยของการบริหารโครงสร้างจัดการองค์กรทั้ง 3 แบบ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นทางการและอำนาจในการบริหารจริง Authority, อำนาจที่ไม่เป็นทางการ Power ด้วยการระบุความหมาย และความแตกต่าง อธิบายการปฏิบัติงานตามวัฒนธรรมการบริหารและจิตสำนึกด้านการบริหารแบบญี่ปุ่น โดยระบุลักษณะเฉพาะ ข้อเด่นและข้อด้อยการบริหารงานแบบญี่ปุ่น รวมถึงการรับมือเชิงปฏิบัติต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม โดยระบุแผนต่อเนื่องทางธุรกิจ : Business Continuity Planning : BCP เพื่อการจัดการความเสี่ยง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
บุคลากร/ช่างเทคนิคในสายการผลิต

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PM04131 อธิบายความเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายองค์กรและหน่วยบริหาร 1.1 บอกความเชื่อมโยงการจัดองค์กรตามหน่วยบริหาร PM04131.01 122819
PM04131 อธิบายความเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายองค์กรและหน่วยบริหาร 1.2 บอกการเชื่อมโยงการจัดองค์กรตามระดับชั้น (ระดับปฏิบัติการ และระดับบริหาร) PM04131.02 122820
PM04132 อธิบายคุณสมบัติเฉพาะของหน่วยงานเชิงฟังก์ชั่น หน่วยงานเชิงธุรกิจ และหน่วยงานเชิงโปรเจ็คต์ 1.1 ระบุลักษณะเฉพาะของการบริหารโครงสร้างจัดการองค์กร 3 แบบ ได้แก่ หน่วยงานตามฟังก์ชั่น หน่วยงานเชิงธุรกิจ และหน่วยงานเชิงโปรเจ็คต์ PM04132.01 122821
PM04132 อธิบายคุณสมบัติเฉพาะของหน่วยงานเชิงฟังก์ชั่น หน่วยงานเชิงธุรกิจ และหน่วยงานเชิงโปรเจ็คต์ 1.2 ระบุจุดเด่นและจุดด้อยของการบริหารโครงสร้างจัดการองค์กร 3 แบบ ได้แก่ หน่วยงานตามฟังก์ชั่นหน่วยงานเชิงธุรกิจ และหน่วยงานเชิงโปรเจ็คต์ PM04132.02 122822
PM04133 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นทางการและอำนาจในการบริหารจริงAuthority และอำนาจที่ไม่เป็นทางการPower 1.1 ระบุความหมายของอำนาจการบริหารตามตำแหน่ง PM04133.01 122823
PM04133 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นทางการและอำนาจในการบริหารจริงAuthority และอำนาจที่ไม่เป็นทางการPower 1.2 ระบุความหมายของอำนาจการบริหารอย่างไม่เป็นทางการ PM04133.02 122824
PM04133 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นทางการและอำนาจในการบริหารจริงAuthority และอำนาจที่ไม่เป็นทางการPower 1.3 ระบุความแตกต่างของโครงสร้างที่เป็นทางการและโครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ (ความสัมพันธ์) PM04133.03 122825
PM04134 อธิบายการปฏิบัติงานตามวัฒนธรรมการบริหารและจิตสำนึกด้านการบริหารแบบญี่ปุ่น 1.1 ระบุลักษณะเฉพาะการบริหารงานแบบญี่ปุ่น PM04134.01 122826
PM04134 อธิบายการปฏิบัติงานตามวัฒนธรรมการบริหารและจิตสำนึกด้านการบริหารแบบญี่ปุ่น 1.2 ระบุข้อเด่นและข้อด้อยในการบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น PM04134.02 122827
PM04135 อธิบายการรับมือเชิงปฏิบัติต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (โลกาภิวัตน์ และการจัดการความเสี่ยง เป็นต้น) 1.1 ระบุการจัดการความเสียงต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ PM04135.01 122828
PM04135 อธิบายการรับมือเชิงปฏิบัติต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (โลกาภิวัตน์ และการจัดการความเสี่ยง เป็นต้น) 1.2 ระบุการวางแผนต่อเนื่องทางธุรกิจ : Business Continuity Planning : BCPต่อการจัดการความเสี่ยง PM04135.02 122829

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) การบริหารจัดการ

2) การรับมือเชิงปฏิบัติต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดโครงสร้างหน่วยงาน

2) หลักการรับมือเชิงปฏิบัติต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) แบบฟอร์มบันทึกภาระงาน

2) ใบบันทึกผลการปฏิบัติงาน

3) ใบรับรองผลงานจากผู้ประกอบการ

4) ใบรับรองการผ่านงาน

5) แฟ้มสะสมผลงาน

6) แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) เอกสารผลการประเมินจากการสอบข้อเขียน

2) เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการฝึกอบรม

3) เอกสารการจัดทำคู่มือหรือรายงานโครงการ

4) เอกสารการสอนงาน

5) หรือเอกสารรับรองอื่นๆที่ออกจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่ประเมินหลักฐานโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้โดยมุ่งเน้นความเกี่ยวข้องกับงานด้านการบริหารจัดการในโรงงานอุตสาหกรรม

(ง) วิธีการประเมิน

1) ข้อสอบข้อเขีียน

2) การสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

N/A

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

1) อำนาจการบริหารอย่างไม่เป็นทางการ คือ อำนาจที่ไม่เกี่ยวพันกับตำแหน่งงานหรือมีความสามารถเป็นที่ยอมรับ

2) การบริหารงานแบบญี่ปุ่น คือ การมุ่งปรับปรุงในทุก ๆ วัน  การมุ่งทำกิจกรรมกลุ่มย่อย การสื่อสารจากล่างขึ้นบน การรับรู้ถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่โดยละเอียด การตระหนักถึงบทบาทต่อการมีส่วนร่วมในการปฏิรูปองค์กร และการใช้วงจร PDCA ในการปรับปรุงงาน  

3) แผนต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Planing: BCP) คือ ชุดของเอกสาร คำแนะนำและวิธีการที่ช่วยให้ธุรกิจ/บริการขององค์กร สามารถตอบสนองต่อการเกิดอุบัติเหตุ  ภัยพิบัติ  ภาวะฉุกเฉินหรือภัยคุกคามได้โดยไม่ต้องหยุด ซึ่งจำเป็นจะต้องมีแผนการกู้คืนระบบหรือแผนการกู้คืนทรัพยากรบุคคลและกระบวนการทำงานเพื่อให้สามารถทำธุรกิจต่อไปได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. การสาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ