หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สื่อสารการสร้างสถานที่ทำงานคุณภาพสูง

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการบริหารในสายการผลิต


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ JB-ZZZ-2-022ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สื่อสารการสร้างสถานที่ทำงานคุณภาพสูง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

N/A



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้กล่าวถึง การระบุมาตรฐานตระกูล ISO9000 และบอกขั้นตอนการจัดการระบบระบุผลกระทบของกิจกรรม 5ส ตลอดจนวิธีการดำเนินนโยบาย 5 ส ระบุการนำค่า Cp ในฐานะมาตรฐานความสามารถของกระบวนการมาใช้ปฏิบัติ โดยบอกถึงความหมาย วิธีการคำนวณค่า และการแปลค่า Cp เพื่อประเมินกระบวนการ ระบุวิธีลดความแตกต่างด้านคุณภาพ โดยบอกลักษณะที่แตกต่างด้านคุณภาพ(Control chart) อธิบายลักษณะข้อมูลการผลิตที่เกิด Standard deviation รวมถึงสร้างการขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมกลุ่มย่อยด้านคุณภาพ บอกความหมายการสร้างกิจกรรมกลุ่มแบบ QC และ TPM small Group ระบุการควบคุมคุณภาพ ติดตามการปฏิบัติงาน บันทึกข้อมูล สะท้อนผลและรายผลต่อส่วนงานที่เกี่ยวข้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
บุคลากร/ช่างเทคนิคในสายการผลิต

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PM02221 ระบุมาตรฐานตระกูล ISO9000 1.1 บอกขั้นตอนการจัดการระบบคุณภาพ ISO 9000 ได้ PM02221.01 122496
PM02222 ระบุผลกระทบของกิจกรรม 5ส ตลอดจนวิธีการดำเนินนโยบาย 5 ส 1.1 บอกผลกระทบของการดำเนินกิจกรรม 5ส(ข้อดี-ข้อเสีย) PM02222.01 122497
PM02222 ระบุผลกระทบของกิจกรรม 5ส ตลอดจนวิธีการดำเนินนโยบาย 5 ส 1.2 ดำเนินกิจกรรม 5ส PM02222.02 122498
PM02223 ระบุการนำค่า Cp ในฐานะมาตรฐานความสามารถของกระบวนการมาใช้ปฏิบัติได้ 1.1 บอกถึงความหมายของค่า Cp PM02223.01 122499
PM02223 ระบุการนำค่า Cp ในฐานะมาตรฐานความสามารถของกระบวนการมาใช้ปฏิบัติได้ 1.2 บอกถึงวิธีการคำนวณค่า Cp PM02223.02 122500
PM02223 ระบุการนำค่า Cp ในฐานะมาตรฐานความสามารถของกระบวนการมาใช้ปฏิบัติได้ 1.3 บอกถึงการแปลค่า Cp เพื่อประเมินกระบวนการ PM02223.03 122501
PM02224 ระบุวิธีลดความแตกต่างด้านคุณภาพ (ของเสียเล็กน้อยและคาตะโยริ) 1.1 บอกลักษณะที่แตกต่างด้านคุณภาพได้ (Control chart) PM02224.01 122502
PM02224 ระบุวิธีลดความแตกต่างด้านคุณภาพ (ของเสียเล็กน้อยและคาตะโยริ) 1.2 บอกลักษณะอธิบายข้อมูลการผลิตที่เกิด Standard deviation ได้ PM02224.02 122503
PM02225 สร้างการขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมกลุ่มย่อยด้านคุณภาพ 1.1 บอกความหมายการสร้างกิจกรรมกลุ่มแบบ QC PM02225.01 122504
PM02225 สร้างการขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมกลุ่มย่อยด้านคุณภาพ 1.2 บอกความหมายการสร้างกิจกรรมกลุ่มแบบ TPM small Group PM02225.02 122505
PM02226 ระบุการควบคุมคุณภาพอย่างเคร่งครัด 1.1 ติดตามการปฏิบัติงาน(ด้านคุณภาพ)ตามเงื่อนไข WI ได้อย่างเคร่งครัด PM02226.01 122506
PM02226 ระบุการควบคุมคุณภาพอย่างเคร่งครัด 1.2 บันทึกข้อมูลด้านคุณภาพและทวนสอบข้อมูลด้านคุณภาพในการผลิต PM02226.02 122507
PM02226 ระบุการควบคุมคุณภาพอย่างเคร่งครัด 1.3 สะท้อนผลด้านคุณภาพและรายผลต่อส่วนงานที่เกี่ยวข้อง PM02226.03 122508

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) การจัดทำกิจกรรม 5ส

2) การควบคุมคุณภาพ ติดตามการปฏิบัติงาน บันทึกข้อมูล สะท้อนผลและรายผล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) มาตรฐาน ISO9000

2) วิธีการคำนวณและแปลค่า Cp


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) แบบฟอร์มบันทึกภาระงาน

2) ใบบันทึกผลการปฏิบัติงาน

3) ใบรับรองผลงานจากผู้ประกอบการ

4) ใบรับรองการผ่านงาน

5) แฟ้มสะสมผลงาน

6) แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) เอกสารผลการประเมินจากการสอบข้อเขียน

2) เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการฝึกอบรม

3) เอกสารการจัดทำคู่มือหรือรายงานโครงการ

4) เอกสารการสอนงาน

5) หรือเอกสารรับรองอื่นๆที่ออกจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่ประเมินหลักฐานโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้โดยมุ่งเน้นความเกี่ยวข้องกับงานด้านการบริหารจัดการในโรงงาน

(ง) วิธีการประเมิน

1) ข้อสอบข้อเขีียน

2) การสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1) ในสถานประกอบการที่มีคุณภาพสูง จะมีการกำหนดเป้าหมายของระดับคุณภาพหรืออัตราความผิดพลาดเพื่อใช้ในการควบคุมกำกับดูแลและสร้างความท้าทาย ในขณะที่การดำเนินการเพื่อรักษาเป้าหมายด้านคุณภาพดังกล่าวต้องอาศัยการควบคุมการปฏิบัติตามมาตรฐานอย่างเคร่งครัดไม่ว่าจะเป็น 1. มาตรฐานการทำงาน 2. เกณฑ์การตรวจสอบ 3. มาตรฐานการผลิตในแต่ละกระบวนการ ที่มีการฝังแนวคิดเรื่องคุณภาพและผลผลิตไปควบคู่กัน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. การสาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ