หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สนับสนุนกิจกรรมกลุ่มย่อยและกิจกรรมประกันคุณภาพ

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการบริหารในสายการผลิต


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ JB-ZZZ-3-041ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สนับสนุนกิจกรรมกลุ่มย่อยและกิจกรรมประกันคุณภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

N/A



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้กล่าวถึง การดำเนินการปรับปรุงคุณภาพ โดยระบุขั้นตอนและรายละเอียดการปรับปรุงคุณภาพภาพรวม อธิบายการตรวจสอบที่ไม่ก่อให้เกิดของเสีย และ  ใช้ "เครื่องมือ QC7" ในการควบคุมคุณภาพ  ด้วยการระบุขั้นตอนการตรวจสอบเพื่อไม่ให้ของเสียหลุดรอด ขั้นตอนการตรวจสอบที่ไม่ก่อให้เกิดการผลิตของเสีย  ขั้นตอนการการสร้างกระบวนการผลิตที่ไม่ต้องมีการตรวจสอบ ตลอดจนการเลือกใช้ QC7 tool ที่เหมาะสมในการควบคุมคุณภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
บุคลากร/ช่างเทคนิคในสายการผลิต

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PM03231 ดำเนินการปรับปรุงคุณภาพ 1.1 ระบุขั้นตอนการปรับปรุงคุณภาพภาพรวม PM03231.01 122687
PM03231 ดำเนินการปรับปรุงคุณภาพ 1.2 ระบุรายละเอียดการปรับปรุงคุณภาพ(5 ขั้นตอน) PM03231.02 122688
PM03232 อธิบายการตรวจสอบที่ไม่ก่อให้เกิดของเสีย และใช้ เครื่องมือ QC7 ในการควบคุมคุณภาพ 1.1 ระบุขั้นตอนการตรวจสอบเพื่อไม่ให้ของเสียหลุดรอด PM03232.01 122689
PM03232 อธิบายการตรวจสอบที่ไม่ก่อให้เกิดของเสีย และใช้ เครื่องมือ QC7 ในการควบคุมคุณภาพ 1.2 ระบุขั้นตอนการตรวจสอบที่ไม่ก่อให้เกิดการผลิตของเสีย PM03232.02 122690
PM03232 อธิบายการตรวจสอบที่ไม่ก่อให้เกิดของเสีย และใช้ เครื่องมือ QC7 ในการควบคุมคุณภาพ 1.3 ระบุขั้นตอนการการสร้างกระบวนการผลิตที่ไม่ต้องมีการตรวจสอบ PM03232.03 122691
PM03232 อธิบายการตรวจสอบที่ไม่ก่อให้เกิดของเสีย และใช้ เครื่องมือ QC7 ในการควบคุมคุณภาพ 1.4 ระบุถึงการเลือกใช้ QC7 tool ที่เหมาะสมในการควบคุมคุณภาพ PM03232.04 122692

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) การดำเนินการปรับปรุงคุณภาพ    

2) การตรวจสอบที่ไม่ก่อให้เกิดของเสีย และการใช้ เครื่องมือ QC7 tool    

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) องค์ความรู้เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงคุณภาพ

2) หลักการใช้ เครื่องมือ QC7 too


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) แบบฟอร์มบันทึกภาระงาน

2) ใบบันทึกผลการปฏิบัติงาน

3) ใบรับรองผลงานจากผู้ประกอบการ

4) ใบรับรองการผ่านงาน

5) แฟ้มสะสมผลงาน

6) แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) เอกสารผลการประเมินจากการสอบข้อเขียน

2) เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการฝึกอบรม

3) เอกสารการจัดทำคู่มือหรือรายงานโครงการ

4) เอกสารการสอนงาน

5) หรือเอกสารรับรองอื่นๆที่ออกจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่ประเมินหลักฐานโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้โดยมุ่งเน้นความเกี่ยวข้องกับงานด้านการบริหารจัดการในโรงงานอุตสาหกรรม

 (ง) วิธีการประเมิน

1) ข้อสอบข้อเขียน

2) การสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1) ขั้นตอนการปรับปรุงคุณภาพ ได้แก่ 

- การเข้าใจลักษณะปัญหาเพื่อการปรับปรุงได้ 

- การระบุปัจจัยสาเหตุหลัก

- การวิเคราะห์และความสัมพันธ์ของปัญหาและสาเหตุ

- การดำเนินการและตรวจสอบเชิงปริมาณ

- การกำหนดมาตรฐาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. การสาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ