หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สื่อสารการกำหนดแผนการผลิต

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการบริหารในสายการผลิต


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ JB-ZZZ-2-029ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สื่อสารการกำหนดแผนการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

N/A



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้กล่าวถึง การทำการทดสอบระบบเชื่อมฐานข้อมูลการผลิตเพื่อการบริหารจัดการ โดยประกอบด้วย การทำสอบข้อมูลและสัญญาณจากระบบการแสดงผลและควบคุมการผลิต PLC หรืออุปกรณ์ที่ติดตั้งเพิ่มเติม โดยตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของข้อมูลและสัญญาณ รวมทั้งทดสอบโปรแกรมเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูล ด้วยการตรวจสอบและแก้ไขความผิดพลาดของขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม เพื่อให้ผู้ที่จะนำข้อมูลดังกล่าวไปบริหารจัดการต่อไป

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
บุคลากร/ช่างเทคนิคในสายการผลิต

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PM02421 อธิบายเงื่อนไขในการกำหนดกำลังการผลิต 1.1 ระบุแนวทางการกำหนดกำลังการผลิต (ตามแรงงาน ตาม M/C ตาม พื้นที่) ที่เหมาะกับกระบวนการได้ PM02421.01 122553
PM02421 อธิบายเงื่อนไขในการกำหนดกำลังการผลิต 1.2 วิเคราะห์และปรับแก้เงื่อนไขในการกำหนดกำลังการผลิต (ตามแรงงาน ตาม M/C ตาม พื้นที่) ที่เหมาะกับกระบวนการตามมาตรฐานการผลิตได้ PM02421.02 122554
PM02422 อธิบายความแตกต่างในแผนการผลิตทั้ง 3 และแนวทางการวางแผนแต่ละประเภท 1.1 บอกความแตกต่างในแผนการผลิตรายเดือน, แผนรายปี, แผนรายวัน PM02422.01 122555
PM02422 อธิบายความแตกต่างในแผนการผลิตทั้ง 3 และแนวทางการวางแผนแต่ละประเภท 1.2 กำหนดแผนการผลิตรายเดือน, แผนรายปี, แผนรายวัน PM02422.02 122556
PM02423 อธิบายตารางโครงสร้างชิ้นส่วน (BOM) และการกำหนด MRP 1.1 บอกความหมายของ ตารางโครงสร้างชิ้นส่วน (BOM) และการนำไปใช้ PM02423.01 122557
PM02423 อธิบายตารางโครงสร้างชิ้นส่วน (BOM) และการกำหนด MRP 1.2 บอกความหมายของระบบ MRP และการเชื่อมโยงจากความต้องการลูกค้า กับความสามารถของกระบวนการได้ PM02423.02 122558
PM02423 อธิบายตารางโครงสร้างชิ้นส่วน (BOM) และการกำหนด MRP 1.3 ประยุกต์ระบบข้อมูลการผลิตที่ต้องใช้ใน MRP เพื่อวางแผนการผลิตได้ PM02423.03 122559
PM02423 อธิบายตารางโครงสร้างชิ้นส่วน (BOM) และการกำหนด MRP 1.4 อธิบายวิธีการคำนวนปัจจัยการผลิตและ Lead Time ให้สอดคล้องกับปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของลูกค้า PM02423.04 122560
PM02424 อธิบายความหมายของแผนการผลิต 1.1 บอกความแตกต่างของ การผลิตตามสั่ง กับ การผลิตเข้าสต็อก PM02424.01 122561
PM02424 อธิบายความหมายของแผนการผลิต 1.2 ระบุวิธีการกำหนดปริมาณการผลิตในแต่ละเงื่อนไขการผลิต (การผลิตตามสั่ง กับ การผลิตเข้าสต็อก) PM02424.02 122562
PM02425 อธิบายมาตรฐานตามแผน ลำดับการทำงาน และอัตราผลิต 1.1 บอกความสัมพันธ์ของ มาตรฐานกำลังการผลิต, ลำดับการทำงาน, อัตราผลิต PM02425.01 122563
PM02425 อธิบายมาตรฐานตามแผน ลำดับการทำงาน และอัตราผลิต 1.2 ระบุการจัดแผนการผลิตให้เหมาะกับอัตราการผลิต PM02425.02 122564
PM02426 อธิบายการระบุเป้าหมายในการผลิต รวมถึงเป้าหมายด้านระยะเวลาส่งมอบ คุณภาพ ตลอดจนต้นทุน 1.1 บอกความสัมพันธ์ของ เป้าหมายในการผลิต เป้าหมายด้านระยะเวลาส่งมอบ คุณภาพ และต้นทุน PM02426.01 122565
PM02426 อธิบายการระบุเป้าหมายในการผลิต รวมถึงเป้าหมายด้านระยะเวลาส่งมอบ คุณภาพ ตลอดจนต้นทุน 1.2 ติดตามและควบคุมการผลิตตาม เป้าหมายในการผลิต เป้าหมายด้านระยะเวลาส่งมอบ คุณภาพ และต้นทุน PM02426.02 122566

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) วิเคราะห์และปรับแก้เงื่อนไขในการกำหนดกำลังการผลิต 

2) การกำหนดแผนการผลิตรายเดือน, แผนรายปี, แผนรายวัน

3) การประยุกต์ใช้ระบบข้อมูลการผลิตเพื่อวางแผนการผลิต

4) อธิบายวิธีการคำนวนปัจจัยการผลิตและ Lead Time 

5) ติดตามและควบคุมการผลิตตามเป้าหมาย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) เงื่อนไขการกำหนดกำลังการผลิต

2) องค์ความรู้เรื่องแผนการผลิตทั้ง 3 และแนวทางการวางแผนแต่ละประเภท

3) โครงสร้างชิ้นส่วน (BOM) และการกำหนด MRP

4) มาตรฐานการผลิตตามแผน, ลำดับการทำงาน, อัตราผลิต


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) แบบฟอร์มบันทึกภาระงาน

2) ใบบันทึกผลการปฏิบัติงาน

3) ใบรับรองผลงานจากผู้ประกอบการ

4) ใบรับรองการผ่านงาน

5) แฟ้มสะสมผลงาน

6) แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) เอกสารผลการประเมินจากการสอบข้อเขียน

2) เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการฝึกอบรม

3) เอกสารการจัดทำคู่มือหรือรายงานโครงการ

4) เอกสารการสอนงาน

5) หรือเอกสารรับรองอื่นๆที่ออกจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่ประเมินหลักฐานโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้โดยมุ่งเน้นความเกี่ยวข้องกับงานด้านการบริหารจัดการในโรงงานอุตสาหกรรม

(ง) วิธีการประเมิน

1) ข้อสอบข้อเขีียน

2) การสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1) ความสัมพันธ์ของลำดับการทำงานในการผลิต, มาตรฐานกำลังการผลิต, การควบคุมอัตราการผลิตที่ได้ นำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อให้สามารถจัดส่งได้ตามเป้าหมายโดยมีความพยายามในการจัดการดังต่อไปนี้ เช่น การปรับปรุงคอขวด, การใช้แหล่งภายนอกมาช่วยผลิต, การตรวจสอบ, การจัดการอบรมเพื่อพัฒนาแรงงานที่ยังขาดทักษะ, การมีส่วนร่วมของพนักงานในการปรับปรุงกระบวนการโดยผ่านการศึกษาความสูญเปล่า หรืออาจจะมีการปรับเรียบ  Heijunka(เฮจุงกะ) ซึ่งหมายถึง การเฉลี่ยปริมาณการผลิตเพื่อปรับให้ชนิดสินค้าและปริมาณผลิต ใกล้เคียงกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ รักษาให้จำนวนคนและเครื่องจักรที่จำเป็นต่อการผลิตคงที่เสมอ แนวคิดนี้ Heijunka จะนำความต้องการผลิตแต่ละชนิดมาปรับเป็นแผน การผลิตต่อวัน เพื่อลดเวลาผลิต (Lead Time) ที่ลูกค้าต้องรอในการสั่งซื้อสินค้า


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. การสาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ